วิถีเกษตรของพ่อ วิถีเกษตรของไทย
วิถีเกษตรของพ่อ วิถีเกษตรของไทย
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดโครงการเผยแพร่ขยายผลนวัตกรรมเกษตรฯ “หลักสูตรการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการตลาด” เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการตลาดให้แก่เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาศักยภาพของเกษตรกรให้สามารถแข่งขันในตลาดยุคดิจิทัล เพิ่มความมั่นคงในอาชีพ และสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในภาคการเกษตร โดยมีสมาชิกเกษตรกรเครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ภาคีความร่วมมือเข้าร่วมจำนวน 100 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3 – 5 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุมศาสตร์พระราชา อาคารสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี
วิถีเกษตรของพ่อ วิถีเกษตรของไทย
วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ขอขอบคุณคณะจากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตพุทธมณฑล จ.นครปฐม ที่เข้ามาเรียนรู้พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพของกษัตริย์นักพัฒนา ในหลวงรัชกาลที่ 9 ผ่านการชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ถ่ายทอดเรื่องราวโดยวิทยากร ตลอดเวลา 1 ชั่วโมงเต็ม นอกจากนี้ทางคณะยังได้ซาบซึ้งไปกับพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้ของในหลวง รัชกาลที่ 9 ที่พระองค์ทรงงานหนักเพื่อประชาชนชาวไทย ผ่านภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา พร้อมชมภาพความประทับใจการเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนพสกนิกรของพระองค์ในทุกพื้นที่จากนิทรรศการบ้านของเรามีพ่อ และปิดท้ายด้วยเรื่องราววิถีชีวิตของคนริบฝั่งน้ำและคนในชุมชนตลาด ในนิทรรศการตลาดเก่าชาวเกษตร สำหรับหน่วยงานไหนที่สนใจเข้าร่วมโครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ ☎️ 094-649-2333 087-359-7171 02-529-2212 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ InstagramID: wisdomkingmuseum และ Line ID: @wisdomkingmuseum
วันที่ 7 กันยายน 2566 โรงเรียนวรรัตน์ศึกษา จ.นนทบุรี โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ กทม. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลเมืองท่าโขลง 1 จ.ปทุมธานี องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ เข้าชมและเรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และฝึกปฏิบัติการทำเกษตรพึ่งตนเอง ที่พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ ผ่านกิจกรรมการเรียนรู้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีให้เลือกเข้าชมถึง 13 หลักสูตร ซึ่งวันนี้แต่ละหน่วยงานได้เลือกกิจกรรมการเข้าชมที่แตกต่างกันไป โรงเรียนวรรัตน์ศึกษา จ.นนทบุรี เข้าชมหลักสูตร "พอดีพอเพียง" องค์การบริหารส่วนตำบลแหลมฟ้าผ่า จ.สมุทรปราการ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองท่าโขลง 1 จ.ปทุมธานี เข้าชมหลักสูตร "ตามรอยพ่อ" และโรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ กทม. เข้าชมหลักสูตร "ตามรอยพ่อ กษัตริย์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง" สำหรับกิจกรรมการเรียนรู้ที่หน่วยงานต่างๆ ได้เข้าร่วมเรียนรู้ ประกอบด้วย การเข้าชมภาพยนตร์แอนิเมชัน 3 มิติ เข้าชมพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เข้าชมพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร ชมฐานการเรียนรู้กลางแจ้งในเส้นทางนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ฝึกลงมือปฏิบัติการทำนาดำและนาโยนกล้า และฝึกปฏิบัติการเพาะเห็ดฟางในตะกร้า หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียดโทร 02-529-2212-13 094-649-2333 087-359-7171
วันเสาร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2566 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) จัดโครงการ “สานต่อ วิถีพอเพียง” โดย พลอากาศเอก เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้นายชญณิพัฑฒ์ จักรดารานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนากิจการ เป็นผู้แทนฯ กล่าวเปิดโครงการฯ และกล่าวต้อนรับคณะผู้บริหาร ครู อาจารย์จากสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาจังหวัดสระบุรี เพื่อเรียนรู้พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผ่านนิทรรศการที่จัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์ภายในอาคารและฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง รวมถึงการลงมือฝึกปฏิบัติการทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อขยายผลสู่กลุ่มเป้าหมายใหม่และสร้างความร่วมมือในการเผยแพร่พระเกียรติคุณ พระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ขับเคลื่อนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่สถานศึกษาในพื้นที่ใกล้เคียง ต่อไป
วันที่ 11 สิงหาคม 2566 สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน) นำโดย นางสาวจุฑามาศ ทองชมพูนุช ผู้อำนวยการสำนักสารสนเทศและการสื่อสาร นางสาวสาวิตรี สายโย ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาพิพิธภัณฑ์และองค์ความรู้ พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ให้การต้อนรับ คณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ ปทุมธานี โดยรับชมทั้งในส่วนของ พิพิธภัณฑ์ภายในอาคาร พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้พระราชประวัติ พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพกษัตริย์เกษตร พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม พร้อมเยี่ยมชม พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งรอบพื้นที่ รวมถึงประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการบริหารจัดการ และการออกแบบด้านพิพิธภัณฑ์ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานต่อไป
วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม 2567 พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต้อนรับโรงเรียนประชาอุปถัมภ์ จ.นนทบุรี หลักสูตร “นวัตกรรมของพ่อ” โรงเรียนไทยคริสเตียน กรงุเทพฯ หลักสูตร “เกษตรสร้างสรรค์” และเทศบาลตำบลเสาธงหิน จ.นนทบุรี หลักสูตร “วิถีเกษตรของพ่อ ซึ่งเข้าเรียนรู้และทำกิจกรรมภายใต้โครงการส่งเสริมการเรียนรู้เกษตรเศรษฐกิจพอเพียง โดยเข้าชมและเข้าเรียนรู้ผ่านฐานการเรียนรู้พิพิธภัณฑ์กลางแจ้งนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง เรียนรู้การทำเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงสู่การพึ่งตนเอง ที่สามารถนำไปประยุกต์ให้สอดคล้องกับตนเองได้ ทั้งเข้าชมพิพิธภัณฑ์ในอาคาร อาทิ พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เรียนรู้เกี่ยวกับพระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ด้านการเกษตร พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม เรียนรู้การดูแลรักษาอนุรักษ์พันธุกรรมพืชที่อยู่ในประเทศไทย เพื่อเป็นการส่งต่อให้กับคนรุ่นต่อใหม่ และพิพิธภัณฑ์ป่าดงพงไพร เข้าชมและเรียนรู้ถึงระบบนิเวศ สิ่งมีชีวิตที่อยู่ในป่ากลางวันและป่ากลางคืน ต่างช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สนุกสนานกับกิจกรรมสร้างสรรค์ความคิดที่สอดแทรกเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชมภาพยนตร์ 3 มิติ ในวันเดียวกันคณะจากโรงเรียนบ้านกาแลกุมิ จ.ปัตตานี เข้าร่วมชมและเรียนรู้เกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ พระเกียรติคุณ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร ด้านการเกษตร ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา อีกทั้งยังได้ชมภาพยนตร์ 3 มิติ ที่นำเสนอเรื่องราวพระราชกรณียกิจของในหลวงรัชกาลที่ 9 หน่วยงานใดที่สนใจเข้าร่วมเรียนรู้ในรูปแบบหมู่คณะ สามารถดูหลักสูตรต่างๆ ได้ที่ https://www.wisdomking.or.th/th/course-event สอบถามรายละเอียด 02-529-2212 094-649-2333 087-359-7171 หรือ www.wisdomking.or.th facebook/ และ Line ID: @wisdomkingmuseum