โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
หลักสูตรอบรมเข้มข้น แบบมืออาชีพ วันเสาร์ที่ 26 มกราคม 2562 พบกับ “การปลูกผักคอนโด” การเกษตรสไตล์คนเมือง โดยอาจารย์ราเมธ อ่ำสกุล เรียนรู้การปลูกผักในท่อพีวีซี ตั้งแต่ขั้นต้นการเลือกวัสดุปลูก ตลอดจนเทคนิคต่างๆ ในการดูแลรักษา!! พร้อมรับชุดปลูกผักครบเซ็ต ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
สมัครได้ที่นี่ >>คลิก<<
หมายเหตุ
1.กรุณาส่งใบสมัครที่ Fax. 02-5292214 หรือ Email. Porpeang_club@hotmail.com
โครงการสืบสานปันรู้ สู่ความพอเพียง
วันที่ 15 ธันวาคม 2566 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมอบหมายให้ นางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายบริหาร ร่วมงานแถลงข่าวการจัดงาน “มหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา ณ ริมกว๊านพะเยา” โดยมีนายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานแถลงข่าว พร้อมด้วย นายบำรุง สังข์ขาว รองผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา รักษาการแทนผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา นายสยาม ปรีชา รองปลัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา และนายณัฐ ครุฑสูตร ผู้อำนวยการฝ่ายกิจกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้บริหารกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ และสื่อมวลชน ร่วมงานแถลงข่าว ณ ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตพระนคร กรุงเทพฯ สำหรับงาน "มหกรรมการเกษตรและท่องเที่ยวถนนสายดอกไม้งามริมกว๊านพะเยา ณ ริมกว๊านพะเยา" จัดขึ้นภายใต้แนวคิด "อิ่มไอหนาว แอ่วม่วนลำ @ กว๊านพะเยา" มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้ในการส่งเสริมการเกษตรระดับพื้นที่ให้ครบทั้งระบบการผลิตสินค้าเกษตร ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ เผยแพร่ความรู้นวัตกรรมด้านการผลิต การตลาด ทั้งพืช สัตว์ และประมง และเชื่อมโยงการจัดกิจกรรมทางภาคการเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนที่มีจุดแข็งในสินค้าอัตลักษณ์ GI อาทิ ลิ้นจี่ฮงฮวย ข้าวก่ำล้านนา ข้าวหอมมะลิ-จังหวัดพะเยา สับปะรดภูแล-จังหวัดเชียงราย กาแฟเทพเสด็จ-จังหวัดเชียงใหม่ รวมถึงเป็นโอกาสอันดีในการเผยแพร่ความรู้ นวัตกรรมด้านการผลิต การตลาด ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เชื่อมโยงการจัดกิจกรรมทางการเกษตรในระดับภูมิภาค สร้างงานเกษตร ขยายแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร และสร้างรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 ธันวาคม 2566 - 3 มกราคม 2567 ณ ริมกว๊านพะเยา จังหวัดพะเยา
วันพฤหัสบดีที่ 7 กันยายน 2566 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ ว่าที่ ร.ต. ทิฆัมพร กลิ่นบุบผา เจ้าหน้าที่พัฒนาพิพิธภัณฑ์ สำนักพัฒนาพิพิธภัณฑ์และองค์ความรู้ เข้าร่วมประชุมนานาชาติ จีน-ไทย ในหัวข้อ จากการวิจัยสู่นโยบายการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคม โดยภายในงานได้รับเกียรติจาก ดร.กรรณิการ์ เฉิน รองผู้อำนวยการ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM เป็นประธานเปิดการประชุมฯ ณ โรงแรมเดอะสุโกศล กรุงเทพฯ ทั้งนี้ การประชุมนานาชาติ จีน-ไทย จากการวิจัยสู่นโยบายการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “จากการวิจัย สู่นโยบายการส่งเสริมการสื่อสารวิทยาศาสตร์สู่สังคม พร้อมรับฟังมีบรรยายพิเศษหัวข้อ "สถานภาพและความสำคัญของการวิจัยความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนไทย" เพื่อร่วมถอดบทเรียนความสำเร็จ ในการสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนจีน สู่การขับเคลื่อนประเทศให้เจริญรุดหน้า เพื่อหากลไกส่งเสริม พร้อมสร้างความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ของประชาชนไทยเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยมีวิทยากรมาร่วมถ่ายทอดความรู้ อาทิ ดร.