ชื่อไทย | ติ้วขาว |
ชื่ออื่น | ติ้วขน ติ้วแดงติ้วส้ม |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Cratoxylum formosum (Jack) Dyer |
ชื่อวงศ์ | HYPERICACEAE |
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะวิสัย | ไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง |
ลักษณะใบ | ใบ เดี่ยว ออกตรงข้าม รูปรี รูปขอบขนาน รูปหอก หรือรูปไข่ ปลายใบแหลม มีติ่งสั้น ๆ หรือกลม โคนใบกลม หรือแหลมป้าน ๆ ขอบใบเรียบ |
ลักษณะดอก | ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมสีชมพูอ่อนถึงสีแดง ดอกมีอยู่ 5 กลีบ |
ลักษณะผล | ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปกระสวย ผิวผลมีนวลสีขาว ผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล ปลายแหลม ผิวเรียบและแข็ง |
สรรพคุณ | แก่นและลำต้น : แช่น้ำดื่ม แก้ปะดงเลือด (เลือดไหลไม่หยุด) ราก ต้มน้ำดื่มแก้ปัสสาวะขัด ยอด ดอก และใบอ่อน เถา : รสเบื่อเมาฝาด บำรุงโลหิต ฟอกโลหิต แก้ปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ แก้ประดง ขับลม ยาง : ใช้รักษาส้นเท้าแตก ตำรายาไทย ใช้ ราก ผสมกับหัวแห้วหมู และรากปลาไหลเผือก ต้มน้ำดื่ม วันละ 3 ครั้ง ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะขัด น้ำยาง ทารอยแตกของส้นเท้า รากและใบ น้ำต้มกินเป็นยาแก้ปวดท้อง ต้น ยางจากเปลือกต้นทาแก้คัน น้ำต้มเปลือกต้น กินแก้ธาตุพิการ เปลือกและใบ ตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ทาแก้โรคผิวหนังบางชนิด |
ประโยชน์ของติ้วขาว | - ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา - ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน |