กลุ่มเกษตรกรทำนา นาโส่" ขับเคลื่อนงานตลาดสีเขียว
กลุ่มเกษตรกรทำนา นาโส่" ขับเคลื่อนงานตลาดสีเขียว
วันที่ 22 เมษายน 2565 พลอากาศเอกเสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้เกียรติต้อนรับคณะเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จากกรมการเงินทหารอากาศ ข้าราชการทหารการเงิน จำนวน 35 นาย เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านหลักสูตรเกษตรสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนรู้ในระยะเวลา 2 ชั่วโมง โดยเลือกเข้าชมพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ผ่านฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง และลงมือปฏิบัติปลูกผักบนพื้นปูน พร้อมทั้งชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา ถือเป็นการเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพพระมหากษัตริย์ไทย ด้านการเกษตร สู่กลุ่มข้าราชการอีกหนึ่งกลุ่มเป้าหมายที่เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน และเผยแพร่หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สังคมในอนาคต
กลุ่มเกษตรกรทำนา นาโส่" ขับเคลื่อนงานตลาดสีเขียว
วันที่ 4 – 5 พฤษภาคมนี้ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จ.ปทุมธานี ชวนเที่ยวงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “เรื่องข้าวชาวเกษตร” จัดเต็มองค์ความรู้ด้านข้าว เรียนรู้ความสำคัญของข้าวที่เป็นอาหารหลักของคนไทย ที่เชื่อมโยงวิถีเกษตรไทย วัฒนธรรมที่อยู่คู่กับคนไทย มาอย่างยาวนาน ภายในงานพบกับนิทรรศการ “เรื่องเล่าของข้าว จากปลูกสู่ปาก” บอกเล่าความสำคัญ ของพันธุกรรมข้าวพื้นบ้านจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นิทรรศการ “จากเมล็ดข้าวสู่ขนมปัง” การแปรรูปข้าวเป็นแป้งขนมปังในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการแปรรูปข้าวเพื่อเพิ่มมูลค่าและสร้างรายได้ พร้อมการอบรมวิชา ของแผ่นดินและการอบรมเชิงปฏิบัติการ 8 วิชา โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ชม ช้อป สินค้าผลิตเกษตรจากเครือข่าย และภาคีความร่วมมือทั่วประเทศ ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กล่าวว่า “การเกษตรถือเป็นรากฐานสำคัญของประเทศไทย เพราะคนไทยส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีพระมหากษัตริย์ที่ทรงให้ความสำคัญกับภาคการเกษตรตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเกษตรกรส่วนใหญ่ เลือกเพาะปลูกข้าว ซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทย ที่อยู่กับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด และในทุกๆ ปี ประเทศไทยจะมีพระราชพิธีอันเป็นมงคลแห่งการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูก คือ พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรชาวไทย ซึ่งจัดขึ้นช่วงเดือนหก หรือประมาณเดือนพฤษภาคมของทุกปี เพื่อเป็น การเชิดชูเกียรติเกษตรกรไทย พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จึงจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “เรื่องข้าวชาวเกษตร” ขึ้นเพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และนำเสนอสินค้า ผลผลิตปลอดภัย ไปสู่ประชาชนคนไทยต่อไป” ภายในงานนำเสนอองค์ความรู้จาก นิทรรศการ “เรื่องเล่าของข้าว จากปลูกสู่ปาก” จัดแสดงความหลากหลายของสายพันธุ์ข้าวพื้นบ้านของไทยที่อุดมด้วยคุณค่าทางอาหาร และประโยชน์มากมาย นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “จากเมล็ดข้าวสู่ขนมปัง” การสร้างสรรค์และยกระดับข้าวพื้นบ้าน สู่การแปรรูปข้าว เพื่อเพิ่มมูลค่า พลาดไม่ได้กับการอบรมวิชาของแผ่นดินและอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 8 หลักสูตร เรียนรู้ได้ทั้ง Onsite และ Online ฟรี อาทิ หลักสูตรเส้นทางข้าวไทย โดยอาจารย์แก่นคำหล้า พิลาน้อย กลุ่มชาวนาไทอีสาน จ.ยโสธร หลักสูตร เตาหุงข้าวพลังแสงอาทิตย์ โดยอาจารย์คมสัน หุตะแพทย์ ผู้อำนวยการชุมชนนิเวศสันติวนา กรุงเทพฯ หลักสูตรสู้ภัยแล้ง ด้วยธนาคารน้ำใต้ดิน อาจารย์จรังศรี มาดีสุขสถิตย์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ชัยภูมิ เป็นต้น ชม ชิม ช้อปสินค้าเกษตรปลอดภัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม กว่า 100 ร้านค้า จุใจ ทั้งของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูป ต้นไม้พันธุ์ไม้ โดยเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ในราคามิตรภาพ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
เดือนพฤษภาคมนี้ ต้อนรับเปิดเทอมกับกิจกรรม "กษัตริย์แห่งการเกษตร" ร่วมเป็นส่วนสำคัญในการถ่ายทอดเรื่องราวความประทับใจ ผ่านกิจกรรมดีๆ ทั้งสายชิล สายครอบครัว สายถ่ายภาพ พร้อมรับของที่ระลึกสุดพิเศษ ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2565 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี กิจกรรมที่ 1. ส่งต่อภาพถ่ายพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร - เลือกถ่ายภาพความประทับใจคู่กับ พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ , เรือขุด รข.1 , เคียวเกี่ยวข้าว , กังหันน้ำชัยพัฒนา - โพสต์ภาพเป็นสาธารณะ ติด #wisdomkingmuseum และ #กษัตริย์เกษตร ลงบน Facebook หรือ Instagram พร้อม Check in พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ กิจกรรมที่ 2. สืบสานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ - ซื้อบัตรเข้าชมพิพิธภัณพ์ในหลวงรักเรา พร้อมกดติดตาม Instagram หรือ TikTok พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ แสดงหลักฐานการเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อรับของที่ระลึกที่จุดประชาสัมพันธ์ เส้นทางสืบสาน รักษา ต่อยอด wisdom farm หรือจุดประชาสัมพันธ์พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ตั้งแต่วันนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2565 (ด่วน !! ของมีจำนวนจำกัด)สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 02 529 2212 ,094 649 2333 ,087 359 7171
วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ร่วมออกบูธนิทรรศการสัญจร ภายในงานวันวิชาการ “นิพิทตน นิพนธ์ฝัน ทัศน์มันตา” ณ โรงเรียนโสมาภาพัฒนา คลองสามวา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภารกิจ กิจกรรมและกิจการต่างๆ ของทางพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ รวมถึงการส่งเสริมให้ผู้ร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้เรื่องราวของการทำการเกษตร ทั้งนี้ได้มีการจัดกิจกรรมให้กับนักเรียน ผ่านการลงมือปฏิบัติการทำเกษตร การขยายพันธุ์พืช (ควบแน่น) ที่ผู้เรียนรู้สามารถนำไปต่อยอดได้
วันเสาร์ที่ 23 เมษายน 2565 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จัดกิจกรรมท่องเที่ยวสุขสันต์ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ผ่านหลักสูตรย่ำดิน ปั้นก้อน สร้างบ้าน เรียนรู้รูปแบบการสร้างบ้านดินเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ขั้นตอนการย่ำดิน การทำก้อนดิน การก่อตัวบ้านไปจนถึงการฉาบผนังและตกแต่งบ้านดินให้สวยงาม สำหรับช่วงบ่ายเข้าเรียนรู้ต่อที่พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา พร้อมชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ ถือว่าสนุก ครบรสกับกิจกรรม One day Trip กิจกรรมดีๆ สำหรับทุกคนในครอบครัว โดยจัดขึ้นทุกวันเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 3 และ 4 ของเดือน สำหรับครอบครัวไหนสนใจสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02 529 2212 ,094 649 2333 ,087 359 7171
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ขอเชิญเที่ยวงาน ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “เกษตร D.I.Y . Online By Onsite" วันที่ 5 – 6 กุมภาพันธ์ 2565 ระหว่างเวลา 08.00 – 17.00 น. ณ เส้นทางสืบสาน รักษา ต่อยอด Wisdom Farm พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี . เรียนรู้และฝึกปฏิบัติด้านการเกษตรไปกับ องค์ความรู้ วิชาของแผ่นดิน ชม ช้อป ตลาดต้นไม้ และสินค้าเกษตรคุณภาพจากเครือข่าย กว่า 30 ร้านค้า ???? สนุกสนานกับเกมเกษตรหรรษา อาทิ จักรยานสูบน้ำ ขดลวดโซล่าเซลล์ สอบถามรายละเอียด 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum