พกฉ.ร่วมพระราชพิธีพืชมงคล ปี 2566
พกฉ.ร่วมพระราชพิธีพืชมงคล ปี 2566
พกฉ.ร่วมพระราชพิธีพืชมงคล ปี 2566
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปทุมธานี ยิ้มร่ารับปี 2565 ผ่านการรับรองด้วยเครื่องหมายมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย "SHA Plus" มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยสำหรับกิจการด้านการท่องเที่ยว ในปี 2565 สร้างความมั่นใจให้กับผู้เข้ารับบริการ โดยพร้อมให้บริการแก่ ประชาชนทั่วไป หน่วยงานสถานศึกษา และหน่วยงานต่างๆ เข้าเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และสืบสาน รักษา ต่อยอด พระราชปณิธานแห่งความพอเพียง กันทั้งในรูปแบบ Onsite และ Onlineพลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid - 19 ในขณะนี้ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ได้มีการปรับรูปแบบกิจกรรมและการบริการ ให้สอดรับกับการดำเนินชีวิตวิถีใหม่ หรือ New Normal โดยยังคงขับเคลื่อนภารกิจการเผยแพร่พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพ หลักปรัชญาของเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงของกษัตริย์เกษตร ไปสู่ประชาชนคนไทยทั่วประเทศ ทั้งรูปแบบ Onsite เรียนรู้บนพื้นที่จริงในพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ กว่า 374 ไร่ โดยในส่วนของพื้นที่ให้บริการของทางพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ยังคงรักษามาตรการเฝ้าระวัง และป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส Covid – 19 ปฏิบัติโดยยึดหลัก DMHTT มาอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่มาเข้าเรียนรู้ในพื้นที่ ด้วยเครื่องหมาย SHA มาตรฐานความสะอาดหรือความปลอดภัยด้านสุขอนามัย และอีกหนึ่งเครื่องหมายรับรองในปี 2565 การันตีด้วยเครื่องหมาย SHA Plus จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และกระทรวงสาธารณสุข อีกหนึ่งมาตรฐานที่รับรองว่าบุคลากรจากสถานประกอบการ มีการเข้ารับวัคซีนครบโดสตามที่กำหนด มากกว่า 70% เพื่อให้ผู้ที่เข้ามาใช้บริการ และเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงด้านการเกษตร มั่นใจในความปลอดภัยได้อย่างเต็มที่ รวมถึงรองรับรูปแบบการเรียนรู้ผ่านช่องทาง Online ซึ่งก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากกลุ่มหน่วยงานสถาบันการศึกษาจากทั่วประเทศ”สำหรับกิจกรรมต่างๆ ที่จัดมาให้เลือกเรียนรู้กันอย่างเต็มที่ ผ่านโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถาบันการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนทั่วไป ที่สนใจเข้ามาเรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของพระมหากษัตริย์ไทยและบรมวงศานุวงศ์ ด้านการเกษตร ในรูปแบบหมู่คณะทั้งในรูปแบบ Onsite ที่มีให้เลือกเรียนรู้กว่า 13 หลักสูตร และ Online 2 หลักสูตร สามารถสมัคร และดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ทางเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ www.wisdomking.or.thกิจกรรม One day trip “ท่องเที่ยวสุขสันต์ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ” ร่วมสร้างความสัมพันธ์และความสุขกับคนในครอบครัว ผ่านการเรียนรู้และสัมผัสกับประสบการณ์จริงด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงจากการลงมือปฏิบัติ จัดขึ้นเป็นประจำทุกเสาร์ อาทิตย์ สัปดาห์ที่ 2 3 และ 4 ของเดือนสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/InstagramID: wisdomkingmuseum และLine ID: @wisdomkingmuseum
วันศุกร์ที่ 5 มกราคม 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2567 ณ ฟาร์มโคนมไทย-เดนมาร์ค องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยมี นายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม และประชาชนร่วมรับเสด็จ โดยในส่วนของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นายอร่าม แก้วนิล ผู้อำนวยการสำนักนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเฝ้าฯ รับเสด็จในครั้งนี้ด้วย สำหรับงานเทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2567 มีการจัดพื้นที่ให้ผู้เกี่ยวข้องในวงการโคนมและอุตสาหกรรมนมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี ความรู้ วิชาการด้านการเลี้ยงและการผลิต ระหว่างบุคคลในวงการร่วมกัน ซึ่งกิจกรรมมที่น่าสนใจภายในงาน ได้แก่ การจัดแสดงเวทีความก้าวหน้าของวิทยาการด้านการเลี้ยงโคนมและอุตสาหกรรมโคนมผ่านนิทรรศการตัวอ่อนโคพันธุ์เรดเดน ประเทศเดนมาร์กคลินิกเครื่องรีดนม โครงการ อ.ส.ค. รักนม รักฟาร์ม ยกระดับฟาร์มโคนม เป็น Smart Farmer รวมถึงมีการแสดงความสามารถในการปรับปรุงพันธุ์โคนม การแสดงศักยภาพในการให้ผลผลิตน้ำนมดิบของโคนมไทยจากเกษตรกรไทย ซึ่งสามารถเพิ่มมูลค่าให้พันธุกรรมโคนมสูงมากขึ้น ภายใต้การประกวดโคนมครั้งที่ 39 จำนวน 7 ประเภทชิงถ้วยพระราชทาน ในส่วนงานสัมมนาวิชาการมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ สถานการณ์อุตสาหกรรมโคนมภายใต้วิกฤติโลกและแนวทางการปรับตัวของภาคเกษตรกรไทย ฟาร์มโคนม BCG นวัตกรรมสู่ชุมชนคาร์บอนต่ำและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน นวัตกรรมลดต้นทุนค่าอาหารรองรับผลกระทบ FTA โคนมไทยหลังปี 2568 การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโคนมด้วยงานวิจัย เป็นต้นจึงขอเชิญชวนประชาชนและเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมงาน “เทศกาลโคนมแห่งชาติ ประจำปี 2567” ระหว่างวันที่ 5 - 14 มกราคม 2567 ณ บริเวณเชิงเขาตาแป้น (ฟาร์มโคนมไทย-เคนมาร์ค) อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม 2565 พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ เทพทวี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ ร่วมงานพิธีเปิดนิทรรศการดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน “(Digital Pop)” โดยมี นายชัยวุฒิ ธนาคมนุสรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธานเปิดงานในพิธี ณ พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (อพวช.) ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี นิทรรศการ “ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” ผู้เข้าชมจะได้เรียนรู้เรื่องราวในการพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งจัดแสดงในรูปแบบที่ทันสมัย ออกแบบอย่างสวยงามในแนว Pop Art เน้นการมีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน ผ่านชิ้นงานมัลติมีเดีย (Multimedia) และสื่อปฏิสัมพันธ์ (interactive stations) ผสมผสานด้วยชิ้นงานจัดแสดงที่เน้นของจริงและเทคโนโลยีล้ำสมัย ตื่นตาตื่นใจไปกับ “คอมพิวเตอร์เครื่องแรกของประเทศไทย” และพลาดไม่ได้ที่จะชวนคุณไปทำความรู้จักกับ “Unitree” หุ่นยนต์สุนัขตรวจการณ์อัจฉริยะ ซึ่งในนิทรรศการฯ จะแบ่งออกเป็นทั้งหมด 7 โซนด้วยกัน ได้แก่ 1.คอมพิวเตอร์ (Computer) : เรียนรู้พัฒนาการของเครื่องคอมพิวเตอร์และบุคคลสำคัญที่เกี่ยวข้อง 2.ตรรกศาสตร์และอัลกอริทึม (Logic and Algorithm) : เรียนรู้ตรรกศาสตร์และอัลกอริทึมกับการทำงานของคอมพิวเตอร์ 3.การเข้ารหัส (Coding) : มาทำความรู้จัก Coding 4.การเขียนโปรแกรม (Programming) : เรียนรู้การเขียนโปรแกรมเพื่อสร้างระบบสมองกล 5.คอมพิวเตอร์เชิงควอนตัม (Quantum Computer) : มาทำความเข้าใจความหมายของคอมพิวเตอร์ในเชิงควอนตัม 6.ทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Literacy) : รู้จักประโยชน์ของทักษะความเข้าใจเทคโนโลยีดิจิทัลและแนวโน้มของสังคมดิจิทัลในอนาคต และ 7.ฮัลโหล, เวิลด์ (Hello, World) : มารู้จักประวัติภาษาคอมพิวเตอร์อย่าง สำหรับผู้เข้าชมที่สนใจชมนิทรรศการ “ดิจิทัลเทคโนโลยีเพื่อสังคมที่ยั่งยืน” สามารถเข้าชมได้ ณ โถงนิทรรศการชั้น 1 พิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ อพวช. ต.คลองห้า อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี เปิดให้บริการทุกวันพุธ – ศุกร์ เวลา 09.30 -16.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.30 -17.00 น. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทร 0-2577-9999 ต่อ 2122, 2123 หรือ www.nsm.or.th
วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 คณะครูเเละน้องๆจากโรงเรียนสตรีวัดระฆัง เข้าเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ ในหลักสูตร ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตร เศรษฐกิจพอเพียง ช่วงเช้าเริ่มต้นด้วยกิจกรรมเรียนรู้ในพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง ชมฐานเกษตรพอเพียงเมือง เทคนิคการปลูกผักสำหรับคนเมืองที่มีพื้นที่จำกัด ฐานวิถีเกษตรไทย 4 ภาค เรียนรู้วิถีของเกษตรกรไทย ฐาน 1 ไร่พอเพียง การจัดสรรพื้นที่ 1 ไร่ ตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ ก่อนลงมือฝึกปฏิบัติทำนาดำ นาโยนกล้า ช่วงบ่ายฝึกทักษะการวางแผน ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิด รากฐานแห่งความมั่นคง ให้ข้อคิดกับน้องๆในเรื่องความพอประมาณในชีวิต ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ก่อนเดินชม นิทรรศการภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการ ดิน น้ำ ป่า และคน ผ่านโซนวิถีเกษตรของพ่อต่อด้วยเรียนรู้การทรงงานการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ผ่านโซนหลักการทรงงาน เเละโซนกษัตริย์ เกษตร ปิดกิจกรรมกับการชมภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชั่น 3 มิติเรื่องของพ่อในบ้านของเรา สอบถามรายละเอียดโทรศัพท์ 02-529-2212-13,087-359-7171,094-649-2333 Facebook /InstagramID : wisdomkingfan Line ID : @wisdomkingfan
วันที่ 23 กันยายน 2566 พลอากาศเอกเสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้นายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ ร่วมพิธีเปิดกิจกรรม "เยือนวังเก่า เล่าวันวาน ผ่านสำรับอาหาร" กลุ่มปริมณฑล จังหวัดนครปฐม ปทุมธานี นนทบุรี และสมุทรปราการ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23-27 กันยายน 2566 ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวโบราณสถานเชิงสถาปัตยกรรมกลุ่มจังหวัดภาคกลาง ปริมณฑล ประจำปี 2566 โดยมีนายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม เป็นประธานในพิธีเปิด ณ บริเวณศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม โดยการจัดงานในครั้งนี้เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ให้นักท่องเที่ยวและผู้เดินทางรู้จักและเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น นอกจากนั้น ยังเป็นการเพิ่มรายได้จากการท่องเที่ยวในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล โดยเชื่อมโยงการท่องเที่ยวกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม พื้นที่ และผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายเงินของนักท่องเที่ยวให้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งยังเป็นการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว กิจกรรมการท่องเที่ยว ประวัติศาสตร์ ประเพณี และผลิตภัณฑ์ของดีในกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และส่งเสริมและประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงอาหารของกลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล