พิพิธภัณฑ์ดินดล

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิม
พระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิม พระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระบรม ชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
เนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรง...
สนุกสนานไปกับการผจญภัย ที่จะพาย้อนเวลาตามหาความหมายของคำว่า “กษัตริย์ เกษตร”
ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง จัดขึ้นทุกเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์แรกของเดือน เป็นตลาดนัดแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน เพื่อจุดประกายความคิด แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญานวัตกรรมเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง
จัดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯเพื่อสร้างความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร และสร้างผู้สืบทอด การจัดการผลผลิตและการอนุรักษ์พันธุกรรม โดยการดำเนิน โครงการขยายผลเครือข่าย พกฉ. และโครงการเผยแพร่ขยายผล นวัตกรรมเกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ปัจจุบัน มีศูนย์เครือข่าย พกฉ.
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 5/2568 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting Application โดยมีนายสำราญ สาราบรรณ์ เป็นประธานการประชุม ในวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมสำคัญของสำนักงาน ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการ พกฉ. ครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ 3.1 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 4.2 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 4.3 เรื่อง ขอความเห็นชอบนำเงินรายได้และเงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สมทบเข้าเป็นทุนเพื่อกิจการของสำนักงาน ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 5.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน และผลการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 5.2 เรื่อง สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครบรอบ 16 ปี ในวันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2568 5.3 เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะอนุกรรมการต่างๆ 5.4 เรื่อง กำหนดการประชุมคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 6/2568 ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. ดำเนินโครงการสร้างความร่วมมือเชิงเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและส่งมอบฐานการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ณ โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมถ์) จ.นครปฐม โดยมี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีส่งมอบฐานการเรียนรู้ต้นแบบเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ตามภารกิจการเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพ และสืบทอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมศานุวงศ์ไทย ด้านการเกษตร พร้อมทั้งขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนและเครือข่ายสถาบันการศึกษาในบริเวณโดยรอบ ในการพัฒนาและยกระดับการขยายผลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ และเผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านสุขภาพของเมืองท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยวสุขภาพดี ผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ปทุมธานี
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าร่วมการสัมมนา ”ผลการติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ 2568" โดยมีนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอนุกูล สังข์ศิริ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการพระราชดำริ และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมพึ่งบุญฯ อาคารวิสัยทัศน์ ชั้น 8 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประธานในพิธีเปิดตลาดเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน “ตลาดนัดลานชุมชนคนพอเพียง วัดดอยท่าเสา” ณ วัดดอยท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ขับเคลื่อนความร่วมมือในระดับชุมชนผ่านการจัดตลาดเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ ประสบการณ์การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยภายในงาน มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานพัฒนาสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย พกฉ. ซึ่งภายในงานมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน เจ้าหน้าสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ สมาชิกร้านค้าเครือข่ายวัดดอยท่าเสา เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. ชูความสำเร็จของศูนย์เครือข่าย ฯ และศูนย์เรียนรู้ฯ ของ พกฉ. ที่เป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนและขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรสู่สังคมและชุมชนที่เป็นรูปธรรม ครั้งนี้ยกทัพสื่อมวลชนเยี่ยมชม 3 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ ในพื้นที่ระยอง-จันทบุรี ที่มีการต่อยอด ขยายผล การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริแห่งความพอเพียง ชูอัตลักษณ์การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำวนเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร สร้างงาน สร้างรายได้ สู่ครอบครัวและชุมชน พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำคณะสื่อมวลชนเข้าเรียนรู้พื้นที่ของศูนย์เครือข่ายฯ และศูนย์การเรียนรู้ฯ ของ พกฉ. ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตรที่เหมาะสม สอดคล้องกับภูมิสังคม ระหว่างวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ฯ ในจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรในฐานะที่ศูนย์เครือข่ายฯ และศูนย์การเรียนรู้ฯ ของ พกฉ. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ชูอัตลักษณ์การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำวนเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพึ่งพาตนเอง สู่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมุ่งหวังให้เกิดการขยายผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนใกล้เคียง พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการเปิดบ้านท่องเที่ยวเส้นทางตามรอยพ่อ ประจำปี 2568 ว่า “สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนขยายผลแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่และชุมชนทั่วประเทศ ผ่านศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตร ฯ 95 แห่งจากทั่วประเทศ และมีเป้าหมายขยายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายฯ ทั่วทุกจังหวัดภายในปี 2569 โดยในปีนี้พาไปเยี่ยมชมพื้นที่การทำเกษตรต้นแบบ “วนเกษตร” ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สวนดินดุสิตาเครือข่ายเกษตรตำบลพวา” จังหวัดจันทบุรี ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “บ้านสวนกันและกัน” จังหวัดจันทบุรี และศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ บ้านสองสลึง” จังหวัดระยอง ซึ่งแต่ละแห่งมีจุดเด่นเฉพาะตัว ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาอนาคตของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเชื่อมโยง ขยายผลในระดับชุมชนอย่างเข้มแข็ง” “ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้ง 3 แห่งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งรูปธรรมความสำเร็จของการน้อมนำแนวพระราชดำริ หลักคิด หลักปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับภูมิสังคม ถ่ายทอดแนวคิดเกษตรอินทรีย์ การแปรรูป และการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าสะท้อนการเดินทางของคนรุ่นใหม่ที่เลือกกลับบ้านเพื่อชีวิตที่มั่นคงจากเกษตรเพื่อชีพ สู่วิถีเกษตรเพื่อแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน ทั้งยังสร้างโอกาสให้คนไทยเรียนรู้และลงมือทำเพื่อชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” พันจ่าเอก ประเสริฐ กล่าวย้ำ ด้าน นางสาววรรณิภา เครือวัลย์ ผู้นำเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจังหวัดระยอง บ้านสองสลึง ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยองกล่าวว่า “ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2558 ผู้เป็นพ่อได้ก่อตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาโดยเปลี่ยนชีวิตจากการทำเกษตรเคมี สู่วิถีเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์แห่งนี้เริ่มต้นจากการเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จังหวัดระยอง มีพื้นที่รวม 50 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามแนวทฤษฎีใหม่ อาทิ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการสร้างคลังอาหารในครัวเรือน เพื่อพึ่งพาตนเองอย่างมั่นคง โดยผู้เป็นพ่อเคยเป็นเกษตรกรที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและพึ่งพาสารเคมี ก่อนจะหันมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถฟื้นฟูชีวิตและที่ดินของตนเองได้อย่างมั่นคง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตน ได้สานต่อภารกิจของพ่ออย่างเต็มตัว เพื่อให้ที่นี่เป็นพื้นที่สร้างอาชีพ ให้พึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน สำหรับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ให้บริการความรู้กับประชาชน เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สอนการปรับปรุงบำรุงดิน สร้างอาชีพ สร้างผู้นำต้นแบบของการพึ่งตนเอง การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชสมุนไพร” ด้านนางสาวกัญญา ดุชิตา ผู้นำศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “สวนดินดุสิตาเครือข่ายเกษตรตำบลพวา” ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี อดีตพนักงานธนาคารได้กล่าวถึงแรงผลักดันในการตัดสินใจกลับคืนสู่บ้านเกิดว่า เพื่อกลับมาสานต่อภารกิจการเป็นเกษตรกรจากนายบุญเลิศ ดุชิตา เกษตรกรต้นแบบผู้เป็นพ่อ โดยศึกษาเรียนรู้เกษตรกรรมจากครอบครัวอย่างจริงจัง และพยายามพึ่งพาตนเองโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักคิดเหล่านี้ได้ถูกฝังอยู่ในวิถีชีวิตและถูกถ่ายทอดอย่างเป็นธรรมชาติจากการเรียนรู้และลงมือทำอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการต่อยอดสู่แนวทาง “วนเกษตร” และนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง โดยเน้นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างเครือข่าย “วนเกษตรตำบลพวา” ที่รวมกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น ทำกิจกรรมพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน พร้อมฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มในชุมชนในการแปรรูปผลผลิตสมุนไพรจากจากป่าวนเกษตรจำหน่าย อาทิ การทำน้ำมันพุทธมนต์จากว่าน 108 การทำน้ำมันชันตะเคียน และการทำแยมมะแปม การกลั่นน้ำมันจากสมุนไพรท้องถิ่น การทำยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพรและครีมมะกรูดสระผม เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีในตลาดเป็นรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนให้คนในชุมชน” ส่วนทางด้านนางสาวกมลภทร กสิกรรม เจ้าของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯและเจ้าของ “บ้านสวนกันและกัน” จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า “เริ่มต้นชีวิตการเป็นเกษตรกรจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ในการติดตามแม่ไปประชุมเครือข่ายวนเกษตร ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจริง ฝึกฝน คิด วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติ โดยยึดแนวคิด “เกษตรเพื่อพึ่งตนเอง” นอกจากนี้ยังได้ร่วมโครงการ MASA ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเกษตรยั่งยืน และนำประสบการณ์กลับมาพัฒนาสวนในพื้นที่ของตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในชื่อ “บ้านสวนกันและกัน” ผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ การสร้างสวนวนเกษตร การแปรรูปสมุนไพร เช่น น้ำแก้ไอฝาง น้ำมันพุทธมนต์ ยาหม่อง น้ำมันมะพร้าว และผลิตภัณฑ์พื้นบ้านหลากหลาย รวมถึงการแปรรูปอาหารในสวน เช่น ไอศกรีม ข้าวหมาก แช่อิ่ม ซึ่งสะท้อนความคิดสร้างสรรค์และการจัดการที่ยึดโยงกับทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวอย่างเต็มศักยภาพ
วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ต้อนรับคณะจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จ.สมุทรปราการ องค์การบริหารส่วนตำบลจอเบาะ จ.นราธิวาส และสถาบันเกษตราธิการ กทม. เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบหลักสูตร “ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตรฯ” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการหลักการทรงงาน นิทรรศการวิถีเกษตรของพ่อ นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรพอเพียง นิทรรศการตลาดเก่าชาวเกษตร และนิทรรศการมหัศจรรย์ท้องทุ่ง ตามด้วยเข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ซึ่งรวบรวมความหลากหลายของพันธุกรรมพืชท้องถิ่นของไทย การปลูก การดูแล รวมถึงการอนุรักษ์พันธุกรรม พร้อมสนุกสนานกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิดที่ช่วยฝึกฝนการบริหารจัดการทรัพยากร การทำงานเป็นทีม และทำความเข้าใจกับหลักการทรงงาน "รู้ รัก สามัคคี" จากกิจกรรมแม่น้ำรวมใจ ต่อด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ นอกจากนี้ยังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ตะลุยเดินชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรที่มีทรัพยกรจำกัด ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง วิถีเกษตรไทย 4 ภาค และบ้านดินบ้านฟาง รวมถึงการลงมือปฏิบัติการทำนาดำ และนาโยนกล้า และการลงมือปฏิบัติการปลูกผักคอนโด สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำเกษตรในกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย
วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการ พกฉ. มอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการ พกฉ. ร่วมแสดงความยินดีกับกรมพัฒนาที่ดิน และร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 62 ปี โดยมี นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมช.กษ.) เป็นประธานในพิธีฯ ในการนี้ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ได้ร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิพัฒนาที่ดินสงเคราะห์ ณ กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ นักศึกษา 2 สถาบัน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จ.นครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก พากันยกทัพ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการสนองพระราปณิธาน นิทรรศการตามรอยพ่อ และนวัตกรรมของพ่อ จากนั้นไปสนุกสนานกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด “รากฐานแห่งความมั่นคง”ที่สอดแทรกกระบวนการคิด การทำงานร่วมกัน ตามด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ พร้อมนั่งรถชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งบนพื้นที่ 374 ไร่ และเดินชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง ซึ่งจัดแสดงแนวคิด การทำเกษตรในพื้นที่จำกัด และการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 สถาบันเกษตราธิการ กรุงเทพฯ นำข้าราชการบรรจุใหม่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่นที่ 50 โดยเริ่มกระบวนการทำกิจกรรมด้วยการชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ผ่านฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่พอเพียง และฐานการเรียนรู้นาโยนกล้า จัดแสดงการบริหารพื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการปลูกคอนโด ที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับตนเองได้ ในช่วงบ่ายเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงให้ความสำคัญในภาคการเกษตร ทั้งยังคิดค้นโครงการพระราชดำริขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่ประชาชนคนไทย พร้อมชมภาพยนตร์ 3 มิติ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม เรียนรู้ความสำคัญและการดูแลอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของไทยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมด้วย นายทินกร พันธ์กาง เจ้าหน้าที่พัฒนานวัตกรรมเกษตร ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “มหานครผลไม้ไทยภาคตะวันออก” จัดโดย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยได้รับเกียรติจาก นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมฯ โดยงานดังกล่าวจะจัดระหว่างวันที่ 19 - 31 พฤษภาคม 2568 ณ ตลาด อ.ต.ก. จตุจักร กรุงเทพฯ
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจการและรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 3/2568 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting Application โดยมี ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เป็นประธานการประชุม ในวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานและผลการจัดหารายได้ พกฉ. ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจการและรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเพื่อทราบ 3.1 เรื่อง ข้อมูลวิเคราะห์ กิจกรรม กิจการ และบริการเพื่อส่งเสริมรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัว (องค์การมหาชน) - ข้อมูลสัดส่วนที่มารายได้ ของ พกฉ. - ข้อมูลสัดส่วนกลุ่มเป้าหมาย ต่อการใช้บริการ ส่วนต่างๆ ของ พกฉ. ในแต่ละด้าน - กิจกรรม การใช้บริการส่งเสริมรายได้ พกฉ. เดือน พ.ค. - มิ.ย. 2568 3.2 เรื่อง ความก้าวหน้าโครงการประกวด เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด - โครงการประกวดภาพยนตร์สั้น ตามรอยพระยุคลบาทด้านการเกษตรของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประจำปี 2568 - โครงการประกวดผลงานนวัตกรรม และเทคโนโลยีภาคการเกษตร ,อุตสาหกรรมเกษตร หรือ อุตสาหกรรมภาคการเกษตร - คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนากิจการและรายได้ พกฉ. ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4.1 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ตามรอยพระยุคลบาท ด้านการเกษตรของในหลวงรัชกาลที่ 9 4.2 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกวดผลงานนวัตกรรม และเทคโนโลยีภาคการเกษตร ,อุตสาหกรรมเกษตร หรือ อุสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี ชวนเที่ยวงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “รู้ก่อนทำเกษตร” เปิดประสบการณ์ใหม่ในการเรียนรู้ด้านการเกษตรแบบรอบด้านจากวิทยากรมากประสบการณ์ ภายในงานพบกับนิทรรศการ “9 รู้ 9 รอด” ถ่ายทอดองค์ความรู้และแนวคิดการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง การอบรมวิชาของแผ่นดิน และกิจกรรม Workshop ถึง 8 วิชา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมเลือกชมและเลือกซื้อสินค้าเกษตรคุณภาพปลอดภัยจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ฯ และเกษตรกรภาคีความร่วมมือจากทั่วประเทศกว่า 100 ร้านค้า จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 4 พฤษภาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กล่าวว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ดำเนินงานตามแนวทางศาสตร์พระราชา ที่ทรงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรมาโดยตลอด การจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “รู้ก่อนทำเกษตร” ไม่เพียงแต่เตรียมความพร้อมทางความรู้เท่านั้น แต่ยังเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ เกษตรกร และประชาชนที่กำลังมองหาหนทางในการเริ่มต้นชีวิตใหม่ ผ่านการทำเกษตรอย่างเข้าใจและยั่งยืน ภายในงานผู้เข้าร่วมจะได้พบกับการแลกเปลี่ยนพูดคุยและการถ่ายทอดความรู้จากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ผู้มีประสบการณ์จริง โดยเน้นการเรียนรู้เรื่องการวางแผนก่อนลงมือทำเกษตร การเลือกพันธุ์พืช การจัดการดิน น้ำ และแหล่งทรัพยากร ซึ่งจะจุดประกายแรงบันดาลใจให้แก่เกษตรกรรุ่นใหม่ ผู้สนใจการทำเกษตร รวมถึงผู้แสวงหาทางเลือกใหม่ในชีวิต ด้วยองค์ความรู้ที่ผ่านการพิสูจน์จากผู้ลงมือปฏิบัติจริง สู่การพัฒนาเกษตรไทยอย่างมั่นคงและยั่งยืน” ภายในงานนำเสนอองค์ความรู้จากนิทรรศการ “9 รู้ 9 รอด” โดยอาจารย์เฉลิม พีรี ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.กำแพงเพชร ที่มาถ่ายทอด 9 องค์ความรู้ที่เกษตรกรมือใหม่ไม่ควรพลาด พร้อมเปิดคลินิกให้คำปรึกษาปัญหาเกษตรภายในงาน พลาดไม่ได้กับการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 8 วิชา เรียนรู้ได้ทั้ง Onsite และ Online ฟรี อาทิ หลักสูตร “ผักพื้นบ้าน” อาหารต้านโรค อาจารย์ธาตุดิน หอมจันทร์ จ.ลพบุรี หลักสูตร “เกษตรเปลี่ยนชีวิต”อาจารย์ประทีป มายิ้ม “สวนพออยู่พอกิน บ้านมายิ้ม” จ.ชลบุรี รู้ก่อนทำเกษตร อาจารย์วีรยุทธ ศรีเลอจันทร์ (อ.ทอง ธรรมดา) “ศูนย์เรียนรู้สวนเพชรพิมาย” จ.นครราชสีมา และหลักสูตร “เกษตรอินทรีย์ ฟื้นดิน สร้างชีวิต” อาจารย์อำนาจ เรียนสร้อย “แทนคุณ ออร์แกนิคฟาร์ม” จ.นครปฐม เป็นต้น ชม ชิม ช็อปสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลไม้ตามฤดูกาล สด ใหม่จากทั้ง 4 ภาค จุใจไปกับทั้งของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ต้นไม้พันธุ์ไม้ โดยเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และร้านค้าภาคีความร่วมมือกว่า 100 ร้านค้า ในราคามิตรภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ Facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
วันที่ 23 เมษายน 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อทบทวนประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรม และตัวชี้วัด ของ พกฉ. และแผนปฏิบัติการดิจิทัล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2569 โดยได้รับเกียรติจาก พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เป็นประธานเปิดการประชุม โดยมี ดร.วัชรวิชญ กีรติดุสิตโรจน์ พร้อมทีมงานจาก ฮาร์วาดเอเซียอคาเดมี่ เป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยนำนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์และยุทธศาสตร์การพัฒนา ผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้กับ พกฉ. จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 23 เมษายน 2568 ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา ชั้น 2 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
วันที่ 15 มีนาคม 2568 รายการตามก้องไปเจอนี่ ออกอากาศทางช่อง 3 HD โดย พี่ก้อง ปิยะ เศวตพิกุล พาไปเรียนรู้พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร กันที่ฐานเรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา และเส้นทางสืบสาน รักษา ต่อยอด ไปชิมอาหารกันที่ร้านอาหารกิน อยู่ ดี ต้อนรับโดย พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับชมได้ทาง
วันศุกร์ที่ 14 มีนาคม 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจ.ปทุมธานี เปิดงาน “กิน เที่ยว เดิน เพลินพิพิธภัณฑ์ Night at the Museum 2025” ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 14 - 16 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 16.00 - 22.00 น. ทางด้านพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “กิจกรรม กิน เที่ยว เดิน เพลินพิพิธภัณฑ์ Night at the Museum 2025 เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ และเผยแพร่พระอัจฉริยภาพและพระเกียรติคุณของพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ ด้านการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมและกระตุ้นการท่องเที่ยวพิพิธภัณฑ์ สำหรับกลุ่มเป้าหมายนอกเวลาทำการปกติ โดยมุ่งหวังในการสร้างกระแสวัฒนธรรมการเรียนรู้และท่องเที่ยวผ่านพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้เชิงเกษตร เกิดกิจกรรมในการกระตุ้นเศรษฐกิจชุมชน การบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในการสนับสนุนให้พิพิธภัณฑ์เป็นจุดหมายปลายทางของการเรียนรู้และการท่องเที่ยวของประเทศอย่างยั่งยืน เปิดโอกาสให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ได้สัมผัสกับเสน่ห์ของพิพิธภัณฑ์ยามค่ำ ผ่านสีสัน กิจกรรมร่วมสนุก ของกินของอร่อย พร้อมทั้งเปิดตัวนิทรรศการพิพิธภัณฑ์กษัตริย์เกษตรรูปแบบใหม่ ที่นำเทคโนโลยี Projection Mapping มารังสรรค์ผลงาน ผสานความงดงามด้านการเกษตร ถ่ายทอดสู่นิทรรศการ Immersive of Mado pavilion พร้อมนิทรรศการ “กิน อยู่ ดี” จากปลูกสู่ปาก โปรตีนจากพระราชา สู่การกินดี อยู่ดี เพื่อสุขภาพที่ยั่งยืน พบองค์ความรู้ดีๆ จากวิทยากรมาร่วม Workshop แบบไม่มีค่าใช้จ่าย ดื่มด่ำบรรยากาศสไตล์ย้อนยุคแบบงานวัด และกิจกรรมสนุกสนาน ลุ้นโชคกับเกมตกปลาหรรษา ชิงช้าสวรรค์ บิงโกเกษตร ตักปลา เพลิดเพลินกับคาราวานสินค้าของดี ของเด่นปทุมธานี กว่า 100 ร้านค้า และที่พลาดไม่ได้เมนูพิเศษ จากร้านกิน อยู่ ดี กับบุฟเฟ่ต์ขนมจีนเส้นสด อิ่มไม่อั้นสุดคุ้มในราคา 69 บาท เลือกอร่อยตามชอบกับน้ำยาป่า น้ำยากะทิ น้ำยาน้ำพริก รับประทานคู่กับเครื่องเคียงอย่างไข่ต้มและผักอินทรีย์สดใหม่ เติมความสดชื่นจากน้ำสมุนไพรไทย และกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายภายในงาน ณ Mado Pavilion ริมถนนพหลโยธิน พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น.” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ทาง www.wisdomking.or.th หรือ facebook /Line ID : @wisdomkingmuseum
วันที่ 14-16 มีนาคมนี้ พบกับงานกิน เที่ยว เดิน เพลิน พิพิธภัณฑ์ Night at the Museum 2025 เปิดตัวนิทรรศการใหม่ Coming soon!!! Immersive of Mado Pavilion ดื่มด่ำไปกับสีสัน ในพิพิธภัณฑ์กษัตริย์ เกษตร ประสบการณ์การเรียนรู้ รูปแบบใหม่ Projection mapping ที่จะพาทำความรู้จักและทำความเข้าใจ ความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์การเกษตร ตั้งแต่จุดเริ่มต้นไปจนถึงอนาคตพิพิธภัณฑ์ และนิทรรศการ“กินดีเพื่อสุขภาพ อยู่ดีเพื่อความสุขที่มั่นคง” จากทฤษฎีต้นน้ำ สู่ปลายน้ำของ พกฉ. ผลของการทำเกษตรตามแนวพระราชดำริที่สามารถทำได้จริงและเกิดผลสำเร็จแท้จริงอย่างยั่งยืน ปักหมุดที่ยว งานกิน เที่ยว เดิน เพลิน พิพิธภัณฑ์ Night at the Museum 2025 ณ Mado Pavilion ริมถนนพหลโยธิน พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น.
22 – 23 กุมภาพันธ์นี้ เตรียมแพ็คกระเป๋า มาพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ชวนเล่น สุข สนุก เรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ 2 วัน 1 คืน กับค่ายครอบครัว จัดเต็มทุกกิจกรรม สนใจสมัครกิจกรรมคลิก https://shorturl.asia/A7enC รับสมัครชาวแก๊ง ตั้งแต่ 3 ขวบขึ้นไป ปักหมุด วันเสาร์ที่ 22 ถึง วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2568 ค่าใช้จ่ายครอบครัว 3 คน เพียง 2,500 บาท รับจำนวนจำกัดเพียง 10 ครอบครัว เท่านั้น สอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2529-2212-13 หรือ 087-359-7171 , 094-649-2333 คลิก www.wisdomking.or.th หรือทาง InstagramID: wisdomkingmuseum
ต้อนรับเทศกาลแห่งความรัก ไปกับงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง หวานใจ สายเกษตร ระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี - เติมเต็มความหวานในเดือนแห่งความรัก ด้วยขบวนของหวานแสนอร่อย- นิทรรศการ องค์ความรู้จากดอกไม้กินได้ และความมหัศจรรย์สีสันจากธรรมชาติ- ช้อป สินค้า คาว-หวาน ผลผลิตปลอดภัย กว่า 100 ร้านค้า- อบรมฟรี วิชาของแผ่นดิน และWorkshop 8 วิชา
สำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ได้ดำเนินการจัด (1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม โครงการเผยแพร่ขยายผลนวัตกรรมเกษตร “ผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร” ระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2568 ณ ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน "เครือข่ายอินแปง" ตำบลกุดบาก อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร (2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม โดยมีเครือข่าย พกฉ. เข้าร่วมจำนวน 60 คน เพื่อเผยแพร่ขยายผลนวัตกรรมเกษตรองค์ความรู้เรื่องเกี่ยวกับ ผู้ประกอบการและผลิตภัณฑ์ภาคการเกษตร การทำเกษตรแบบคนรุ่นใหม่ การใช้นวัตกรรมเกษตรและภูมิปัญญาท้องถิ่น การอนุรักษ์พันธุกรรมพืช สมุนไพรและการดูแลสุขภาพ ยกระดับการใช้ประโยชน์จากสมุนไพร (3) ผลการการมีส่วนร่วม การนำเอาอัตลักษณ์ชุมชนมาใช้ในงานพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนการพัฒนายกระดับและขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภาคการเกษตร ผลจากการมีส่วนร่วมและการนำไปพัฒนา คือ เกิดการเชื่อมโยงเครือข่ายและจัดทำเป็นธนาคารพันธุกรรมในเชิงพื้นที่เพื่อไม่ให้พันธุกรรมว่านและสมุนไพรสูญหายไป (4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน จากผลการดำเนินการ สร้างและส่งเสริมคนรุ่นใหม่ ให้มีพื้นที่ในการฝึกประสบการณ์จัดกระบวนการเรียนรู้ การตลาด และการเชื่อมโยงเครือข่าย ในการชับเคลื่อนงานพัฒนาให้มีความต่อเนื่อง และร่วมขับเคลื่อนตลาดในระดับชุมชน และเครือข่ายแต่ละพื้นที่ เป็นแหล่งที่รวบรวมองค์ความรู้ เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยใช้พื้นที่เครือข่าย พกฉ. และ พกฉ. เป็นพื้นที่ขยายผลและพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ
ความสนุกกำลังจะกลับมาอีกครั้งในเดือนมกราคม พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เปิดพื้นที่ชวนน้องๆ หนูๆเที่ยวงานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2568 เมล็ดพันธุ์ของพระราชา จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 – 12 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 08.00 – 15.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี พิเศษ วันที่ 11 มกราคม 2568 : เรียนรู้วิถีเกษตรไทย สนุกไปกับ Walk-Rally ตะลุย 20 ฐานเรียนรู้ ลุ้นรับของรางวัล ตลอดทั้งวัน อิ่มอร่อย กับอาหาร และเครื่องดื่ม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พบกับ ตลาดค้าขายชาวฟันน้ำนม ร้านค้าผู้ประกอบการตัวจิ๋ว กว่า 50 ร้านค้า เปิดรับสมัครร้านค้าตัวจิ๋ว วันนี้ – 31 ธันวาคม 2567 สมัครเลยที่ https://bit.ly/4ixBOS0 ชม ช้อป ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง จากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ 100 ร้านค้า
สำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จัด (1) ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม “โครงการประชุมเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเพื่อพัฒนาศักยภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ระหว่างวันที่ 5 - 6 ธันวาคม 2567 ณ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี (2) สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม โดยมีเครือข่าย พกฉ. เข้าร่วมจำนวน 80 คน แลกเปลี่ยนประเด็นการขับเคลื่อนงานพัฒนาตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เชิงพื้นที่เครือข่าย พกฉ. และร่วมน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการดินเพื่อการเกษตร เนื่องในวันดินโลก 5 ธันวาคม ของทุกปี พร้อมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และได้ร่วมเรียนรู้พัฒนาศักยภาพของเครือข่ายในเรื่องจุลินทรีย์เพื่อในการสร้างอาหารและบำรุงดิน และกำหนดทิศทางการทำงานในระดับพื้นที่ของเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตร การสร้างผู้สืบทอดในวิถีเกษตร (3) ผลการการมีส่วนร่วม คือ ศูนย์เรียนรู้เครือข่าย พกฉ. จะยกระดับการเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้เผยแพร่พระเกียรติคุณฯ รัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง การแปรรูปผลผลิต และการตลาด ฯลฯ ให้กับผู้ที่มีความสนใจเข้ามาหาความรู้พัฒนาศักยภาพ เพื่อต่อยอดเศรษฐกิจจากทรัพยากรในชุมชนของตนเอง และการนำองค์ความรู้เรื่องการใช้จุลินทรีย์มีชีวิต สุขภาพดีด้วยโพรไบโอติก (4) การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน จากผลการดำเนินการ นำมาใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้าน อาหาร โดยการนำผลจากการมีส่วนร่วม เกิดการพัฒนาต่อยอด ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับผู้สนใจ และร่วมจัดแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ในงานมหกรรม และตลาดเศรษฐกิจพอเพียง
วันพ่อแห่งชาติ 5 ธันวา ร่วมเทิดไท้ พระบิดาแห่งดินโลก วันที่ 5 ธันวาคม 2567เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และเป็นวันพ่อแห่งชาติ ขอเชิญทุกท่านร่วมเทิดพระเกียรติและสดุดีพระบิดาแห่งดินโลก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เวลา 08.00 น.ขอเชิญทุกท่านร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พระภิกษุสงฆ์จำนวน 59 รูป เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เวลา 18.00 น. ร่วมกิจกรรมจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ พร้อมรับชมการแสดงและรับฟังบทเพลงบรรเลงเพื่อพ่อ เสียงขลุ่ยบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์ โดย อ.ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ และคุณขวัญข้าว ธิดารินทร์ งานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน วันที่ 5 – 8 ธันวาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ชวนทุกคนมาเที่ยวและเรียนรู้พระอัจฉริยภาพการจัดการดิน การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน และแนวทางการปรับปรุงบำรุงดินให้เกิดความสมดุล เพื่อรักษาความอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืน
ดาวน์โหลดเอกสารได้ที่นี่
วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ต้อนรับคณะจากโรงเรียนอัสสัมชัญ จ.สมุทรปราการ องค์การบริหารส่วนตำบลจอเบาะ จ.นราธิวาส และสถาบันเกษตราธิการ กทม. เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปแบบหลักสูตร “ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตรฯ” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการหลักการทรงงาน นิทรรศการวิถีเกษตรของพ่อ นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรพอเพียง นิทรรศการตลาดเก่าชาวเกษตร และนิทรรศการมหัศจรรย์ท้องทุ่ง ตามด้วยเข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ซึ่งรวบรวมความหลากหลายของพันธุกรรมพืชท้องถิ่นของไทย การปลูก การดูแล รวมถึงการอนุรักษ์พันธุกรรม พร้อมสนุกสนานกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิดที่ช่วยฝึกฝนการบริหารจัดการทรัพยากร การทำงานเป็นทีม และทำความเข้าใจกับหลักการทรงงาน "รู้ รัก สามัคคี" จากกิจกรรมแม่น้ำรวมใจ ต่อด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ นอกจากนี้ยังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ตะลุยเดินชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรที่มีทรัพยกรจำกัด ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง วิถีเกษตรไทย 4 ภาค และบ้านดินบ้านฟาง รวมถึงการลงมือปฏิบัติการทำนาดำ และนาโยนกล้า และการลงมือปฏิบัติการปลูกผักคอนโด สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำเกษตรในกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย
วันที่ 21 พฤษภาคม 2568 อาจารย์ นักศึกษา 2 สถาบัน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จ.นครปฐม และมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จ.พิษณุโลก พากันยกทัพ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง ในรูปหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการสนองพระราปณิธาน นิทรรศการตามรอยพ่อ และนวัตกรรมของพ่อ จากนั้นไปสนุกสนานกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด “รากฐานแห่งความมั่นคง”ที่สอดแทรกกระบวนการคิด การทำงานร่วมกัน ตามด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ พร้อมนั่งรถชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งบนพื้นที่ 374 ไร่ และเดินชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง ซึ่งจัดแสดงแนวคิด การทำเกษตรในพื้นที่จำกัด และการบริหารจัดการพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกด้วย
วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม 2568 สถาบันเกษตราธิการ กรุงเทพฯ นำข้าราชการบรรจุใหม่สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รุ่นที่ 50 โดยเริ่มกระบวนการทำกิจกรรมด้วยการชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ผ่านฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่พอเพียง และฐานการเรียนรู้นาโยนกล้า จัดแสดงการบริหารพื้นที่ขนาดเล็กให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจากในหลวงรัชกาลที่ 9 พร้อมเรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการปลูกคอนโด ที่ตอบโจทย์สำหรับคนที่มีพื้นที่ขนาดเล็ก ทั้งยังสามารถนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับตนเองได้ ในช่วงบ่ายเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ที่ทรงให้ความสำคัญในภาคการเกษตร ทั้งยังคิดค้นโครงการพระราชดำริขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อวางรากฐานที่มั่นคงให้แก่ประชาชนคนไทย พร้อมชมภาพยนตร์ 3 มิติ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม เรียนรู้ความสำคัญและการดูแลอนุรักษ์พันธุกรรมพืชของไทยที่กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย
วันที่ 2 พฤษภาคม 2568 ต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ จากสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) จ.เชียงใหม่ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ในรูปแบบหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” ผ่านการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการหลักการทรงงาน นิทรรศการวิถีเกษตรของพ่อ และนิทรรศการตลาดเก่าชาวเกษตร ปิดท้ายการเข้าชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่อง "เมล็ดสุดท้าย" และได้เรียนรู้การสร้างรากฐานให้กับตนเองด้วยปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจากกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด "รากฐานแห่งความมั่นคง" เป็นต้น สำหรับหน่วยงานที่สนใจเข้าทำกิจกรรมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course
วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 ไม่ใช่แค่การเรียนในห้องเรียน แต่วันนี้น้องๆ นักเรียน จากโรงเรียนศิริวัฒน์วิทยา กทม เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ในรูปแบบหลักสูตร “พอดี พอเพียง” ผ่านกิจกรรมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยเข้าเรียนรู้และทำกิจกรรมผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านนิทรรศการ ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการพระราชพิธีในวิถีเกษตร และนิทรรศการนวัตกรรมของพ่อ พร้อมตื่นตาตื่นใจกับการรับชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ จากนั้นยังได้เข้าชมและเรียนรู้ไปในฐานเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งเส้นทางนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การพึ่งพาตนเองด้านที่อยู่อาศัย ไปในฐานเรียนรู้บ้านดินบ้านฟาง และชมฐานการเรียนรู้วิถีเกษตรไทย 4 ภาค จัดแสดงวัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาภาคการเกษตรในสมัยก่อน พร้อมยังลงมือปฏิบัติการการเลี้ยงใส้เดือนดิน ก่อนที่จะเดินทางกลับ สำหรับหน่วยงานที่สนใจเข้าทำกิจกรรมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course
วันที่ 30 เมษายน 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ต้อนรับคณะเจ้าหน้าที่ นักเรียน และนักศึกษา จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จ.ปทุมธานี มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ กทม. ศูนย์การเรียนรู้ปัญญาภิวัฒน์ กทม. และสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กทม. เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยเริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเรียนรู้พระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการหลักการทรงงาน นิทรรศการพระราชพิธีในวิถีเกษตร นิทรรศการตามรอยพ่อ นิทรรศการสนองพระราชปณิธาน นิทรรศการนวัตกรรมของพ่อ นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง นิทรรศการตลาดเก่าชาวเกษตร และนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร จากนั้นสนุกกับการทำงานร่วมกันเป็นทีมในกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด แม่น้ำรวมใจ ตามด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ นอกจากนั้นทางคณะยังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง สนุกไปกับการเดินชมการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรที่มีทรัพยกรจำกัด ตามด้วยเดินชมฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง ที่นำเสนอการทำเกษตรพอเพียงตามทฤษฎีใหม่ และได้ลงมือปฏิบัติการทำนาดำ และนาโยนกล้า และที่ลงมือปฏิบัติการปลูกผักคอนโด ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำเกษตรในกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย สำหรับหน่วยงานที่สนใจเข้าทำกิจกรรมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course
วันที่ 29 เมษายน 2568 น้อง ๆ นักเรียน จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ จ.ปทุมธานี โรงเรียนเซนต์แอนทีบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา และศูนย์การเรียนรู้ปัญญาภิวัฒน์ กรุงเทพฯ เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ในรูปแบบหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” และ หลักสูตร "ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้" ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยน้องๆ นักเรียน มาเปิดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ตะลุยเดินชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ฐานการเรียนรู้การทำเกษตรในพื้นที่จำกัด 1 ไร่พอเพียง และบ้านนวัตกรรมพลังงาน บ้านตัวอย่างในการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ผลิตได้จากพลังงานความร้อนของดวงอาทิตย์ที่ถูกเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้าพร้อมลงมือปฏิบัติการทำนาดำ และนาโยนกล้า ที่สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำเกษตรในกับผู้ที่เข้าร่วมกิจกรรมอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้พระอัจฉริยภาพของในหลวงราชกาลที่ 9 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาประเทศ และส่งเสริมให้ประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงเรียนรู้เรื่องราวหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ผ่านนิทรรศการนวัตกรรมของพ่อ นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง นิทรรศการวิถีเกษตรลุ่มน้ำ และนิทรรศการน้ำคือชีวิต พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร พร้อมฝึกทักษะการคิด แก้ปัญหา การทำงานร่วมกันผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด ตามด้วยการเข้าชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชัน 3 มิติ ก่อนเดินทางกลับ สำหรับหน่วยงานที่สนใจเข้าทำกิจกรรมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course
วันที่ 26 เมษายน 2568 น้องๆ นักศึกษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาสัมผัสวิถีเกษตรชาวไทย ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรพอเพียง ในรูปแบบหลักสูตร “วิถีเกษตรของพ่อ” ซึ่งวันนี้น้องๆ นักศึกษา มาเปิดประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียน ตะลุยเดินชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรที่มีทรัพยกรจำกัด ตามด้วยเดินชมฐานการเรียนรู้ 1 ไร่ พอเพียง ที่นำเสนอการทำเกษตรพอเพียงตามทฤษฎีใหม่ และการลงมือปฏิบัติการทำนาโยนกล้า สามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ได้จริง อีกทั้งยังเป็นการสร้างจิตสำนึกที่ดีในการทำเกษตรในกับน้องๆ นักศึกษาอีกด้วย นอกจากนี้ยังได้เข้าชมพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ตามรอยเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เรียนรู้ความสำคัญของพันธุกรรมพืชของไทย รวมถึงการดูแลอนุรักษ์พันธุกรรมและส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อไป ต่อด้วยเข้าชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ “เรื่องเมล็ดสุดท้าย” ก่อนเดินทางกลับ สำหรับหน่วยงานที่สนใจเข้าทำกิจกรรมในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
วันที่ 25 เมษายน 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี ต้อนรับนักเรียน และเจ้าหน้าที่ จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และโรงเรียนสารสาสน์วิเทศนิมิตใหม่ เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้เรียนรู้พระอัจฉริยภาพของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร และการพึ่งพาตนเอง ผ่านนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พร้อมรับชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ ตามด้วยตะลุยฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง พื้นที่ต้นแบบการทำเกษตรที่มีทรัพยากรจำกัด และการบริหารจัดการพื้นที่ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ปิดท้ายความสนุกกับกิจกรรมลงมือปฏิบัติปลูกผักบนพื้นปูน ซึ่งเรียนรู้ทั้งทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติ ได้ไอเดียการทำเกษตรที่ไม่ว่าวัยไหนก็ทำได้ หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/views/course/ สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
วันพุธที่ 23 เมษายน 2568 คณะคุณครูพร้อมๆน้องนักเรียนโรงเรียนทิวไผ่งาม กรุงเทพฯ เข้าร่วมเรียนรู้พร้อมทำกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรูเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง หลักสูตรพอดีพอเพียง เริ่มกระบวนการด้วยการชมภาพยนตร์ 3 มิติ เรื่องทรัพย์ดินสินน้ำ สะท้อนถึงการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งยังเข้านิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา จัดแสดงพระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพและพระวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของในหลวงรัชกาลที่ 9 ด้านการคิดค้นโครงการต่างๆขึ้นอย่างต่อเนื่อง ให้แก่ประชาชนเข้าเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้ ต่อด้วยชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมืองและฐานการเรียนรู้บ้านนวัตกรรมพลังงาน จัดแสดงการทำเกษตรในรูปแบบที่หลากหลายและเรียนรู้ถึงการใช้พลังงานแสงอาทิตย์เข้ามาใช้ในครัวเรือน สนุกเรียนลงมือทำการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น ร่วมเรียนรู้วิถีเกษตรพอเพียงกับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ได้แล้ววันนี้! สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 02-529-2212 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.wisdomking.or.th
วันอังคารที่ 8 เมษายน 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี จัดโครงการ “สานต่อ วิถีพอเพียง” โดยมีคณะครูและอาจารย์จากสถานศึกษาเอกชนและนานาชาติ จำนวน 13 แห่ง เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจการทำเกษตรที่มีความหลากหลายที่สามารถประยุกต์ให้สอดคล้องกับตนเอง ทั้งยังได้เรียนรู้ขั้นตอนกระบวนการทำนาดำและนาโยนกล้า ต่อด้วยเรียนรู้พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ด้านการเกษตร ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ที่รวบรวมความหลากหลายของพันธุกรรมพืชท้องถิ่นของไทย การปลูก การดูแล รวมถึงการอนุรักษ์พันธุกรรมเพื่อส่งต่อให้แก่คนรุ่นต่อไป และศึกษาระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่ากลางวันและป่ากลางคืน ในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา ปิดท้ายกิจกรรม Walk rally wonderful plants ตะลุยฐานต้นไม้แห่งการเรียนรู้ จัดแสดงสมุนไพรหลากหลายชนิดทั้งยังสามารถนำมาใช้ได้อีกด้วย
พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ต้อนรับผู้บริหาร บุคลากร จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จ.สุราษฎร์ธานี เข้าร่วมทำกิจกรรมค่ายการเรียนรู้ “ต้นกล้าพอเพียง” ระหว่างวันที่ 2 – 4 เมษายน 2568 ร่วมกันเรียนรู้แนวคิดของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่ทรงเป็นแบบอย่างแห่งการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ผ่านศาสตร์พระราชาและการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมกับภูมิสังคมไทย เข้าชมพิพิธภัณฑ์ “ในหลวงรักเรา” เพื่อเรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร พร้อมเข้าชมพิพิธภัณฑ์ “มหัศจรรย์พันธุกรรม” ที่สะท้อนถึงความสำคัญของการดูแลและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลัง นอกจากนี้ ยังได้ศึกษาการทำเกษตรผ่านการเข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีทั้งการบรรยายควบคู่กับการลงมือฝึกปฏิบัติจริง ตลอดระยะเวลา 3 วันของกิจกรรม คณะผู้เข้าร่วมได้ร่วมกันทำกิจกรรมกลุ่ม สร้างสรรค์กระบวนการคิด วิเคราะห์ และการทำงานเป็นทีม อันเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่นำไปสู่การประยุกต์ใช้แนวทาง เศรษฐกิจพอเพียง ให้เหมาะสมกับบริบทของตนเองและหน่วยงาน
วันที่ 6 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เกียรติสัมภาษณ์สด ในประเด็นวันพืชมงคล กับพระมหากรุณาธิคุณของสถาบันพระมหากษัตริย์ ผ่านทางรายการ Better future สถานนีโทรทัศน์ Nbt
วันที่ 22 เมษายน 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการ พกฉ. ให้เกียรติต้อนรับ ทีมงานจาก รายการ NBT มีคำตอบ เทปนี้พาไปรู้จักกับพื้นที่เรียนรู้ 374 ไร่ ภายในพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี ทั้งในส่วนของ พิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร และพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง รับชมได้ในวันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม 2568 และวันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม 2568 ทางช่อง NBT2HD
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ต้อนรับคณะจาก พี่ก้องปิยะ เศวตพิกุล กับรายการ ตามก้องไปเจอนี่ ที่จะพาไปเปิดโลกเกษตรยุคใหม่ที่ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ที่จะพาไปรู้จักกับพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ให้มากยิ่งขึ้น โดยออกอากาศในวันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง 3HD
ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2567 รายการ เรื่องเด็ดเอ็ดตะโร ออกอากาศทางช่อง Thai PBS เข้าถ่ายทำในพื้นที่ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง โดยออกอากาศในวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา รับชมเพิ่มเติม คลิก
วันที่ 24 พฤษภาคม 2567 รายการสภาชาวบ้าน เข้าถ่ายทำในพื้นที่ฐานเรียนรู้ 1 ไร่พอเพียง ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ โดยได้รับเกียรติจาก นายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ โดยนำไปออกอากาศ ทางช่อง MVTV ในวันที่ 29 มิถุนายน 2567 รับชมคลิก
วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤษภาคม 2567 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) โดยพลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายฝ่ายประชาสัมพันธ์ สำนักสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้แทนเข้าร่วมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบไทยนิวส์ก้าวสู่ปีที่ 4 โดยมี คุณปิยวิทย์ ดำรงสัตย์ กรรมการผู้จัดการ ไทยนิวส์ ให้การต้อนรับ ณ อาคาร อินเตอร์ลิงค์ทาวเวอร์ ชั้น 1 บางนา กรุงเทพฯ
วันที่ 3 มกราคม 2567 นางสาวจุฑามาศ ทองชมพูนุช ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นผู้แทนสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เดินทางเข้าพบหน่วยงานภาคีความร่วมมือ และสื่อมวลชน มอบกระเช้าผลิตภัณฑ์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และของที่ระลึก เพื่อแสดงความขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการสนับสนุนการ เผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม กิจการของพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ รวมถึงงานมหกรรม นิทรรศการหมุนเวียน ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ที่จัดต่อเนื่องเป็นประจำทุกเดือนโดยมี พล.ต.ต.พงษ์สวัสดิ์ หาญสวัสดิ์ นายกเทศมนตรีเมืองปทุมธานี ร้อยตำรวจเอก ดร.ตรีลุพธ์ รูปกระจ่าง นายกเทศมนตรีนครรังสิต รศ.(พิเศษ) ดร.วิระศักดิ์ ฮาดดา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสาม นางประเทือง วงษ์แจ้ง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ นายสมชาย อยู่ยืน รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลคลองห้า ผู้แทนจากเทศบาลเมืองท่าโขลง และคุณเสาวรีย์ อัมภสุวรรณ์ ประชาสัมพันธ์จังหวัดปทุมธานี นายนพรัตน์ คุ้มศรี ผู้แทนจากสมาคมนักข่าวปทุมธานี เป็นผู้รับมอบ
พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดโครงการส่งสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งมอบความสุขและผลิตภัณฑ์การเกษตรคุณภาพ ส่งตรงจากเกษตรกร ถึงมือเกษตรกรและประชาชน รวมไปถึงการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ให้ประชาชนได้เข้าเยี่ยมชม พร้อมได้รับความรู้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างให้เกิดการใช้จ่าย รวมไปถึงการสร้างรายได้ในครัวเรือนให้กับเกษตรกร โดยในปี 2567 เตรียมจัด 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมมอบของขวัญเกษตรกรไทย มีกิน มีใช้ มีรายได้พอเพียง กิจกรรมเพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจ ไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกิจกรรมเสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมจัดโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกรและประชาชน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ที่กำลังจะมาถึงนี้มี 3 กิจกรรมที่ให้เกษตรกรและประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมในช่วงปีใหม่นี้ เริ่มต้นด้วยกิจกรรม“เกษตรปันสุข” ส่งมอบองค์ความรู้การทำเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง ผ่านการอบรม Workshop การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า และผลผลิตเกษตรปลอดภัยมีคุณภาพจากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567 ตามด้วยกิจกรรมที่ 2 “ท่องเที่ยวสุขใจ...ตามรอยพ่อ” เปิดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 2 – 7 มกราคม 2567 เรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตร เพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ 3 มิติ ถ่ายภาพ เช็คอิน รับของขวัญปีใหม่ และส่งต่อความสุขใจเสริมแรงบันดาลใจในการทำการเกษตร และเช็คอินที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Wisdom king farm ร่วมสัมผัสกลิ่นอายแห่งท้องทุ่ง ชิมกาแฟอินทรีย์ ถ่ายภาพกับสะพานไม้ไผ่ท่ามกลางกังหันลมหลากสี และกิจกรรมสุดท้าย“มอบความสุขด้วยสินค้าและผลผลิตเกษตรคุณภาพปลอดภัย” คัดสรรสินค้าคุณภาพ ผลผลิตปลอดภัยจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นำมาจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ เป็นของฝากส่งต่อความห่วงใยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ผ่านชุดกระเช้าของขวัญสินค้าเกษตรคุณภาพจากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เกษตรฯ สามารถซื้อได้ที่ร้านกิน อยู่ ดี หรือสั่งออนไลน์ได้ทาง facebook ร้านกินอยู่ดี พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ โทร 02-529-2212-13 หรือ 081-567-2806 เปิดบริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum
พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดโครงการส่งสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงเทศกาลปีใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการส่งมอบความสุขและผลิตภัณฑ์การเกษตรคุณภาพ ส่งตรงจากเกษตรกร ถึงมือเกษตรกรและประชาชน รวมไปถึงการเปิดสถานที่ท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตร ให้ประชาชนได้เข้าเยี่ยมชม พร้อมได้รับความรู้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ สร้างให้เกิดการใช้จ่าย รวมไปถึงการสร้างรายได้ในครัวเรือนให้กับเกษตรกร โดยในปี 2567 เตรียมจัด 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่ กิจกรรมมอบของขวัญเกษตรกรไทย มีกิน มีใช้ มีรายได้พอเพียง กิจกรรมเพิ่มสุขปีใหม่ เที่ยวทั่วไทย สุขใจ ไปกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกิจกรรมเสริมพลังปีใหม่ จำหน่ายสินค้าราคาพิเศษ สินค้าเกษตรคุณภาพ ระหว่างเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เตรียมจัดโครงการส่งความสุขปีใหม่ มอบให้เกษตรกรและประชาชน ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 ที่กำลังจะมาถึงนี้มี 3 กิจกรรมที่ให้เกษตรกรและประชาชนได้เข้าร่วมกิจกรรมในช่วงปีใหม่นี้ เริ่มต้นด้วยกิจกรรม“เกษตรปันสุข” ส่งมอบองค์ความรู้การทำเกษตรเพื่อการพึ่งพาตนเอง ผ่านการอบรม Workshop การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมเปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้า และผลผลิตเกษตรปลอดภัยมีคุณภาพจากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ระหว่างวันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567 ตามด้วยกิจกรรมที่ 2 “ท่องเที่ยวสุขใจ...ตามรอยพ่อ” เปิดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ระหว่างวันที่ 2 – 7 มกราคม 2567 เรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยด้านการเกษตร เพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ 3 มิติ ถ่ายภาพ เช็คอิน รับของขวัญปีใหม่ และส่งต่อความสุขใจเสริมแรงบันดาลใจในการทำการเกษตร และเช็คอินที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร Wisdom king farm ร่วมสัมผัสกลิ่นอายแห่งท้องทุ่ง ชิมกาแฟอินทรีย์ ถ่ายภาพกับสะพานไม้ไผ่ท่ามกลางกังหันลมหลากสี และกิจกรรมสุดท้าย“มอบความสุขด้วยสินค้าและผลผลิตเกษตรคุณภาพปลอดภัย” คัดสรรสินค้าคุณภาพ ผลผลิตปลอดภัยจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นำมาจัดจำหน่ายในราคาพิเศษ เป็นของฝากส่งต่อความห่วงใยในช่วงเทศกาลปีใหม่ ผ่านชุดกระเช้าของขวัญสินค้าเกษตรคุณภาพจากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์ เกษตรฯ สามารถซื้อได้ที่ร้านกิน อยู่ ดี หรือสั่งออนไลน์ได้ทาง facebook ร้านกินอยู่ดี พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ โทร 02-529-2212-13 หรือ 081-567-2806 เปิดบริการทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2566 ถึง วันที่ 15 มกราคม 2567” สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum
วันที่ 2 ธันวาคม 2566 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จ.ปทุมธานี เปิดงานใหญ่ประจำปีมหกรรม“ภูมิพลังแผ่นดิน” ระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2566 เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณเชิดชูพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการจัดการดินและทรัพยากรเพื่อการเกษตร การถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงแก่สาธารณชนผ่านนิทรรศการพิเศษเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ อบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ ชม ช้อปสินค้า ผลผลิตปลอดภัยจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ พร้อมกิจกรรมพิเศษ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี และรับชมทาง Online Facebook พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ นายวีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ ประธานกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประธานในพิธี เปิดเผยในงานว่า “การจัดงานมหกรรม “ภูมิพลังแผ่นดิน” ที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้คนไทยได้ร่วมน้อมรำลึกและเทิดพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการจัดการดินและทรัพยากรน้ำ เพื่อการเกษตร โดยได้บูรณาการการทำงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จากทุกภูมิภาค หน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และสื่อมวลชน ร่วมกันขับเคลื่อนและมีส่วนร่วมในการพัฒนาดินของประเทศ เพื่อให้ มีการใช้ดินทางการเกษตรที่มีประสิทธิภาพและขณะเดียวกันร่วมกันทำนุบำรุงดินมิให้เสื่อมโทรม มิให้เกิดการ ชะล้างพังทลาย และสามารถใช้ประโยชน์ ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน และไม่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากร และสภาพแวดล้อม” ด้านพลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวเพิ่มเติมถึงกิจกรรมในงานว่า “ภายในงานจัดนิทรรศการเทิดพระเกียรติ ดินดี น้ำอุดม ป่าสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต จัดแสดงพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการจัดการดินและน้ำ เพื่อการเกษตร และนิทรรศการดิน น้ำ พลังงาน สร้างคลังอาหารชีวิต จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ คนรุ่นใหม่ และผู้น้อมนำคำพ่อสอน สู่การทำเกษตรกรรมอย่างยั่งยืนที่มาร่วมจัดนิทรรศการทั้งหมด 16 ฐาน และกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินกว่า 16 หลักสูตร จากวิทยากรผู้ผ่านการปฏิบัติจริงที่มีองค์ความรู้เชิงประจักษ์ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ทาง youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ชม ช้อป สินค้าเกษตรปลอดภัยกว่า 200 ร้านค้า กิจกรรมพิเศษในวันที่ 5 ธันวาคม 2566 วันพ่อแห่งชาติ จัดให้มีกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในช่วงเช้าทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้งพระภิกษุสงฆ์ จำนวน 59 รูป เพื่อน้อมถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และช่วงค่ำ มีพิธีจุดเทียนมหามงคลสดุดี เฉลิมพระเกียรติ น้อมรำลึกพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ ร่วมรับชมการแสดงพร้อมรับฟังบทเพลงเพื่อพ่อ โดยคุณขวัญข้าว ธิดารินทร์ และรับฟังเสียงขลุ่ยบรรเลงบทเพลงพระราชนิพนธ์โดย อาจารย์ธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ” นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมการเรียนรู้ให้ร่วมสนุกมากมาย ภายในงานเปิดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พร้อมรับชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร พิพิธภัณฑ์ดินดล ช่วงเวลา 17.00 – 20.00 น. เพลิดเพลินกับสินค้าคุณภาพตลาดยามเย็น กว่า 50 ร้าน สำหรับงานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 - 5 ธันวาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID :@wisdomkingmuseum และYoutubeพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันศุกร์ที่ 17 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จ.ปทุมธานี แถลงข่าวเตรียมจัดงานใหญ่แห่งปี ระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2566 งานมหกรรม“ภูมิพลังแผ่นดิน” เพื่อน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ เชิดชูพระเกียรติคุณพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ด้านการจัดการดินเพื่อการเกษตร ถ่ายทอดองค์ความรู้ นวัตกรรมเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงแก่สาธารณชน ผ่านนิทรรศการพิเศษเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ อบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ ชม ช้อปสินค้าผลผลิตปลอดภัย กับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ พร้อมกิจกรรมพิเศษ ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “การจัดงานมหกรรม “ภูมิพลังแผ่นดิน” ถือเป็นงานใหญ่ประจำปี ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ด้านการจัดการดินเพื่อการเกษตร ถ่ายทอดองค์ความรู้นวัตกรรมเกษตรตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงแก่สาธารณชน ผู้ทรงเป็นดั่งกำลังของแผ่นดิน พร้อมเชิดชูพระเกียรติในฐานะที่ทรงเป็นนักวิทยาศาสตร์ดินเพื่อมนุษยธรรม โดยภายในงานมีนิทรรศการที่จัดขึ้นภายใต้ชื่อ ดินดี น้ำอุดม ป่าสมบูรณ์ เกื้อกูลชีวิต นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ คนรุ่นใหม่ผู้น้อมนำคำสอนพ่อ ดิน น้ำ พลังงาน สร้างคลังอาหารชีวิตและนิทรรศการจากสถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี กรมพัฒนาที่ดิน และพบกับการออกร้านจำหน่ายสินค้า ผลผลิตเกษตรปลอดภัย จากพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์กว่า 200 ร้านค้า พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรผู้ปฏิบัติจริง กับอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ 16 วิชา ตลอดทั้ง 4 วัน” นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายพัฒนา กล่าวเพิ่มเติมว่า “ขอเชิญชวนประชาชนมาเข้าร่วมเรียนรู้นิทรรศการเครือข่ายคนรุ่นใหม่ ผู้น้อมนำ คำสอนพ่อ นอกจากนี้ยังมีการเปิดให้อบรมวิชาของแผ่นดิน และอบรมเชิงปฏิบัติการ โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และยังมีกิจกรรม Work shop ให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในงาน พร้อมตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ตลาดแห่งองค์ความรู้ ตลาดแห่งมิตรภาพ และการแบ่งปัน ศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านการเกษตร พื้นที่จุดประกายความคิด และน้อมนำแนวทางหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคม พร้อมชม ช้อป แบบจุใจกว่า 200 ร้านค้า กับสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลผลิตเกษตรอินทรีย์ มีคุณภาพ อาหารพื้นบ้านคาวหวานทั้ง 4 ภาค และตลาดต้นไม้นานาพันธุ์ โดยเกษตรกรผู้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต จำหน่ายในราคามิตรภาพ และเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์ดินดล ตลอดงาน” ทางด้านนายศักดิ์ชัย ชาตาดี เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “วนเกษตรบ้านป่า” จ.ฉะเชิงเทรา กล่าวถึงกิจกรรมของพี่น้องเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯว่า“ภายในนิทรรศการเครือข่าย ดิน น้ำ พลังงาน สร้างคลังอาหารชีวิต จัดแสดงในเรื่องการจัดการดิน น้ำ ป่า โดยใช้เกษตรทฤษฎีใหม่ รูปแบบการทำป่าวนเกษตร ป่าครอบครัว ป่าต้นน้ำ นวัตกรรมพลังงานเพื่อการลดต้นทุน พันธุกรรมพืชที่หลากหลายและพันธุกรรมสัตว์ การใช้ประโยชน์จากมูลสัตว์ และโปรตีนทางเลือกจากพืชและสัตว์ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงนิทรรศการจากภาคีความร่วมมือจากสถานีพัฒนาที่ดินปทุมธานี กรมพัฒนาที่ดิน ที่มาให้องค์ความรู้ในเรื่องการวิเคราะห์ดิน วิเคราะห์คุณภาพน้ำหมักและนำเมล็ดพันธุ์มาแจกตลอดทั้งงาน” พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวทิ้งท้าย “พลาดไม่ได้กับกิจกรรมพิเศษในวันที่ 5 ธันวาคม เวลา 08.00 น. ขอเชิญประชาชน ร่วมทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง พระภิกษุสงฆ์จำนวน 59 รูป เพื่อน้อมถวายเป็น พระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรและในเวลา 18.00 น. เป็นต้นไป ร่วมรับชมการแสดงและจุดเทียนมหามงคลสดุดีเฉลิมพระเกียรติ และน้อมรำลึกใน พระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ รับฟังบทเพลงเพื่อพ่อและเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พิพิธภัณฑ์ดินดลตลอดทั้งวัน พร้อมด้วยกิจกรรมอื่นๆอีกมากมาย ภายในงานมหกรรม ภูมิพลังแผ่นดิน ระหว่างวันที่ 2 – 5 ธันวาคม 2566 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี” นอกจากนี้พบกับตลาดยามเย็นที่มีสินค้าจากร้านค้าเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ร้านค้าจากภาคีความร่วมมือจำนวน 50 ร้าน ตั้งแต่เวลา 17.00 – 20.00 น. ตั้งแต่บริเวณด้านหน้าประตูทางเข้าพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันที่ 29 กันยายน 2565 ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี ทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเพื่อถ่ายทำรายการ Princess Vlog ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปทุมธานี โดยมีพลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมคณะผู้บริหาร เฝ้ารับเสด็จฯ โดยรายการดังกล่าวฯ เผยแพร่ผ่านเพจ To be number one channel ในวันที่ 13 ตุลาคม 2565
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 5/2568 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting Application โดยมีนายสำราญ สาราบรรณ์ เป็นประธานการประชุม ในวันอังคารที่ 27 พฤษภาคม 2568 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ เรื่อง สรุปผลการปฏิบัติกิจกรรมสำคัญของสำนักงาน ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องการรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการ พกฉ. ครั้งที่ 4/2568 เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเสนอให้ที่ประชุมทราบ 3.1 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการควบคุมภายใน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 4.2 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการบริหารความเสี่ยง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ไตรมาส 2 ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 4.3 เรื่อง ขอความเห็นชอบนำเงินรายได้และเงินเหลือจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สมทบเข้าเป็นทุนเพื่อกิจการของสำนักงาน ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 5.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงาน และผลการใช้จ่ายเงินตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 5.2 เรื่อง สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดงานวันคล้ายวันสถาปนาสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครบรอบ 16 ปี ในวันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน 2568 5.3 เรื่อง สรุปผลการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ และคณะอนุกรรมการต่างๆ 5.4 เรื่อง กำหนดการประชุมคณะกรรมการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ครั้งที่ 6/2568 ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. ดำเนินโครงการสร้างความร่วมมือเชิงเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและส่งมอบฐานการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ณ โรงเรียนวัดหุบรัก(ไพรประชาอุปถัมถ์) จ.นครปฐม โดยมี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ เจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีส่งมอบฐานการเรียนรู้ต้นแบบเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ตามภารกิจการเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพ และสืบทอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมศานุวงศ์ไทย ด้านการเกษตร พร้อมทั้งขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สู่ชุมชนและเครือข่ายสถาบันการศึกษาในบริเวณโดยรอบ ในการพัฒนาและยกระดับการขยายผลหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร
