มหกรรมสืบสานงานพ่อ
มหกรรมสืบสานงานพ่อ
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) ขอเชิญทุกท่านร่วมงาน ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง "พันธุกรรมไทยใต้น้ำ" จัดเต็มองค์ความรู้ แบบไม่มีกั๊ก ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดิน และอบรมเชิงปฏิบัติการ 8 หลักสูตร อาทิ หลักสูตร การเพาะขยายพันธุ์ปลาเศรษฐกิจ โดยอาจารย์สงบ ศรีเมือง และ ดร.สุภาพร สัตตัง อาจารย์ประจำสาขาประมง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี หลักสูตร เลี้ยงง่าย ขายดี หอยเชอรี่สีทอง หลักสูตร หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด โดยอาจารย์อรรถพล แก้วอำไพ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดสระบุรี และหลักสูตรขนมปังแป้งข้าวพื้นบ้าน โดยอาจารย์รัญญา นวลคง เจ้าของเพจ Pung Craft จากจังหวัดพัทลุง เป็นต้น ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี เรียนรู้กันทั้งในรูปแบบ Onsite ณ ห้องอบรม ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง หรือรับชม ในรูปแบบ Online ผ่านทาง Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ
ลงทะเบียนอบรมออนไลน์ก่อนใคร ได้ทาง https://forms.gle/YNrxsHjwYrVr1QcGA สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
มหกรรมสืบสานงานพ่อ
ธารน้ำใจ ช่วยภัยน้ำท่วม
พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี ขอเชิญทุกท่านร่วมเทิดพระเกียรติ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักอนุรักษ์ ในงานมหกรรม "จากพันธุกรรม สู่ความยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 5 - 7 เมษายน 2567 ตั้งแต่เวลา 08.00- 17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานีจัดเต็มองค์ความรู้ แบบไม่มีกั๊ก ผ่านการอบรมวิชาของแผ่นดิน และอบรมเชิงปฏิบัติการ 12 หลักสูตร อาทิ หลักสูตร นานาสายพันธุ์กาแฟ โดยอาจารย์สุทิศา พรมชัยศรี เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ชุมพร หลักสูตรเทปาเช่ เครื่องดื่ม โปรไบโอติก สไตล์ แมกซิกัน อาจารย์สายชล ธำรงโชติ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.ชัยนาท หลักสูตรพันธุรรมว่านไทย อาจารย์สุวัฒนชัย จำปามูล เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครราชสีมา และหลักสูตรเห็ดเจ็ดชั่วโคตร ผศ.ดร.อุทัย อันพิมพ์ คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นต้น ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ปทุมธานี เรียนรู้กันทั้งในรูปแบบ Onsite ณ ห้องอบรม ตลาดเศรษฐกิจพอเพียง หรือรับชม ในรูปแบบ Online ผ่านทาง Youtube พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯลงทะเบียนอบรมออนไลน์ก่อนใคร ได้ทาง https://forms.gle/s9gFQjMMk9Bu8vGy7สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 02-529-2212-13, 087-359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ปทุมธานี ขอเชิญร่วมอบรมหลักสูตรเข้มข้นแบบมืออาชีพ เอาใจสายเกษตร ถึง 5 หลักสูตร;เน้นเรียนจริง สอนจริง ทำจริง เพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้นำไปต่อยอดสู่การสร้างอาชีพได้จริง ใช้เวลาทุกนาทีอย่างคุ้มค่าตั้งแต่เช้าจรดเย็น ได้แก่ วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าลงทะเบียน 1,000 บาท-หลักสูตร สูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ โดยอาจารย์สมบัติ วิสูตรพันธุ์ ศูนย์เรียนร็เศรษฐกิจพอเพียงและพลังงานชุมชน เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดชัยนาท วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม 2568 ระหว่างเวลา 09.00 – 16.00 น. ค่าลงทะเบียนวิชาละ 1,000 บาท- หลักสูตร ซุปเปอร์ซัน ศิลปะการเผาถ่าน- หลักสูตร ปลูกผักกินเอง สไตล์มืออาชีพ- หลักสูตร เกษตรอัจฉริยะ ด้วย IOT- หลักสูตร สูตรปุ๋ยทำเอง พืชงาม ดินดีสมัครก่อนใครได้ที่ https://forms.gle/adtFvpFfKSjKEHxC7 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 065 – 640-5915 หรือ 087-3597171 หรือ Line ID : @wisdomkingfan www.wisdomking.or.th หรือ Facebook /InstagramID : wisdomkingmuseum
จบกันไปเป็นที่เรียบร้อยกับกิจกรรมท่องเที่ยวสุขสันต์ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ประจำวันเสาร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ต่อยอดกันจากงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง ในหัวข้อ เกษตร D.I.Y. ก็ต้องมาสนุกกันทั้งครอบครัวกันต่อกับกิจกรรม D.I.Y. ทำกระถางต้นไม้จากขวด ที่บอกได้เลยว่าวันนี้ มีศิลปินตัวน้อยแจ้งเกิดกันหลายคนเลย ทางเพจนำภาพมาฝากแล้วจ้า สำหรับบ้านไหน สนใจร่วมกิจกรรมดีๆแบบนี้ สามารถเข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมกันได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/page/happy-travel หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 094-649-2333 หรือ 087-359-7171 02-529-2212
พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ขยายเวลารับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการ “ปลูกผักกินฟรี ช่วยเหลือผู้ประสบภัยโควิด - 19” ขอเชิญชวนผู้ที่ประสบภัยจากสถานการณ์โควิด – 19 หรือประชาชนทั่วไป สมัครเข้าร่วมโครงการฯ เปลี่ยนพื้นที่เรียนรู้ภายในพิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ เป็นแปลงฝึกปฏิบัติปลูกผักกินเอง เรียนรู้ 50 วัน เปิดรับสมัครจำนวนจำกัด เพียง 30 ท่าน ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2564 – 27 มีนาคม 2564 โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เรียนรู้ตั้งแต่กระบวนการเตรียมดินการเพาะเมล็ด วิธีการปลูก การดูแลรักษา ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตและนอกจากนี้ผลผลิตที่เกิดจากโครงการฯ จำนวนร้อยละ 30 จะถูกนำไปใส่ไว้ใน ตู้ปันผัก เพื่อส่งต่อผลผลิตผักอินทรีย์ปลอดภัย ไปยังประชาชน หรือผู้ที่ประสบภัยจากโควิด-19 เพื่อนำไปรับประทาน หรือนำไปประกอบอาหาร โดยไม่มีค่าใช้จ่าย และอีกร้อยละ 70 จัดสรรผลผลิตจากโครงการฯ ให้กับผู้ที่รับผิดชอบดูแลผลผลิต สามารถนำไปรับประทานเอง หรือแบ่งปัน หรือนำไปจำหน่ายให้เกิดรายได้ต่อไป สนใจสมัคร คลิก