สิริพร พิทยโสภณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สอวช.) เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การส่งเสริมความตระหนักรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของประชาชนไทย และการส่งเสริมการพัฒนาประเทศ, Mr.GAO Hongbin Director of Division of Scientific Literacy Research China Research Institute for Science Poppularization (CRISP) บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของการศึกษาสำรวจความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนจีนและการส่งเสริมการพัฒนาประเทศ” และMr.Ren Lei Associate Researcher China Research Institute for Science Poppularization (CRISP) บรรยายในหัวข้อ “ความสำคัญของการพัฒนาระบบวัดความตระหนักรู้ด้าน วทน. เพื่อสนับสนุนการกำหนดนโยบายส่งเสริมการพัฒนาประเทศสู่ความสำเร็จในการส่งเสริมการสร้างความตระหนักรู้ด้าน วทน. ของประชาชนจีนให้เพิ่มขึ้น
เปิดบ้านของพ่อในหลวง รัชกาลที่ 9 ต้อนรับคณะจากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี โรงเรียนานาชาติแอ๊ดเวนต์รามคําแหง โรงเรียนบางกะปิ โรงเรียนรัตนโกสินทร์-รังสิต โรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สถาบันวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร สำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ และคณะจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ทอง เรียนรู้พระอัจฉริยภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง “สุข สนุก เรียนรู้ชัด ปฏิบัติได้จริง” ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ เรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในหลักสูตร “ตามรอยพ่อ กษัตริย์ เกษตร เศรษฐกิจพอเพียง” ตลอดระยะเวลา 5 ชั่วโมงเต็ม กับน้องๆ จากโรงเรียนสตรีวิทยา 2 โรงเรียนหอวัง ปทุมธานี มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี นักศึกษาจากการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอโพธิ์ทอง และพี่ๆ จากโรงเรียนกิจการพลเรือน กรมกิจการพลเรือนทหารบก ผ่านการชมนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารและฐานการเรียนรู้ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ลงมือทำนาอินทรีย์ การปลูกผักบนพื้นปูน และการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า เพื่อเรียนรู้การพึ่งตนเองในด้านการทำเกษตรและพื้นฐานการสร้างอาหารปลอดภัยสำหรับบริโภค พร้อมชมฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง แปลงเกษตรสาธิตแนวทางการทำเกษตรบนพื้นที่ ที่มีน้อยและมีคุณภาพไม่เหมาะสมกับการทำเกษตร เรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่ขนาดเล็กให้เหมาะสมสำหรับการทำเกษตรผสมผสานเพื่อการพึ่งตนเองอย่างยั่งยืนในฐานการเรียนรู้ “1 ไร่ พอเพียง” ตามรอยพ่อในหลวง รัชกาลที่ 9 พร้อมเรียนรู้แนวทางการทรงงานของพระองค์ผ่านนิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา สนุกกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิดที่สอดแทรกข้อคิดดีๆ ให้ผู้เล่นได้นำกลับไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันกับกิจกรรม “รากฐานแห่งความมั่นคง” และกิจกรรม “เชือกเจ้าปัญญา” สนุกให้สุดกับการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ ที่มีให้เลิอกชมกว่า 6 เรื่อง ก่อนจบทริป ต่อยอดองค์ความรู้การทำเกษตรพอเพียงพึ่งตนเองตามแนวทางความพอเพียงในเวลา 3 ชั่วโมง ในหลักสูตร “นวัตกรรมของพ่อ” กับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนรัตนโกสิทร์-รังสิต โรงเรียนานาชาติแอ๊ดเวนต์รามคําแหง และสำนักงานเทศบาลเมืองแพร่ ชมฐานการเรียนรู้ “เรือนไทย 4 ภาค” ภูมิปัญญาการสร้างบ้านของคนไทยทั้ง 4 ภาค ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของท้องถิ่นตนเอง ชมพื้นที่การทำเกษตรผสมผสาน “1 ไร่ พอเพียง” เรียนรู้การจัดสรรค์พื้นที่ที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำเกษตรพึ่งตนเอง ลงมือปฏิบัติ “การขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น” นวัตกรรมการขยายพันธุ์พืชที่ช่วยลดการดูแลและการจัดการ พร้อมกับการลงมือปลูกผักบนพื้นปูน อีกหนึ่งวิธีการสร้างอาหารปลอดภัยสำหรับคนที่มีพื้นที่ไม่เหมาะกับการปลูกผัก ให้สามารถปลูกผักไว้ทานเองได้ เพลิดเพลิดกับภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติและนิทรรศการเรื่องราวของพ่อ ในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของที่ 3 “การแก้ปัญหาจากจุดเล็กจากกิจกรรม “รากฐานแห่งความมั่นคง” และเชือกเจ้าปัญญา”โรงเรียนบางกะปิ เริ่มต้นการเรียนรู้จากทฤษฎีสู่การนำไปปฏิบัติในหลักสูตร “ตามรอยพ่อ” ในเวลา 2 ชั่วโมง กับน้องๆ นักเรียนโรงเรียนบางกะปิ และนักศึกษาจากสถาบันวิทยาลัยชุมชนกรุงเทพมหานคร ผ่านการชมนิทรรศการ “หลักการทรงงาน” และนิทรรศการ “นวัตกรรมของพ่อ” ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา บุกตะลุยเข้าป่าเพื่อศึกษาระบบนิเวศวิทยาของป่าแต่ละประเภท และชีวิตของสัตว์ป่าน้อยใหญ่ที่ใช้ร่มไม้เป็นที่พักพิงในพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ต่อด้วยกิจกรรมเชือกเจ้าปัญญาที่ให้แง่คิดดีๆ ในเรื่องของการแก้ไขปัญหาจากจุดเล็ก ซึ่งเป็น 1 ใน 23 ข้อหลักการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่เริ่มต้นด้วยการมองปัญหาในภาพรวมก่อน แล้วจึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ใครหลายคนมักมองข้าม
พิพิธภัณฑ์เกษตรฯชวนช้อป ชิม งานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง 5-6 มี.ค.นี้
วันจันทร์ที่ 15 มกราคม 2567 เวลา 08.30 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวจุฑามาศ ทองชมพูนุช ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการสื่อสาร เข้าร่วมพิธีเปิดงาน "Kick Off มอบโฉนดเพื่อการเกษตร เป็นของขวัญปีใหม่ 2567 " โดยนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มอบหมายให้ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธานเปิดงาน โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมงาน จัดขึ้น ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพเสริมนอกภาคการเกษตร ต.ช้างใหญ่ อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากนโยบายรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ต้องการพัฒนาเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ให้เป็นโฉนด กระทรวงเกษตรฯ โดย ส.ป.ก. จึงได้ขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าว โดยมีคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้อาศัยอำนาจตามมาตรา 30 เห็นชอบในการพิจารณาปรับปรุงเอกสารสิทธิการใช้ประโยชน์ ส.ป.ก.4-01 ให้เป็นโฉนดเพื่อการเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าคุณสมบัติการเปลี่ยนเป็นโฉนดเพื่อการเกษตร จำนวน 2.27 ล้านแปลง เนื้อที่ประมาณ 22 ล้านไร่ เกษตรกร จำนวน 1.6 ล้านคน เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่เกษตรกรผู้ได้รับโฉนดเพื่อการเกษตร ส.ป.ก. จึงได้จัดพิธี kick off การมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร พร้อมกันทั่วประเทศ จำนวน 25,000 ฉบับ เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ ตามที่รัฐบาลได้ให้สัญญาไว้ เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรทุกคนได้ใช้ประโยชน์ สามารถนำเอกสารนี้ไปสร้างมูลค่าเพิ่มในการประกอบกิจการภาคการเกษตร ซึ่ง ส.ป.ก.จะดำเนินการมอบโฉนดเพื่อการเกษตรให้แล้วเสร็จทั่วประเทศโดยเร็ว และพร้อมที่จะเป็นกองทัพที่จะอุดหนุนทุกท่านให้อยู่ได้ อยู่ดี มีความสุขในเขตปฏิรูปที่ดินตลอดไป