พกฉ.ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดงานรำลึก "คนดี ๆ ที่จากไป" ครั้งที่ 14
พกฉ.ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดงานรำลึก "คนดี ๆ ที่จากไป" ครั้งที่ 14
ยินดีต้อนรับน้องๆ จากโรงเรียนวัดธรรมศาลา และโรงเรียนท่าหลวงวิทยานุกุล ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสืบทอดความดีและสานต่อเรื่องราวกษัตริย์นักพัฒนาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ผ่านการเรียนรู้ที่ทั้งสนุกและได้เพิ่มพูนประสบการณ์ด้านการทำเกษตรจากการเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมีหลักสูตรให้เลือกหลากหลาย
ซึ่งวันนี้น้องๆ แต่ละโรงเรียน ได้เรียนรู้เรื่องหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ผ่านการลงมือปฎิบัติจริงด้วยตนเองที่บริเวณพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง "นวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง" ในการ "ปลูกผัก 1 ตารางเมตร" วิธีการปลูกผักแนวใหม่สำหรับครอบครัวที่มีพื้นที่จำกัด ตระการตากับเมล็ดพันธุ์กว่า 10,000 เมล็ด และสมุนไพรนานาชนิดที่เติบโตอยู่สวนหลังบ้านของแต่ละภูมิภาคใน "พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม"
ผจญภัยกับเหล่าสัตว์ตัวเล็กตัวน้อย พร้อมเรียนรู้ระบบนิเวศวิทยาผ่านป่าจำลองเสมือนจริงที่มีอยู่ใน "พิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร" และสนุกตื่นเต้นไปกับภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ หลากเรื่องหลายรส
พกฉ.ร่วมกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดงานรำลึก "คนดี ๆ ที่จากไป" ครั้งที่ 14
ประกาศคณะอนุกรรมการสรรหาผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่อง รายชื่อผู้มีสิทธิเข้ารับการสัมภาษณ์เพื่อเข้าดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ขอเชิญเที่ยวงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ศิลป์เกษตร วันที่ 3 – 4 มิถุนายน 2566 รวมพลเกษตรกรตัวอาร์ต พบกับศิลปะในวิถีเกษตร DIY วัสดุเหลือใช้มาตกแต่งสวน พร้อมเคล็ดลับการเกษตรต้อนรับหน้าฝน ตั้งแต่เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี ชม ช้อป จุใจ เลือกซื้อสินค้าเกษตรปลอดภัย ผลิตผลเกษตรอินทรีย์มีคุณภาพ จากเกษตรกรตัวจริง นำมาจัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ และพลาดไม่ได้ เติมเต็มองค์ความรู้ตลอด 2 วันเต็มแบบไม่มีค่าใช้จ่าย ได้ที่ห้องอบรมวิชาของแผ่นดิน หรือรับชมผ่าน youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯลงทะเบียนอบรมออนไลน์ล่วงหน้าได้ที่ https://forms.gle/TkoEFo4D79siD47s7ติดต่อสอบถามโทร 0-2529-2212-13 หรือ 087-359-7171 , 094-649-2333
ฝึกอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี เตรียมจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “จากราก สู่รุ่น” สืบสานและส่งต่อภูมิปัญญาไทยด้านการเกษตรจากอดีตสู่ปัจจุบัน นำเสนอภูมิปัญญาดั้งเดิมสร้างสรรค์สู่นวัตกรรมใหม่ ให้สอดคล้องกับยุคสมัย ภายในงานจะได้พบกับนิทรรศการและกิจกรรมที่สะท้อนภูมิปัญญาพื้นบ้านและวิถีชีวิตของเกษตรกรไทย พร้อมอบรมวิชาของแผ่นดิน และWorkshop โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ทั้งในรูปแบบ Onsite และ Online ชม ช้อป ผลผลิตเกษตรปลอดภัยจากร้านค้าเกษตรกรเครือข่ายกว่า 100 ร้าน ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จ.ปทุมธานี นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ และโฆษกสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “จากราก สู่รุ่น” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเผยแพร่และถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการเกษตรของประเทศไทย ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยนำเสนอพัฒนาการของเครื่องมือและอุปกรณ์การเกษตรที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการทำเกษตรกรรม การจัดงานครั้งนี้ มุ่งเน้นการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ ภายในงานจัดแสดงเครื่องมือการเกษตรแบบดั้งเดิมควบคู่กับเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อยกระดับการทำเกษตรในยุคปัจจุบันให้มีความยั่งยืนมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างเกษตรกรรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จในการทำเกษตร จุดประกายความคิดและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเยาวชนคนรุ่นใหม่ในการสานต่อการทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำไปสู่การพึ่งพาตนเองและการสร้างความมั่นคงทางอาหารในอนาคต” นิทรรศการจากภูมิปัญญา สู่นวัตกรรมเกษตรอัจฉริยะ นำเสนอองค์ความรู้ภูมิปัญญาเก่าสู่การประยุกต์เป็นนวัตกรรมเพื่อการทำเกษตร โดยเฉพาะเครื่องมือในการสูบน้ำ ที่เป็นนวัตกรรมสำคัญที่ช่วยประหยัดเวลาในการทำการเกษตร ในระดับภูมิปัญญาพื้นบ้าน สู่การนำระบบเทคโนโลยี IOT มาใช้ประโยชน์ในปัจจุบัน นิทรรศการจากเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ “ทฤษฎีของพ่อ ส่งต่อรุ่นลูก” บอกเล่าเรื่องราวการทำเกษตรตามรอยพ่อ พออยู่ พอกิน พอเพียง การสร้างแรงบันดาลใจจากการเรียนรู้อย่างใกล้ชิดจากปราชญ์เกษตรของแผ่นดิน “ พ่อจันทร์ที ประทุมภา ”พ่อผู้สร้างความมั่นคงทางอาหาร ด้วยเกษตรแบบผสมผสาน ลดต้นทุนด้วยการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพใช้เอง และแบ่งปันองค์ความรู้สู่ชุมชน พิเศษภายในงาน พบกับ Workshop ตลอดทั้ง 2 วัน โดยไม่มีค่าใช้จ่าย อาทิ การทำน้ำมันว่าน 108 เทคนิควิธีการตอนกิ่งผักหวานป่าการทำข้าวเกรียบผักหวานป่า สร้างรายได้ และเทคนิคการปลูกและเรียนรู้สรรพคุณของสมุนไพรว่าน ห้ามพลาดกับการอบรมวิชาของแผ่นดิน และWorkshop 8 วิชา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายทั้ง Onsite และ Online อาทิ หลักสูตร รู้ รักษา พัฒนาพันธุ์ และหลักสูตร Breeding พันธุ์ฟักทอง โดยอาจารย์ปฏิภาณ ฤทธิ์นอก หลักสูตร วนเกษตร 3 รุ่น โดยอาจารย์ศักดิ์ชัย ชาตาดี หลักสูตร จากรากเก่า สู่รุ่นใหม่ โดยอาจารย์วิชิต ประทุมภา และหลักสูตร กลับบ้าน สร้างสุข โดยอาจารย์ชื่นกมล ปิ่นธุลี และอาจารย์เอ๋ ก้านศรี นอกจากนี้พบกับสินค้าเกษตรปลอดภัย กว่า 100 ร้าน ให้ ชม ช้อป จุใจ ทั้งของกิน ของใช้ ผลิตภัณฑ์แปรรูปต้นไม้ โดยเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ นำมาจัดจำหน่ายในราคามิตรภาพ กิจกรรมเพาะ แจก แลก เปลี่ยน ส่งต่อพันธุ์ไม้ ให้กับผู้เข้าร่วมงานนำไปดูแลต่อที่บ้าน เปิดเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร และเพลิดเพลินกับการชมภาพยนตร์ 3 มิติ ในราคาพิเศษ มาพบกันที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จังหวัดปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Instagram /Line ID : @wisdomkingmuseum
วันที่ 14 สิงหาคม 2567 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ร่วมกิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์ในงาน สีสรรพรรณไม้ เทิดไท้บรมราชินีนาถ ครั้งที่ 16 ประจำปี 2567 โดยร่วมทำความสะอาดบริเวณพื้นที่จัดนิทรรศการของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และส่งมอบพื้นที่คืนให้กับมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โดยกิจกรรมจิตอาสาในครั้งนี้ สืบเนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรีได้เชิญชวนหน่วยงานภาครัฐจัดกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศล เฉลิมพระเกียรติฯ ในเดือนสิงหาคม 2567 ตามความเหมาะสม โดยนายกรัฐมนตรีได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท และขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตดำเนินการจัดกิจกรรมจิตอาสา บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และบำเพ็ญสาธารณกุศลเฉลิมพระเกียรติฯ เพื่อเป็นการน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมถึงเพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกและเสริมสร้างทัศนคติการเป็นจิตอาสา เน้นการทำกิจกรรม สาธารณประโยชน์ โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน