มอบเงินโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
มอบเงินโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
ผักกลับหัว เทคนิคสุดเจ๋งช่วยประหยัดพื้นที่ ในกระถาง 1 ใบ สามารถปลูกผักได้ถึง 2 ชนิด ทั้งกินผล และกินใบ เผยเคล็ด (ไม่) ลับนี้ ในวันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม 2562 ในราคาพิเศษ คนละ 150 บาท เท่านั้น
สนใจสมัครกิจกรรมได้ที่ 02-529-2212-13, 087-359-7171,094-649-2333
สมัครได้ที่นี่ >>คลิก<<
มอบเงินโรงเรียนบ้านเด็กรามอินทรา
วันพุธ ที่ 10 มีนาคม 2564 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนางสาวสมพิศ วงศ์ปัญญา รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายบริหาร เข้าร่วมพิธีมอบเหรียญรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ประจำปี 2563 โดยมีดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี โดยหน่วยงานที่ชนะเลิศรางวัล King Bhumibol World Soil Day Award ประจำปี 2563 ได้แก่ สภาพัฒนาการเกษตรแห่งอินเดีย (Indian Council of Agricultural Research: ICAR) จากประเทศอินเดีย ซึ่งมีผลงานการจัดกิจกรรม “Soil health awareness week” ในมหาวิทยาลัยและสถานศึกษา เพื่อสร้างความตระหนักถึงสุขภาพของดิน และความสำคัญของการรักษาผลิตภาพดิน ควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม แต่ด้วยการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ลุกลามไปทั่วโลก และประเทศไทยอยู่ในช่วงของการเฝ้าระวังส่งผลให้การเดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรไทยมีมาตรการป้องกันเข้มงวดเพื่อป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้หน่วยงานสภาพัฒนาการเกษตรแห่งอินเดีย (ICAR-IISS) ของสาธารณรัฐอินเดีย ไม่สามารถเดินทางมาเข้ารับเหรียญรางวัลได้ จึงได้เรียนเชิญเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย Mrs. Suchitra Durai (มิสซิส สุจิตรา ดูไร) เป็นผู้แทนรับมอบเหรียญรางวัลดังกล่าวแทน ณ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ 2568 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) หรือ พกฉ. โดย พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) โดย ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ เพื่อร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งแวดล้อม และการให้บริการประชาชน โดยมีนางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายพัฒนา นายสุรวงศ์ วงษ์ศิริ รองผู้อำนวยการองค์การวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ผู้บริหารจากทั้งสองหน่วยงาน พร้อมเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา ชั้น 2 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เผยว่า “พกฉ. มีภารกิจในการเผยแพร่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตรของสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย สืบสาน รักษา ต่อยอด หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บริหารจัดการองค์กรให้เป็นพิพิธภัณฑ์แห่งการเรียนรู้ รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน เครือข่ายและภาคีความร่วมมือ รวมถึงพันธมิตรในการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ที่มุ่งเน้นให้สังคมไทยน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปรับประยุกต์ใช้ จึงเห็นความสำคัญของการสร้างความร่วมมือกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ อพวช. หรือ NSM ที่จะเข้ามามีบทบาทสำคัญในการผลักดันโครงการและกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งส่งเสริมการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมที่สามารถส่งต่อให้สังคมไทย รวมถึงการพัฒนาและผลิตบุคลากรด้านการศึกษาวิจัย และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีคุณภาพพร้อมนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ เพื่อร่วมมือขับเคลื่อนประเทศด้วยนวัตกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในอนาคต” ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) หรือ NSM กล่าวว่า “NSM มีภารกิจในการส่งเสริมสังคมไทยให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมต่อการพัฒนาประเทศ พร้อมทั้งสร้างแรงบันดาลใจให้เยาวชนและประชาชนได้สนุกไปกับการค้นพบความมหัศจรรย์ของวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม การลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือระหว่าง อพวช. และ พกฉ.ในครั้งนี้ เป็นการประสานความร่วมมือและทรัพยากรของทั้งสององค์กรเพื่อพัฒนาบุคลากร กิจกรรม และแหล่งเรียนรู้ด้านการศึกษาวิจัย และการสื่อสารวิทยาศาสตร์ โดยจะมีการจัดแสดงนิทรรศการและกิจกรรมที่น่าสนใจเพื่อให้เยาวชนและประชาชนได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของธรรมชาติต่อไป” ความร่วมมือในครั้งนี้ถือเป็นก้าวที่สำคัญในการส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมเกษตร วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งแวดล้อม และการให้บริการประชาชน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพของบุคลากร ตลอดจนสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับเยาวชน เกษตรกร ประชาชนที่สนใจในด้านเกษตรกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ พกฉ. และ อพวช. ต่างมีความคาดหวังร่วมกันโดยการใช้ทรัพยากร กิจกรรม และความสามารถจากทั้งสองหน่วยงานในการดำเนินการขับเคลื่อนตามภารกิจกรอบความร่วมมือที่กำหนดไว้เพื่อสร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่สังคม
หลักสูตรการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้” เป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีความเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพโดยสอดคล้องกับสาระวิชาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ ในรูปแบบทัศนศึกษา เรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติ และการชมฐานการเรียนรู้ทั้งในรูปแบบพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งและพิพิธภัณฑ์ในอาคาร เมื่อวันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม 2562 ที่ผ่านมาคณะครู นักเรียนจากโรงเรียนทนาพรวิทยา จ.ชลบุรี เข้าเรียนรู้ศาสตร์พระราชา ผ่านหลักสูตรสิ่งแวดล้อมสมดุลคุณค่าเศรษฐกิจพอเพียง 1 ใน กลุ่มหลักสูตรการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เริ่มต้นการเรียนรู้ด้วยการชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ชมแปลงเกษตร 1 ไร่พอเพียง ฐานการเรียนรู้เกษตรเมือง เทคนิคการปลูกผัก และการดูแลผักบนพื้นปูน พร้อมลงมือปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ก่อนที่จะเข้าพิพิธภัณฑ์ในตัวอาคารสนุกสนานกับการเล่นเกมสร้างสรรค์ความคิด “แม่น้ำรวมใจ” เกมที่สอดแทรกข้อคิดจากการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักวางแผน รู้จักการจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด จากนั้นเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา และพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ศึกษา เรียนรู้ด้วยความสนใจ สัมผัสความมหัศจรรย์ของเมล็ดพันธุ์ด้วยเทคโนโลยีแสง สี เสียง ที่ทันสมัย และไม่พลาดกับการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องเมล็ดสุดท้าย ในวันนี้น้องๆได้เรียนรู้ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติจากเมล็ดพันธุ์ สู่การอนุรักษ์พันธุกรรมด้วยการขยายพันธุ์พืชโดยใช้เทคนิคการควบแน่น เรียนรู้จากทฤษฎีสู่การสร้างสมดุลด้วยเศรษฐกิจพอเพียง สอบถามรายละเอียดได้ที่ 02-529-2212-13, 09-4649-2333, 08-7359-7171 ติดตามข้อมูลข่าวสารทาง facebook/InstagramID: wisdomkingfan และ @LineID: @wisdomkingfan
พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติ เปิดบ้านแถลงผลดำเนินงานปี65
วันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมเป็นเกียรติในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย ร้อยเอก ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกระทรวงกลาโหม โดย นายสุทิน คลังแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เรื่อง การยกระดับการพัฒนาภาคการเกษตร ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ กระทรวงกลาโหม โดยมีนายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานสักขีพยาน นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นายอนุชา นาคาศัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นสักขีพยานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พลเอก สนิธชนก สังขจันทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พลเอก โดมศักดิ์ คำใสแสง ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้แทนผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้แทนผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก พงษ์สวัสดิ์ จันทสาร ผู้แทนผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นสักขีพยานกระทรวงกลาโหม ตลอดจน นายเศรษฐเกียรติ กระจ่างวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายพีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผู้บริหารของทั้งสองหน่วยงาน เข้าร่วม ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล สำหรับขอบเขตความร่วมมือของทั้งสองฝ่าย มีรายละเอียดในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1. การรับซื้อผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร การตั้งจุดจำหน่าย และการกระจายสินค้าล้นตลาด โดยกระทรวงเกษตรฯ เสนอข้อมูลแหล่งรวบรวมผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและราคาที่เป็นธรรม โดยประสานการจัดซื้อ จัดจำหน่าย และการขนส่งผ่านสถาบันเกษตรกร และหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ที่เกี่ยวข้อง โดยกระทรวงกลาโหม พิจารณารับซื้อผลผลิตตามความต้องการของหน่วยงาน รวมทั้งสนับสนุนพื้นที่เพื่อตั้งจุดจำหน่ายและกระจายสินค้าเกษตรตามศักยภาพและความพร้อมของหน่วยงาน 2. การป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าเกษตรผิดกฎหมายตามแนวชายแดน (ด้านพืช ด้านปศุสัตว์ และด้านประมง) โดยกระทรวงกลาโหมให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนในการตรวจสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมายร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ของกระทรวงเกษตรฯ 3. การเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานในการดำเนินการพัฒนาช่วยเหลือเกษตรกรและประชาชน การดำเนินการป้องกัน ช่วยเหลือ ฟื้นฟูพื้นที่เกษตรกรรมแก่เกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน เช่น สาธารณูปโภค โครงสร้างพื้นฐาน และแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ตลอดจนการกำจัดวัชพืชและผักตบชวาเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ 4. การเสริมสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการเกษตร รวมทั้งการพัฒนาผลผลิตและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการพัฒนาพื้นที่การเกษตร ศูนย์การเรียนรู้ การฝึกอบรม การดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพกำลังพลของกระทรวงกลาโหม เกษตรกร และประชาชนทั่วไป เพื่อยกระดับการพัฒนาภาคการเกษตร