วันที่ 26 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ และเผู้ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับการจัดการอนามัยสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยด้านสุขภาพของเมืองท่องเที่ยวสู่การท่องเที่ยวสุขภาพดี ผ่านระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ปทุมธานี
วันจันทร์ที่ 26 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอกประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าร่วมการสัมมนา ”ผลการติดตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและโครงการที่มีการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปีงบประมาณ 2568" โดยมีนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี พร้อมนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประวัติ แดงบรรจง รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ นายอนุกูล สังข์ศิริ ผู้อำนวยการกองประสานงานโครงการพระราชดำริ และผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม ณ ห้องประชุมพึ่งบุญฯ อาคารวิสัยทัศน์ ชั้น 8 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
วันที่ 23 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประธานในพิธีเปิดตลาดเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน “ตลาดนัดลานชุมชนคนพอเพียง วัดดอยท่าเสา” ณ วัดดอยท่าเสา ตำบลท่าเสา อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสาน รักษา ต่อยอด เผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ขับเคลื่อนความร่วมมือในระดับชุมชนผ่านการจัดตลาดเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมส่งต่อองค์ความรู้ ประสบการณ์การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่ชุมชน สร้างอาชีพ สร้างรายได้ โดยภายในงาน มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้งานพัฒนาสร้างความร่วมมือกับเครือข่าย พกฉ. ซึ่งภายในงานมีผู้แทนหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชน เจ้าหน้าสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ สมาชิกร้านค้าเครือข่ายวัดดอยท่าเสา เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. ชูความสำเร็จของศูนย์เครือข่าย ฯ และศูนย์เรียนรู้ฯ ของ พกฉ. ที่เป็นกลไกสำคัญของการขับเคลื่อนและขยายผลหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตรสู่สังคมและชุมชนที่เป็นรูปธรรม ครั้งนี้ยกทัพสื่อมวลชนเยี่ยมชม 3 ศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ ในพื้นที่ระยอง-จันทบุรี ที่มีการต่อยอด ขยายผล การทำเกษตรตามแนวพระราชดำริแห่งความพอเพียง ชูอัตลักษณ์การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำวนเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม - เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านอาหาร สร้างงาน สร้างรายได้ สู่ครอบครัวและชุมชน พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นำคณะสื่อมวลชนเข้าเรียนรู้พื้นที่ของศูนย์เครือข่ายฯ และศูนย์การเรียนรู้ฯ ของ พกฉ. ที่น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้กับการทำการเกษตรที่เหมาะสม สอดคล้องกับภูมิสังคม ระหว่างวันที่ 22 – 23 พฤษภาคม 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์ฯ ในจังหวัดระยองและจังหวัดจันทบุรี พร้อมส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กรในฐานะที่ศูนย์เครือข่ายฯ และศูนย์การเรียนรู้ฯ ของ พกฉ. เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน ชูอัตลักษณ์การทำเกษตรแบบผสมผสาน การทำวนเกษตร การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการพึ่งพาตนเอง สู่ ในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยมุ่งหวังให้เกิดการขยายผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องให้กับชุมชนใกล้เคียง พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการจัดโครงการเปิดบ้านท่องเที่ยวเส้นทางตามรอยพ่อ ประจำปี 2568 ว่า “สำหรับการลงพื้นที่ในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในด้านการพัฒนาเกษตรกรรมอย่างยั่งยืน ตลอดจนขยายผลแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าถึงคนรุ่นใหม่และชุมชนทั่วประเทศ ผ่านศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตร ฯ 95 แห่งจากทั่วประเทศ และมีเป้าหมายขยายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายฯ ทั่วทุกจังหวัดภายในปี 2569 โดยในปีนี้พาไปเยี่ยมชมพื้นที่การทำเกษตรต้นแบบ “วนเกษตร” ในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “สวนดินดุสิตาเครือข่ายเกษตรตำบลพวา” จังหวัดจันทบุรี ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “บ้านสวนกันและกัน” จังหวัดจันทบุรี และศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว “พ่อผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ บ้านสองสลึง” จังหวัดระยอง ซึ่งแต่ละแห่งมีจุดเด่นเฉพาะตัว ในการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างเหมาะสมกับบริบทท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ อันเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาอนาคตของประเทศอย่างยั่งยืน และเป็นพื้นที่สำคัญในการขับเคลื่อนเชื่อมโยง ขยายผลในระดับชุมชนอย่างเข้มแข็ง” “ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ทั้ง 3 แห่งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งรูปธรรมความสำเร็จของการน้อมนำแนวพระราชดำริ หลักคิด หลักปฏิบัติมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะกับภูมิสังคม ถ่ายทอดแนวคิดเกษตรอินทรีย์ การแปรรูป และการใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าสะท้อนการเดินทางของคนรุ่นใหม่ที่เลือกกลับบ้านเพื่อชีวิตที่มั่นคงจากเกษตรเพื่อชีพ สู่วิถีเกษตรเพื่อแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน ทั้งยังสร้างโอกาสให้คนไทยเรียนรู้และลงมือทำเพื่อชีวิตที่พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน” พันจ่าเอก ประเสริฐ กล่าวย้ำ ด้าน นางสาววรรณิภา เครือวัลย์ ผู้นำเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจังหวัดระยอง บ้านสองสลึง ตำบลสองสลึง อำเภอแกลง จังหวัดระยองกล่าวว่า “ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน สาขาเศรษฐกิจพอเพียง ประจำปี 2558 ผู้เป็นพ่อได้ก่อตั้งศูนย์แห่งนี้ขึ้นมาโดยเปลี่ยนชีวิตจากการทำเกษตรเคมี สู่วิถีเกษตรอินทรีย์ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ศูนย์แห่งนี้เริ่มต้นจากการเป็นศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการเกษตร ต่อมาได้พัฒนาเป็นศูนย์เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จังหวัดระยอง มีพื้นที่รวม 50 ไร่ เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ตามแนวทฤษฎีใหม่ อาทิ การปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ และการสร้างคลังอาหารในครัวเรือน เพื่อพึ่งพาตนเองอย่างมั่นคง โดยผู้เป็นพ่อเคยเป็นเกษตรกรที่ประสบปัญหาขาดทุนจากการทำเกษตรเชิงเดี่ยวและพึ่งพาสารเคมี ก่อนจะหันมาใช้แนวทางเกษตรอินทรีย์โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จนสามารถฟื้นฟูชีวิตและที่ดินของตนเองได้อย่างมั่นคง พร้อมทั้งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตน ได้สานต่อภารกิจของพ่ออย่างเต็มตัว เพื่อให้ที่นี่เป็นพื้นที่สร้างอาชีพ ให้พึ่งพาตนเองแบบยั่งยืน สำหรับศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง ให้บริการความรู้กับประชาชน เรื่องการทำเกษตรอินทรีย์ ตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง สอนการปรับปรุงบำรุงดิน สร้างอาชีพ สร้างผู้นำต้นแบบของการพึ่งตนเอง การผลิตสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน แบ่งเป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ ทั้งเลี้ยงสัตว์ ทำปุ๋ยหมัก ปลูกพืชสมุนไพร” ด้านนางสาวกัญญา ดุชิตา ผู้นำศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หรือ “สวนดินดุสิตาเครือข่ายเกษตรตำบลพวา” ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี อดีตพนักงานธนาคารได้กล่าวถึงแรงผลักดันในการตัดสินใจกลับคืนสู่บ้านเกิดว่า เพื่อกลับมาสานต่อภารกิจการเป็นเกษตรกรจากนายบุญเลิศ ดุชิตา เกษตรกรต้นแบบผู้เป็นพ่อ โดยศึกษาเรียนรู้เกษตรกรรมจากครอบครัวอย่างจริงจัง และพยายามพึ่งพาตนเองโดยใช้สิ่งที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด หลักคิดเหล่านี้ได้ถูกฝังอยู่ในวิถีชีวิตและถูกถ่ายทอดอย่างเป็นธรรมชาติจากการเรียนรู้และลงมือทำอย่างต่อเนื่อง จึงเกิดการต่อยอดสู่แนวทาง “วนเกษตร” และนำมาปรับใช้กับพื้นที่ของตนเอง โดยเน้นการเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ การแปรรูปเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และสร้างเครือข่าย “วนเกษตรตำบลพวา” ที่รวมกลุ่มเกษตรกรในท้องถิ่น ทำกิจกรรมพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน พร้อมฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นอย่างยั่งยืน ปัจจุบันได้มีการรวมกลุ่มในชุมชนในการแปรรูปผลผลิตสมุนไพรจากจากป่าวนเกษตรจำหน่าย อาทิ การทำน้ำมันพุทธมนต์จากว่าน 108 การทำน้ำมันชันตะเคียน และการทำแยมมะแปม การกลั่นน้ำมันจากสมุนไพรท้องถิ่น การทำยาหม่องสมุนไพร ยาดมสมุนไพรและครีมมะกรูดสระผม เป็นต้น ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีในตลาดเป็นรายได้ที่มั่นคง ยั่งยืนให้คนในชุมชน” ส่วนทางด้านนางสาวกมลภทร กสิกรรม เจ้าของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯและเจ้าของ “บ้านสวนกันและกัน” จังหวัดจันทบุรี กล่าวว่า “เริ่มต้นชีวิตการเป็นเกษตรกรจากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ ในการติดตามแม่ไปประชุมเครือข่ายวนเกษตร ซึ่งเป็นการเรียนรู้ผ่านกระบวนการจริง ฝึกฝน คิด วิเคราะห์ และลงมือปฏิบัติ โดยยึดแนวคิด “เกษตรเพื่อพึ่งตนเอง” นอกจากนี้ยังได้ร่วมโครงการ MASA ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านเกษตรยั่งยืน และนำประสบการณ์กลับมาพัฒนาสวนในพื้นที่ของตนเองให้เป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกับชุมชนในชื่อ “บ้านสวนกันและกัน” ผลงานที่โดดเด่น ได้แก่ การสร้างสวนวนเกษตร การแปรรูปสมุนไพร เช่น น้ำแก้ไอฝาง น้ำมันพุทธมนต์ ยาหม่อง น้ำมันมะพร้าว และผลิตภัณฑ์พื้นบ้านหลากหลาย รวมถึงการแปรรูปอาหารในสวน เช่น ไอศกรีม ข้าวหมาก แช่อิ่ม ซึ่งสะท้อนความคิดสร้างสรรค์และการจัดการที่ยึดโยงกับทรัพยากรที่มีอยู่รอบตัวอย่างเต็มศักยภาพ
วันศุกร์ที่ 23 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการ พกฉ. มอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการ พกฉ. ร่วมแสดงความยินดีกับกรมพัฒนาที่ดิน และร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานวันสถาปนากรมพัฒนาที่ดิน เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสถาปนา ครบรอบ 62 ปี โดยมี นายอัครา พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (รมช.กษ.) เป็นประธานในพิธีฯ ในการนี้ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ได้ร่วมบริจาคสมทบทุนมูลนิธิพัฒนาที่ดินสงเคราะห์ ณ กรมพัฒนาที่ดิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ
วันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมด้วย นายทินกร พันธ์กาง เจ้าหน้าที่พัฒนานวัตกรรมเกษตร ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม “มหานครผลไม้ไทยภาคตะวันออก” จัดโดย องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) โดยได้รับเกียรติจาก นายบุญสิงห์ วรินทร์รักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมฯ โดยงานดังกล่าวจะจัดระหว่างวันที่ 19 - 31 พฤษภาคม 2568 ณ ตลาด อ.ต.ก. จตุจักร กรุงเทพฯ
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจการและรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 3/2568 ผ่านระบบประชุมทางไกล Zoom Meeting Application โดยมี ดร.วีระชัย นาควิบูลย์วงศ์ เป็นประธานการประชุม ในวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.30 น. ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีรายละเอียด ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานและผลการจัดหารายได้ พกฉ. ณ วันที่ 30 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 2 เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะอนุกรรมการพัฒนากิจการและรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ครั้งที่ 2/2568 เมื่อวันศุกร์ที่ 11 เมษายน 2568 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องเพื่อทราบ 3.1 เรื่อง ข้อมูลวิเคราะห์ กิจกรรม กิจการ และบริการเพื่อส่งเสริมรายได้ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้ายู่หัว (องค์การมหาชน) - ข้อมูลสัดส่วนที่มารายได้ ของ พกฉ. - ข้อมูลสัดส่วนกลุ่มเป้าหมาย ต่อการใช้บริการ ส่วนต่างๆ ของ พกฉ. ในแต่ละด้าน - กิจกรรม การใช้บริการส่งเสริมรายได้ พกฉ. เดือน พ.ค. - มิ.ย. 2568 3.2 เรื่อง ความก้าวหน้าโครงการประกวด เพื่อส่งเสริมการประชาสัมพันธ์และการตลาด - โครงการประกวดภาพยนตร์สั้น ตามรอยพระยุคลบาทด้านการเกษตรของในหลวงรัชกาลที่ 9 ประจำปี 2568 - โครงการประกวดผลงานนวัตกรรม และเทคโนโลยีภาคการเกษตร ,อุตสาหกรรมเกษตร หรือ อุตสาหกรรมภาคการเกษตร - คำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานพัฒนากิจการและรายได้ พกฉ. ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 4.1 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกวดภาพยนตร์สั้น ตามรอยพระยุคลบาท ด้านการเกษตรของในหลวงรัชกาลที่ 9 4.2 เรื่อง หลักเกณฑ์การประกวดผลงานนวัตกรรม และเทคโนโลยีภาคการเกษตร ,อุตสาหกรรมเกษตร หรือ อุสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องอื่นๆ
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 5/2568 โดยมีนางสาวเบญจพร ชาครานนท์ เป็นประธานการประชุม ในวันจันทร์ที่ 19 พฤษภาคม 2568 ณ ห้องประชุมตามรอยพ่อ ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี โดยมีรายละเอียดการประชุม ดังนี้ ระเบียบวาระที่ 1 เรื่องที่ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ 1.1 เรื่อง สรุปประเด็นการประชุมคณะกรรมการ พกฉ. ครั้งที่ 4/2568 ระเบียบวาระที่ 2 เรื่อง การรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 4/2568 ระเบียบวาระที่ 3 เรื่องสืบเนื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 3.1 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการตรวจสอบ 3.2 เรื่อง รายงานผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบภายใน ระเบียบวาระที่ 4 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ 4.1 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานด้านการเงินและภารกิจหลัก ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ณ วันที่ 30 เมษายน 25686 4.2 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนการควบคุมภายใน ไตรมาส 2/2568 4.3 เรื่อง รายงานผลการดำเนินงานตามแผนบริหารจัดการความเสี่ยง ไตรมาส 2/2568 ระเบียบวาระที่ 5 เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา 5.1 เรื่อง รายงานผลการตรวจสอบประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 -รายงานผลการตรวจสอบ เรื่อง กิจกรรมพัฒนาและปรับปรุงฐานเรียนรู้ต้นแบบ -รายงานผลการตรวจสอบ เรื่อง กิจกรรมด้านจริยธรรมและด้านทุจริต 5.2 เรื่อง คู่มือการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน 5.3 เรื่อง กำหนดการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ครั้งที่ 6/2568 ระเบียบวาระที่ 6 เรื่องอื่นๆ
วันที่ 16 พฤษภาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย นายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ ร่วมพิธีเปิดงาน “เสน่ห์ใกล้กรุง” จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดปทุมธานีและท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดปทุมธานี ร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปริมณฑล โดยได้รับเกียรติจาก นายสมคิด จันทมฤก ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนภาคเอกชน เครือข่ายด้านการท่องเที่ยว เข้าร่วมฯ ณ ชั้น B ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี สำหรับงาน “เสน่ห์ใกล้กรุง” มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์และวัฒนธรรม เพื่อยกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ ผ่านการเชื่อมโยงวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยภายในงานประกอบด้วย การออกร้านจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ขึ้นชื่อจากกลุ่มจังหวัดภาคกลางกว่า 80 ร้าน การสาธิตภูมิปัญญาท้องถิ่นและกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม นิทรรศการ “เรื่องเล่าเสน่ห์ชาวกรุง” และการแสดงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น และโชว์พิเศษจากศิลปินชื่อดัง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 18 พฤษภาคม 2568 ณ ชั้น B ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต จังหวัดปทุมธานี
วันที่ 15 พฤษภาคม 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. จัดพิธีปัจฉิมนิเทศ นักเรียนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่ มั่งคั่ง ยั่งยืน รุ่นที่ 14 และปฐมนิเทศ นักเรียนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่ มั่งคั่ง ยั่งยืน รุ่นที่ 15 โดยได้รับเกียรติจาก พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ พกฉ. พร้อมด้วยวิทยากรหลักสูตรโครงการฯ อาทิ อาจารย์เฉลิม พีรี เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดกำแพงเพชร อาจารย์ขวัญชัย รักษาพันธ์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา อาจารย์ขวัญใจ เนตรหาญ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดสระบุรี อาจารย์มงคล เพ็ชรเนียม เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดกำแพงเพชร อาจารย์สุพจน์ ศรีไสยเพชร เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดอุทัยธานี เข้าร่วม จัดขึ้น ณ ห้องประชุมศาลาเพียงดิน พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี โดยภายในงานจัดให้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรแก่นักเรียนที่จบโครงการฯ ในรุ่นที่ 14 จำนวน 8 ท่าน เพื่อเป็นเกียรติและเป็นขวัญกำลังใจ ในการกลับไปใช้ชีวิต และขยายผลส่งต่อองค์ความรู้ไปสู่สังคม และจัดพิธีปัจฉิมนิเทศ ต้อนรับนักเรียนโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่มั่งคั่ง ยั่งยืน รุ่นที่ 15 ทั้ง 5 คน ที่ผ่านการสัมภาษณ์ และคัดเลือกเข้ามาเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การลงมือปฏิบัติตลอดระยะเวลา 4 เดือน ตามรอยศาสตร์พระราชา ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่แบบเข้มข้น กับเกษตรกรต้นแบบ เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุดกับการทำเกษตรในพื้นที่ของตนเอง
วันที่ 1 พฤษภาคม 2568 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดโครงการ “สานต่อ วิถีพอเพียง” โดยมีนายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ กล่าวต้อนรับพร้อมเปิดโครงการฯ คณะกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ และบุคคลต้นแบบทางสังคม ณ ห้องประชุมศาลาเพียงดิน พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี โดยผู้เข้าร่วมโครงการเข้าชมและเรียนรู้พระเกียรติคุณพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย และพระบรมวงศานุวงศ์ด้านการเกษตร รวมถึงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่หน่วยงานการพัฒนาสังคมและการให้โอกาส ผ่านการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์ในอาคาร พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง และกิจกรรมต่างๆ นับเป็นการขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายที่พร้อมจะสานต่อและเป็นต้นแบบในการน้อมนำและเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมไทยต่อไป
ร่วมอบรม "วิชาของแผ่นดิน" 8 หลักสูตร ไม่มีค่าใช้จ่าย มาเติมเต็มองค์ความรู้ ก่อนทำการเกษตรจากเกษตรกรตัวจริง เสียงจริง ผู้น้อมนำคำพ่อสอน สู่ความยั่งยืน ในงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง รู้ก่อนทำเกษตร 3 - 4 พฤษภาคม 2568 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จ.ปทุมธานี เรียนรู้ได้ ณ ห้องอบรมวิชาของแผ่นดิน พื้นที่จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง หรือรับชมทางออนไลน์ ของทางพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ลงทะเบียนรับชมออนไลน์ได้ทาง >> https://forms.gle/5XHNZvpHWTVfR17p7
วันที่ 27 มีนาคม 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ได้ดำเนินการจัดอบรมหลักสูตร “การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์” ณ ห้องประชุมศาลาเพียงดิน พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ และเพิ่มพูนทักษะในการป้องกันตนเองของบุคลากรในยุคดิจิทัล การอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก พันตำรวจเอก ณัทกฤช พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงสร้างพื้นฐานสำคัญทางสารสนเทศ สำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการ แนวทาง และมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้จริงทั้งในระดับบุคคลและองค์กร และในโอกาสนี้ นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ได้กล่าวแสดงความขอบคุณวิทยากรที่ให้เกียรติมาบรรยายและแลกเปลี่ยนความรู้ในครั้งนี้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาองค์กรให้มีความพร้อมรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
โอกาสทองของเกษตรกรมือใหม่ เปิดรับสมัครผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ 1 ไร่ มั่งคั่ง ยั่งยืน รุ่นที่ 15 ค้นหาเกษตรกรมือใหม่ เรียนรู้อยู่แปลง ตามรอยศาสตร์พระราชา ด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่แบบเข้มข้นตลอดระยะเวลา 4 เดือน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ครบเครื่องเรื่องการเกษตร ตั้งแต่ทฤษฎีสู่การลงมือปฏิบัติบนพื้นที่จริง สถานการณ์จริง ผ่านกระบวนการสอนอย่างเข้มข้นจากวิทยากรต้นแบบผู้มากประสบการณ์ อาทิ อาจารย์เฉลิม พีรี อาจารย์สุพจน์ ศรีไสยเพชร เรียนรู้หลากหลายวิชา อาทิ การทำนา การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ เรียนรู้จุลินทรีย์ทั้ง 4 ชนิด การเพาะพันธุ์เห็ดหลากหลายรูปแบบ การขยายพันธุ์พืช เรียนรู้เรื่องสมุนไพรและผักพื้นบ้าน สมาร์ทฟาร์มเมอร์และพลังงานทดแทน การแปรรูปและการตลาด และอีกหลายหลายวิชาครบเครื่องเรื่องการทำการเกษตรกว่า 19 วิชา ที่จะสามารถนำไปปรับใช้ในภูมิสังคมได้อย่างเหมาะสม เปิดรับสมัคร : ตั้งแต่วันนี้ – 13 เมษายน 2568 สัมภาษณ์ : วันที่ 19 เมษายน 2568 ประกาศผล : วันที่ 21 เมษายน 2568 ระยะเวลาเรียนรู้ : เริ่มตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน 2568 – 25 สิงหาคม 2568 ปฐมเทศ วันที่ 25 เมษายน 2568 (เวลาอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม) สมัครด้วยตนเอง ภายในงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง หรือในงานอบรมหลักสูตรต่างๆ ของ พกฉ. หรือสมัครออนไลน์ได้ทาง https://forms.gle/2nRcqQovMQfHR7G48 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง 090 313 9809 หรือ 085 491 8861 หรือ www.wisdomking.or.th facebook: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอเชิญร่วมงาน “จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 4 – 6 เมษายน 2568 ตั้งแต่เวลา เวลา 08.00 – 17.00 น. เพื่อเทิดพระเกียรติและเรียนรู้ความสำคัญของพันธุกรรมท้องถิ่นอันเป็นมรดกของแผ่นดิน ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระราชสมภพ ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา 2 เมษายน 2568 ชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติฯ นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และหน่วยงานภาคีความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน พร้อมเปิดอบรมหลักสูตรวิชาของแผ่นดิน 12 หลักสูตร ตลอดทั้ง 3 วัน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และ ชม ชิม ช็อป ผลผลิตตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์สินค้าแปรรูปคุณภาพโดยเกษตรกรเครือข่ายฯ ทั่วประเทศกว่า 200 ร้านค้า พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กล่าวถึงความสำคัญในการจัดงานครั้งนี้ว่า “ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ผู้ทรงเป็นองค์ประธานในการขับเคลื่อนโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ หรือ อพ.สธ. ธ ทรงเป็นแรงบันดาลใจให้คนไทย ตระหนักรู้ถึงการอนุรักษ์และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ยิ่งในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญกับปัญหาด้านความมั่งคงทางอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของมนุษย์ การรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมจึงถือเป็นเรื่องที่เราต้องช่วยกันดูแล การจัดงานในครั้งนี้จึงเป็นการสะท้อนให้ทุกคนได้รู้ถึงความสำคัญของพันธุกรรมท้องถิ่นทั้งพืชและสัตว์ อันเป็นหัวใจหลักของความมั่นคงทางโภชนาการและเป็นรากฐานของการพัฒนาประเทศ การรักษาสมดุลของระบบนิเวศไปพร้อมกับการเรียนรู้และพัฒนาเกษตรกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยสร้างความมั่งคงทางอาหารที่ยั่งยืนให้กับมนุษยชาติต่อไป” ชมนิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี “70 พรรษา พระบารมีแห่งเจ้าฟ้านักพัฒนา” ผู้ทรงคุณูปการด้านโภชนาการและพันธุกรรม นำเสนอเรื่องราว “เจ้าฟ้านักโภชนาการ” ที่ทรงให้ความสำคัญกับการศึกษา ค้นคว้า ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาโภชนาการให้กับประชาชนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ประสบปัญหาขาดแคลนอาหารและภาวะทุพโภชนาการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในทุกมิติ พร้อมชมนิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “พันธุกรรม มรดกชีวิต มรดกแผ่นดิน” ที่เชื่อมโยงอดีต ปัจจุบัน และอนาคต สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของพันธุกรรมซึ่งเปรียบเสมือนมรดกที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรม การรักษาความหลากหลายทางพันธุกรรมเพื่อส่งต่อให้กับคนรุ่นหลังได้มีกิน มีใช้ จึงเป็นกุญแจสำคัญในการสร้างความมั่นคงทางอาหารในกับสังคมไทย นำเสนอผ่าน 10 ฐานนิทรรศการ เช่น นิทรรศการ “108 พันธุ์ว่าน” นิทรรศการ “จากเมล็ดพันธุ์สู่จานข้าว” นิทรรศการ พืชสมุนไพร “รากแห่งภูมิปัญญา” นิทรรศการ “ผักพื้นบ้าน อาหารชุมชน” และนิทรรศการ “ซุปเปอร์เชฟ ซุปเปอร์พันธุกรรม” เป็นต้น และนิทรรศการ “สนองพระราชปณิธาน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรไทยสืบไป” จากหน่วยงานความร่วมมือ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถานศึกษา กว่า 15 หน่วยงาน อาทิ กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมหม่อนไหม สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ เป็นต้น กิจกรรมพิเศษที่ไม่ควรพลาด Wisdom Craft Coffee พบเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ และร้านกาแฟกว่า 20 ร้าน ที่รวมตัวกันมาประชันฝีมือโชว์ดริปกาแฟให้คอกาแฟได้ชิมกันแบบจุใจ และพิเศษสำหรับท่านที่ช็อปเครื่องดื่มและผลิตภัณฑ์ต่างๆ ภายในโซนร้านกาแฟทั้ง 20 ร้าน ครบ 200 บาท รับของที่ระลึกพิเศษ “แก้วน้องดู้สุด cute” “คลินิกพันธุกรรม” พร้อมรับให้คำปรึกษาและคำแนะนำในการปลูก ดูแล และรักษาพืชพรรณโดยเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ วงเสวนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เรื่อง “พันธุกรรมพืช สร้างชีวิต” กับผู้รู้ที่มากด้วยประสบการณ์จากหลากหลายแขนง พิธีมงคลเจริญพระพุทธมนต์และสวดสักกัตวา 108 จบ น้ำมันพุทธมนต์ว่าน 108 เปิดเข้าชมฟรี 3 พิพิธภัณฑ์ และนิทรรศการใหม่แกะกล่อง “Echoes of Life เสียงแห่งทรัพยากร” สัมผัสประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี Projection Mapping ที่ชวนค้นหาความมหัศจรรย์ของทรัพยากรธรรมชาติ และ Highlight สำคัญ ดื่มด่ำไปกับ Immersive Art พรรณไม้ในพระนามาภิไธยและสัตว์สงวนใกล้สูญพันธุ์ ภายในพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ร่วมอบรมเรียนรู้วิชาของแผ่นดิน 12 หลักสูตร โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย อาทิ หลักสูตร “เกษตรร้อยเดียว เปลี่ยนชีวิต” หลักสูตร “ป่ามั่งคั่ง พันธุกรรมยั่งยืน” หลักสูตร “สวนฮักสกล สไตล์” จ.สกลนคร หลักสูตร “เวชศาสตร์วิถีชีวิต : Lifestyle Medicine” จากอาจารย์พิมพ์ใจ ดวงเนตร “Down To Earth Farm Stay” หลักสูตร “โภชนโอสถไทย” โดยพระมหาขวัญชัย อคฺคชโย “ศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทย วัดคีรีวงก์” จ.ชุมพร หลักสูตร “ยางนา : มูลค่าดั่งทอง” หลักสูตร “ทำเกษตรมีกิน 7 ชั่วโคตร” และอีกหลายหลักสูตรที่น่าสนใจ ชม ช็อป สินค้าในตลาดเศรษฐกิจพอเพียง กว่า 200 ร้านค้า พื้นที่แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สินค้า ผลผลิตเกษตรปลอดภัยที่คัดสรรมาให้เลือกซื้อ สมุนไพรไทย ต้นไม้นานาพันธุ์ ผักพื้นบ้าน ผลไม้ตามฤดูกาล ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม รวมถึงอาหารพื้นบ้านทั้ง 4 ภาค ในราคาเป็นกันเอง ขอเชิญร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดำรงรักษาไว้ซึ่งพันธุกรรมอันเป็นมรดกสำคัญของชาติไทยในงาน “จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 4 – 6 เมษายน 2568 ตั้งแต่เวลา เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ face book @wisdomkingmuseum และ Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
วันเสาร์ที่ 15 มีนาคม 2568 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการ พกฉ. มอบหมายให้ นายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เป็นประธานเปิดตลาดเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน “ตลาดในสวน@อเร็งญา” ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดขอนแก่น "สวนอเร็งญา" ตำบลแก่นฝาง อำเภอบ้านฝาง จังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินการขับเคลื่อนงานเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในพื้นที่ ร่วมกับชุมชนในการจัดตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ในชื่อ “ตลาดในสวน@อเร็งญา” โดยนำแนวคิด รูปแบบกระบวนการตลาดเศรษฐกิจพอเพียงของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ไปเป็นต้นแบบในการจัดตลาดเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชนในครั้งนี้มีผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน พ่อค้า แม่ค้าตลาดในสวน@อเร็งญา คุณครู นักเรียนโรงเรียนบ้านม่วงโบ้ และพี่น้องเครือข่าย พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ขอนแก่น เลย ชัยภูมิ มหาสารคาม สกลนคร มุกดาหาร ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และกำแพงเพชร เข้าร่วมกิจกรรมและเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ภายในตลาด โดยมีผู้เข้าร่วมจำนวน 55 คน โดยมุ่งหวังให้ตลาดในสวน@อเร็งญา เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนสินค้าภายในชุมชน สนับสนุนผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ เป็นแหล่งเรียนรู้การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เสริมสร้างความมั่นคงและต่อยอดแนวทางการพึ่งพาตนเองในระยะยาว
วันที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดอบมในหลักสูตร การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM) ครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมจัดทำแผนการจัดการความรู้ รวมถึงเตรียมความพร้อมในการขับเคลื่อนการจัดการองค์ความรู้ ของ พกฉ. โดยมี ผศ.ดร.ทวี วัชระเกียรติศักดิ์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการ สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ โดยมี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เข้าร่วมรับฟัง ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา ชั้น 2 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี ขอเชิญร่วมงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “Summer Life” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ภายในงานพบกับนิทรรศการ “เกษตรสู้ภัยแล้ง” ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมที่สามารถปรับตัวต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน นำเสนอแนวทางการปลูกพืชทนแล้ง ตลอดจนองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการน้ำ เทคนิคการปลูกพืชน้ำน้อย ระบบน้ำหยด และการจัดการดินเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำเกษตรอย่างยั่งยืน เปิดคลังองค์ความรู้กับวิทยากรที่ร่วมบรรยายผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ 8 หลักสูตร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชม ช้อป ผลผลิตเกษตรปลอดภัยส่งตรง จากสวนกว่า 100 ร้านค้า ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของการอบรมวิชาของแผ่นดิน และการอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดหนักจัดเต็ม 8 วิชา ตลอด 2 วัน อาทิ หลักสูตร แปลงจิ๋ว สร้างรายได้ โดยอาจารย์ณัชธนกานต์รัตน์ รอดวินิจ จ.ฉะเชิงเทรา ต่อยอดการจัดการแบบสาย IT ไปกับหลักสูตร ยกระดับ Smart Farm IOT ด้วย AI โดย อาจารย์นิรันดร์ สมพงษ์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครราชสีมา เรียนรู้การฟื้นฟูดินและระบบนิเวศ กับหลักสูตร เกษตรแบบฟื้นฟู โดยอาจารย์เจนนิเฟอร์ อินเนส-เทเลอร์ จาก Udon Organic Farm จ.อุดรธานี เป็นต้น เรียนรู้ทั้งในรูปแบบ Onsite และทาง Online Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี ขอเชิญร่วมงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “Summer Life” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 - 2 มีนาคม 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 17.00 น. ภายในงานพบกับนิทรรศการ “เกษตรสู้ภัยแล้ง” ถ่ายทอดความรู้ด้านเกษตรกรรมที่สามารถปรับตัวต่อสภาพอากาศที่แปรปรวน นำเสนอแนวทางการปลูกพืชทนแล้ง ตลอดจนองค์ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมการจัดการน้ำ เทคนิคการปลูกพืชน้ำน้อย ระบบน้ำหยด และการจัดการดินเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตและการทำเกษตรอย่างยั่งยืน เปิดคลังองค์ความรู้กับวิทยากรที่ร่วมบรรยายผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการ 8 หลักสูตร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชม ช้อป ผลผลิตเกษตรปลอดภัยส่งตรง จากสวนกว่า 100 ร้านค้า ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “Summer Life” เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปรับตัวของภาคการเกษตรต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการเพาะปลูกและ การจัดการน้ำของเกษตรกรในทุกยุค ทุกสมัย โดยงานนี้เกษตรกรและผู้สนใจจะได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการบริหารจัดการน้ำ การปลูกพืชที่ทนแล้ง และแนวทางการใช้เทคโนโลยีทางการเกษตรเพื่อช่วยลดผลกระทบจากภัยแล้ง นอกจากนี้ยังมีการแบ่งปันประสบการณ์จากผู้เชี่ยวชาญและเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในการปรับตัวกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดิน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย” นิทรรศการเกษตรสู้ภัยแล้ง นำเสนอเทคโนโลยีและแนวทางในการปรับตัวเพื่อรับมือกับภาวะภัยแล้งอย่างมีประสิทธิภาพ อาทิ การฟื้นฟูดิน โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุเพื่อเสริมความสามารถในการกักเก็บน้ำ การใช้ระบบให้น้ำพืชอัจฉริยะ (IoT) ที่ช่วยควบคุมปริมาณน้ำอย่างแม่นยำเพื่อลดการใช้น้ำโดยไม่จำเป็น การใช้ระบบสวนครัวน้ำหยด ช่วยให้พืชได้รับน้ำในปริมาณที่พอเหมาะ ลดการระเหยและการสูญเสียน้ำ การให้น้ำพืชแบบหม้อดิน ที่ช่วยรักษาความชื้นในดินได้ยาวนาน และการปลูกพืชด้วยกระถางแก้มลิงซึ่งช่วยให้พืชในกระถางที่มีลักษณะพิเศษ เติบโตได้ดีในสภาวะแวดล้อมที่มีน้ำจำกัด นิทรรศการเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตร โดยอาจารย์นิรันดร์ สมพงษ์ (อ.โอ๋) เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดนครราชสีมา นำองค์ความรู้ Smart Farm แบบต้นทุนต่ำ IOT ROLA หรือ Internet of Things Long Range การทำการเกษตรที่ผสานเทคโนโลยี เข้ามาช่วยในการจัดการแปลงให้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สู่การทำเกษตรวิถีใหม่ที่ไม่ใช่แค่การพึ่งพาตนเองเท่านั้น แต่เป็นการพัฒนาต่อยอด เพื่อเป็นที่พึ่งพิงให้แก่คนในชุมชน เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในรูปแบบของการอบรมวิชาของแผ่นดิน และการอบรมเชิงปฏิบัติการ จัดหนักจัดเต็ม 8 วิชา ตลอด 2 วัน อาทิ หลักสูตร แปลงจิ๋ว สร้างรายได้ โดยอาจารย์ณัชธนกานต์รัตน์ รอดวินิจ จ.ฉะเชิงเทรา ต่อยอดการจัดการแบบสาย IT ไปกับหลักสูตร ยกระดับ Smart Farm IOT ด้วย AI โดย อาจารย์นิรันดร์ สมพงษ์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครราชสีมา เรียนรู้การฟื้นฟูดินและระบบนิเวศ กับหลักสูตร เกษตรแบบฟื้นฟู โดยอาจารย์เจนนิเฟอร์ อินเนส-เทเลอร์ จาก Udon Organic Farm จ.อุดรธานี เป็นต้น เรียนรู้ทั้งในรูปแบบ Onsite และทาง Online Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เปิดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา นิทรรศการที่จัดแสดงพระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทย ด้านการเกษตร พร้อมความสนุกทะลุจอกับภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ และเข้าชมพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ตื่นเต้นผจญภัยในป่าจำลองเสมือนจริง ศึกษาระบบนิเวศสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ร่วมกัน พบกับขบวนสินค้าเกษตรปลอดภัย กว่า 100 ร้าน ชม ช้อป ทั้งของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ต้นไม้พันธุ์ไม้ จากเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ กิจกรรมพิเศษเดือนนี้ ชวนสัมผัสเสน่ห์ความอร่อยของอาหารไทยคลายร้อน “ข้าวแช่ชาววัง” ที่มาพร้อมกับเมนูสุขภาพ “ไข่เจียวผำ” ที่ร้านกิน อยู่ ดี ส่งต่อความยั่งยืนทางพันธุกรรม กับกิจกรรม เพาะ แจก แลก เปลี่ยน และร่วมสนุกกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมาย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดอบรมเพิ่มพูนทักษะด้านการจัดซื้อจัดจ้าง ให้กับบุคลากร สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ในหลักสูตร แนวทางการกำหนดสัดส่วนความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ และแนวทางการดำเนินการภายหลักการบอกเลิกสัญญา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และขั้นตอนด้านการจัดซื้อจัดจ้างอย่างถูกต้อง ป้องกันข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน และเสริมสร้างความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้าง โดยได้รับเกียรติจากนางสาวนภัสภรณ์ มากจริง วิทยากรจากกรมบัญชีกลาง เป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ จัดขึ้น ณ ห้องประชุมพอเพียง ชั้น 3 อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ร่วมจัดนิทรรศการภายในงาน “บุญปลงคืนถิ่น” ประจำปี 2568 โดยพันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เข้าร่วมจัดนิทรรศการ นำเสนอองค์ความรู้ผ่านนิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ในงาน “บุญปลงคืนถิ่น” ประจำปี 2568 เพื่อร่วมสืบสาน และเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการนำเสนอแนวทางการทำ เกษตรแบบยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนส่งเสริมการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชท้องถิ่น ซึ่งเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและควรแก่การรักษาให้คงอยู่เพื่อเป็นรากฐานสำคัญของการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 4 กุมภาพันธ์ 2568 ณ ศูนย์เรียนรู้เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ เครือข่ายวนเกษตร ตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี งานปลงคืนถิ่น เริ่มขึ้นครั้งแรก เมื่อขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ในปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน มีการทำบุญป่าและปลูกต้นปรง ที่พบมากบนเขาชะเมาคืนสู่ป่า เป็นกุศโลบายเพื่อรำลึกถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ มาเป็นกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเยาวชนและคนในชุมชน โดยมีเป้าหมายในการอนุรักษ์ป่าไม้ให้มีความอุดมสมบูรณ์ ให้คนได้หาอยู่หากินกับป่าอย่างยั่งยืน
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอเชิญทุกท่านสัมผัสเสน่ห์ จากดอกไม้นานาชนิดในงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “หวานใจสายเกษตร” ระหว่างวันที่ 1 – 2 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. พบกับสีสันความมหัศจรรย์ของดอกไม้และพืชผลทางการเกษตร ตามฤดูกาล พร้อมลิ้มรสความอร่อยของขนมหวานที่ได้จากดอกไม้ไทย และพลาดไม่ได้กับ 8 องค์ความรู้ ที่พร้อมมาสร้างแรงบันดาลใจในการทำเกษตร ช็อปของกิน ของใช้ สินค้าเกษตรคุณภาพ กว่า 100 ร้านค้า ที่เตรียมไว้เพื่อทุกท่านโดยเฉพาะ พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “สำหรับการจัดงาน “หวานใจสายเกษตร” ครั้งนี้ ผู้ที่มาร่วมงาน จะได้สัมผัสกับเสน่ห์สีสันและความสวยงามของดอกไม้หลากหลายชนิด ซึ่งคนไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันได้นำความโดดเด่นและประโยชน์ของดอกไม้ มารังสรรค์เป็นอาหารทั้งคาวและหวานที่มีเอกลักษณ์ รวมทั้งนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้อย่างลงตัว ซึ่งงานนี้ไม่เพียงแค่นำความงดงามของดอกไม้กินได้มาให้ทุกท่านได้ชื่นชม แต่ยังเป็นพื้นที่สร้างแรงบันดาลใจและให้ความรู้แก่ประชาชนได้เห็นถึงคุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นผ่านมิติที่หลากหลาย ยกระดับต่อยอดจนเกิดมูลค่าและประโยชน์สูงสุด พร้อมพัฒนาสู่การสร้างอาชีพและรายได้ที่ยั่งยืนต่อไป” ภายในงานพบกับกิจกรรมและการเรียนรู้ที่น่าสนใจ •เปิดอบรมฟรี 8 หลักสูตร การอบรมระยะสั้นเพื่อต่อยอดสร้างอาชีพจากวิทยากรที่เตรียมตัวมาส่งต่อความรู้และประสบการณ์ให้กับผู้ที่มาร่วมงานได้เรียนรู้ อาทิ หลักสูตรตลาดผูกปิ่นโต โดยอาจารย์อัครเดช ม่วงไม้ “Tammada Garden” จ.ปทุมธานี หลักสูตรนานาพันธุ์ผึ้ง โดยอาจารย์วีรวิชญ์ อินทร์ประยงค์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครสวรรค์ หลักสูตรหวานใจ ช่อผกากรอง อาจารย์สายชล ธำรงโชติ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ชัยนาท หลักสูตรเบเกอรี่ชีส “ผำ” โดยอาจารย์อาทิตย์ จันทร์นนทชัย และหลักสูตรบุษบา น่าชิม จากอาจารย์สุพัตรา ไชยชมภู “เจ้าของเพจปูเป้ทำเอง” เป็นต้น สามารถเรียนรู้ได้ที่ห้องอบรมวิชาของแผ่นดิน หรือรับชมทาง Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ •พบกับนิทรรศการ “สายหวาน ต้านโรค” พูดคุยกับพี่ฝน (สายชล ธำรงโชติ) เจ้าของ “ไร่อุดมฝน” เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ชัยนาท กับเทคนิคการปลูกหม่อนตลอดจนไอเดียการแปรรูปหม่อน เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพด้วยจุลินทรีย์โพรไบโอติกส์ และเปิด Workshop เทปาเช่ดอกอัญชันจากจุลินทรีย์ธรรมชาติ ให้ผู้ร่วมงานได้ดื่มด่ำความสดชื่นที่เสิร์ฟมาคู่กับคุณค่าและประโยชน์ดีๆ ที่มีต่อร่างกาย ชมสีสัน ความสดใสของดอกไม้นานาชนิดในนิทรรศการ “งามตา หวานใจสายเกษตร” พร้อมแวะชิมอาหารว่างจานเด็ดเพื่อสุขภาพ “บุษบาห่มผ้า” ซึ่งได้กลิ่มหอมๆ จากสารพัดชาดอกไม้ที่มุม “ชิม ชา ชง” มาเพิ่มอรรถรส ความอร่อย •ช็อปสินค้าเกษตรปลอดภัย กว่า 100 ร้าน จุใจ ทั้งของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ต้นไม้พันธุ์ไม้ โดยเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ราคามิตรภาพ พร้อมเปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เพลิดเพลินกับภาพยนตร์ 3 มิติ และพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพรในราคาพิเศษ •กิจกรรมไม่ควรพลาด ส่งต่อพันธุกรรมพื้นบ้านไปกับกิจกรรม “เพาะ แจก แลก เปลี่ยน” กุมภาพันธ์นี้ส่งต่อพันธุ์อ้อย สุพรรณ 50 กลับบ้านเฉพาะ 100 ท่านแรก กิจกรรม DIY “ร้อยรัก นักร้อย” ชวนมาร้อยลูกปัดเป็นของขวัญแทนใจให้คนที่เรารัก และอีกหนึ่งไฮไลน์สนุกๆ เติมความหวานฉ่ำรับเทศกาลวาเลนไทน์ คู่รัก คู่เพื่อน หรือครอบครัวใดที่แต่งตัวเป็นธีมเดียวกันรับไปเลย “ไอศกรีมสายรุ้งสูตรลับตำรับ พกฉ.” จำนวนจำกัดเพียง 50 บ้าน เท่านั้น อย่าพลาดโอกาสมาสัมผัสประสบการณ์พิเศษจากดอกไม้กินได้นานาชนิดที่งานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง "หวานใจสายเกษตร" วันที่ 1-2 กุมภาพันธ์ 2568 ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum
เผยแพร่ พระเกียรติคุณ และ พระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระมหากษัตริย์ไทย และพระบรม วงศานุวงศ์
สืบสาน รักษา ต่อยอด หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร
บริหารจัดการองค์กรให้เป็นพิพิธภัณฑ์ แห่งการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของประเทศ
ส่งเสริม สนับสนุน เครือข่ายและ ภาคีความ ร่วมมือในการขับเคลื่อนหลัก ปรัชญาของ เศรษฐกิจพอเพียง ด้านการเกษตร