ผอ.พกฉ.เป็นประธานเปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ชิงถ้วยเกียรติยศฯ
ผอ.พกฉ.เป็นประธานเปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ชิงถ้วยเกียรติยศฯ
ผอ.พกฉ.เป็นประธานเปิดการแข่งขันโบว์ลิ่งการกุศล ชิงถ้วยเกียรติยศฯ
ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ฝนตกหนักถึงหนักมากในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นมา ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา และจังหวัดสตูล ซึ่งส่งผลให้พี่น้องประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบจากอุทกภัย ประสบปัญหาขาดแคลนอาหาร น้ำดื่ม ยารักษาโรค และสิ่งของจำเป็นในการดำรงชีวิต ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยในวันอาทิตย์ที่ 1 ธันวาคม นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันลงพื้นที่พบปะพี่น้องประชาชนที่ประสบอุทกภัยในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ระดับจังหวัด เป็นศูนย์ฯ ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ มีการประเมินสถานการณ์น้ำในจังหวัด พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการรับมือสถานการณ์อุทกภัย และสำรวจผลกระทบด้านการเกษตรเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหา รวมทั้งหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องได้เร่งเข้าให้การช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว ได้แก่ กรมชลประทาน สนับสนุนเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่ประสบอุทกภัย ดังนี้ เครื่องสูบน้ำ 96 เครื่อง เครื่องผักดันน้ำ 7 เครื่อง รถสูบน้ำเคลื่อนที่ 3 คัน รถขุด 63 คัน เรือขุด 13 ลำ เรือกำจัดวัชพืช 2 ลำ รถแทรกเตอร์ 36 คัน รถบรรทุก 70 คัน เครื่องจักรสนับสนุน 145 หน่วย กรมประมง โดยกองตรวจการประมง ระหว่างวันที่ 27 - 29 พ.ย. 2567 ได้ดำเนินการช่วยเหลือ ในพื้นที่ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดยะลา ปัตตานี นครศรีธรรมราช และจังหวัดสงขลา การให้ความช่วยเหลือ ได้แก่ จัดชุดเฉพาะกิจพร้อมเจ้าหน้าที่ 42 ชุด รถยนต์ 11 คัน เรือตรวจการประมง 7 ลำ โดยช่วยนำส่งเสบียงอาหาร และน้ำดื่ม พร้อมทั้งอพยพประชาชน ผู้ป่วย เด็กและคนชรา ในพื้นที่ประสบภัยสู่พื้นที่ปลอดภัย และ กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการช่วยเหลือในพื้นที่ อพยพสัตว์ 200,704 ตัว รักษาสัตว์ 140 ตัว ส่งเสริมสุขภาพสัตว์ 79 ซอง ถุงยังชีพสัตว์ 73 ถุง หญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 66,500 กิโลกรัม เป็นต้น ขณะเดียวกัน ได้จัดตั้งจุดโรงครัวเพื่อผลิตอาหารแจกจ่ายแก่ผู้ประสบอุทกภัย ดังนี้ 1. สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดยะลา อาคารส่วนขยาย ชั้น 1 ศาลากลาง จังหวัดยะลา โทร 0-7322-1711 2. สำนักงานสหกรณ์จังหวัดนราธิวาส อ.เมือง จ.นราธิวาส โทรศัพท์ : 0-7351-1378 3. การยางแห่งประเทศไทย จังหวัดสตูล อ.เมือง จ.สตูล โทรศัพท์ : 0-7471-1378 4. สำนักงานเกษตรอำเภอเมืองพัทลุง อ.เมือง จ.พัทลุง โทรศัพท์ : 0-7461-3193 5. สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดนครศรีธรรมราช อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช โทรศัพท์ : 0-7535-6254, 0-7535-6454 6. สำนักงานเกษตรอำเภอปะนาเระ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี โทรศัพท์ : 0-7346-6062 7. สถานีพัฒนาที่ดิน อ.จะนะ จ.สงขลา โทรศัพท์ : 0-7489-4300 นอกจากนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยังได้เปิด “ศูนย์รับบริจาคเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ ปี 2567” เพื่อเป็นศูนย์รับบริจาคเครื่องอุปโภคบริโภค เช่น ข้าวสาร อาหารแห้ง อาหารกระป๋องพร้อมทาน เครื่องปรุงรส หรือน้ำมันพืช ยาสามัญประจำบ้านและเวชภัณฑ์ อุปกรณ์ทำความสะอาด ถุงบรรจุของยังชีพ ฯลฯ เพื่อดำเนินการจัดส่งไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ โดยผู้ที่สนใจสามารถบริจาคสิ่งของดังกล่าวได้ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก ห้องประชุม 115 อาคาร 1 ชั้น 1 ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567 ในเวลาทำการ เป็นต้นไป กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ขอเชิญชวนร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือพี่น้องผู้ประสบอุทกภัยภาคใต้ปี 2567 โดยสามารถบริจาคเงินผ่านบัญชีธนาคารกรุงไทย สาขาถนนวิสุทธิกษัตริย์ ประเภทบัญชีกระแสรายวัน ชื่อบัญชี “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติภาคใต้” เลขที่บัญชี 006-0-26077-7
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปทุมธานี จัดทัพนิทรรศการสัญจร ครั้งที่ 5 ภายใต้คอนเซปต์ Farm in the city ยกพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เข้าห้างสรรพสินค้า นำองค์ความรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับคนในเมือง และคนที่มีพื้นที่จำกัด อาทิ การปลูกผักจากวัสดุเหลือใช้ การปลูกผักแนวตั้ง การปลูกผักกลับหัว การปลูกผักบนดาดฟ้า การปลูกผักในท่อ PVC การปลูกผักในกระสอบ เต็มอิ่มกับสาระความสนุกทะลุจอกับภาพยนตร์แอนิเมชั่น พร้อมโรงภาพยนตร์ 2 มิติ มินิขนาดความจุ 15 ที่นั่ง และจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรคุณภาพ ผลิตภัณฑ์แปรรูป รวมถึงผลิตภัณฑ์ของใช้ต่างๆ จากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ พิเศษกับกิจกรรม “เพาะแจกแลกเปลี่ยน” ร่วมส่งต่อพันธุกรรมพื้นบ้าน จุดเริ่มต้นของการอนุรักษ์ เพียงนำวัสดุเหลือใช้มาแสดง ก็รับพันธุ์ไม้กลับบ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถเดินทางเข้ามาเรียนรู้และเลือกซื้อสินค้าคุณภาพสดใหม่ ราคาพิเศษได้ตลอดทุกวัน ตั้งแต่วันที่ 14 – 21 มกราคม 2565 ณ บริเวณชั้น 2 ฝั่ง ZPELL ศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต ปทุมธานี หรือสอบถามได้ที่ โทร 02 529 2212-13 , 094-331-7444
วันเสาร์ที่ 17 กรกฎาคม 2564 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง online "หลักสูตร online เกษตรลงมือทำ" ผ่านระบบ Application Zoom ให้กับโรงเรียนอนุบาลวัดบางนางบุญ จ.ปทุมธานี นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 โดยจัดให้มีการชมภาพยนตร์แอนิเมชั่น 2 มิติ พร้อมเรียนรู้การลงมือปฏิบัติขยายพันธุ์พืชแบบควบแน่น กิจกรรมการเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ พิเศษสำหรับโรงเรียนสถาบันการศึกษา หน่วยงานที่เคยเข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ สนใจสมัคร คลิก https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScwx3E5KvvmHm0g198MaK8r6kebVwsDGkL7YS1boCnvjFEuyQ/viewform?fbclid=IwAR3oa9YrGQB_whqg7Hw2tC5y6tyi54JZX8v3zqtN-bDMZCJF5njfA4chQRs
เรียนฟรี เก็บเกี่ยวองค์ความรู้ดีๆ จากปราชญ์เกษตร ในงานมหกรรมในหลวงรักเรา "ภูมิพลังแผ่นดิน" ระหว่างวันที่ 3 - 6 ธันวาคม 2564 อบรมฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ 2 ช่องทาง ทั้งในห้องเรียน และทางออนไลน์ 1. เข้าร่วมอบรมในรูปแบบ Onsite เปิดให้ลงทะเบียนหน้าห้องอบรมเท่านั้น 2. รับชมการถ่ายทอดสด ได้ทาง Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมออนไลน์ได้ที่ https://forms.gle/1bqyGowx3Kooh1pG8 สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
ท่องเที่ยววิถีเกษตรไทย เติมประสบการณ์ความสุขในวันหยุดสุดสัปดาห์กับกิจกรรมท่องเที่ยว "วิถีเกษตรไทย" ที่เหมาะสำหรับทุกคนในครอบครัว นั่งชิลล์รับลมบนรถรางนำชมแปลงต้นแบบการทำเกษตรพอเพียงโดยรอบพื้นที่ฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง พร้อมแวะถ่ายภาพ ป้อนอาหาร สัตว์เลี้ยงในวิถีเกษตรบริเวณ mini zoo ทักทายน้องหมู น้องไก่ ที่คอยออกมาต้อนรับ และสร้างรอยยิ้มให้กับทุกคนที่มาเยี่ยมชม สำหรับใครที่อยากสัมผัสกับประสบการณ์ความสุขแบบวิถีเกษตรสามารถเข้ารวมกิจกรรมกับกิพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ได้เป็นประจำทุกวันเสาร์และอาทิตย์สอบถามข้อมูลได้ทาง 02-649- 2333, 087-359-7171