คลังต้นไม้แห่งการเรียนรู้
หญ้าหนวดแมว
ชื่อไทย | หญ้าหนวดแมว |
ชื่ออื่น | อีตู่ดง บางรักป่า พยับเมฆ |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Orthosiphon aristatus (Blume) Miq. |
ชื่อวงศ์ | LAMIACEAE |
ลักษณะวิสัย | เป็นพืชล้มลุกขนาดเล็ก มีลำต้นและกิ่งอ่อนเป็นสี่เหลี่ยม มีสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดง สูงประมาณ 30-80 เซนติเมตร |
ลักษณะใบ | ใบเป็นใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่หรือรูปข้าวหลามตัด มีขอบใบหยักเป็นจักคล้ายฟันเลื่อย แผ่นใบบางเป็นสีเขียวเข้ม ปลายใบเรียวแหลม |
ลักษณะดอก | ดอกออกเป็นช่อแบบกระจุก ปลายยอดดอกลักษณะคล้ายฉัตร มีริ้วประดับรูปไข่ กลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นรูประฆังงอเล็กน้อย ออกดอกบริเวณปลายยอดและปลายกิ่ง ดอกจะบานจากล่างขึ้นบน ดอกเกสรตัวผู้มี 3-4 เส้น ยื่นยาวออกมานอกกลีบดอกคล้ายหนวดแมว สามารถออกดอกได้ตลอดทั้งปี |
ลักษณะผล | ผลเป็นรูปขอบขนาน กว้าง แบน ตามผิวมีรอยย่น เป็นผลแห้งไม่แตก |
สรรพคุณ | เป็นสมุนไพรขึ้นชื่อในการรักษานิ่วและโรคทางเดินปัสสาวะ ทั้งต้นมีรสจืด ช่วยลดความดันโลหิต รักษาโรคเบาหวาน เยื่อจมูกอักเสบ สมานแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ แก้บิด ท้องร่วง โรคไตพิการ ขับกรดยูริกจากไต |