คลังต้นไม้แห่งการเรียนรู้
ยางคุย
ชื่อไทย | ยางคุย |
ชื่ออื่น | คุย หมากยาง กะตังกะติ้ว คุยกาย คุยช้าง คุยหนัง อีคุย บักยาง เครือยาง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Willughbeia edulis Roxb. |
ชื่อวงศ์ | APOCYNACEAE |
ลักษณะวิสัย | เป็นไม้เถาเนื้อแข็งรอเลื้อยขนาดใหญ่ มีมือเกาะ เลื้อยได้ไกล 10-15 เมตร แตกกิ่งจำนวนมาก เปลือกต้นสีน้ำตาล ทุกส่วนของต้นมีน้ำยางสีขาวขุ่น |
ลักษณะใบ | ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปรี ปลายใบมน โคนใบรูปลิ่มถึงมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่น |
ลักษณะดอก | ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ออกตามซอกใบและปลายยอด มีขนเล็กน้อย ขอบมีขนครุย กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกัน โคนหลอดกลีบรูปถ้วยสั้น ปลายแฉกมนรูปไข่ ออกดอกประมาณเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม |
ลักษณะผล | ผลเป็นผลเดี่ยว สด มีหลายเมล็ด ลักษณะเป็นทรงกลมหรือรูปไข่ เปลือกผลค่อนข้างหนา สีเขียว ผิวเกลี้ยง เมื่อสุกมีสีเหลืองถึงส้ม มีน้ำยางสีขาวมาก เมล็ดรูปไข่ เนื้อผลลื่นติดกับเมล็ด มีประมาณ 1-3 เมล็ด ติดผลประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน |
สรรพคุณ | เถามีรสฝาด แก้ประดงเข้าข้อ ลมขัดในข้อ ในกระดูก แก้มือเท้าอ่อนเพลีย แก้บิด ตับพิการ คุดทะราด รากมีรสฝาด แก้มือเท้าอ่อนเพลีย แก้โรคบิด แก้เจ็บคอ เจ็บหน้าอก เปลือกต้นรสฝาด แก้ปวดศีรษะ ยางรสฝาดร้อน ทาแผล แก้คุดทะราด |