คลังต้นไม้แห่งการเรียนรู้
จันทน์ชะมด
ชื่อไทย | จันทน์ชะมด |
ชื่ออื่น | สังเครียดคอโง้ง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ | Aglaia silvestris (M. Roem.) Merr. |
ชื่อวงศ์ | MELIACEAE |
ลักษณะวิสัย | เป็นไม้ยืนต้น สูง 6-20 เมตร กิ่งอ่อนมีขนนุ่มสีน้ำตาลหรือน้ำตาลแกมแดงอ่อน กิ่งแก่เกลี้ยง เปลือกสีเทาหรือน้ำตาลอ่อน ค่อนข้างเรียบ หรือแตกเป็นสะเก็ดหนา เปลือกในสีแดงและมียางสีขาว กระพื้สีน้ำตาลอ่อน แก่นสีน้ำตาลแกมแดงเรื่อ |
ลักษณะใบ | ใบเป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงเวียน โคนก้านขยายใหญ่ เรียงสลับหรือเกือบตรงข้าม ใบย่อยส่วนปลายมักมีขนาดใหญ่และยาวกว่าใบย่อยใบล่าง ใบย่อยรูปใบหอกหรือรูปไข่แกมรูปใบหอก แผ่นใบค่อนข้างหนาหรืออาจบาง ด้านบนเกลี้ยงเป็นมัน |
ลักษณะดอก | ดอกออกเป็นช่อแบบช่อกระจุกแยกแขนง ออกตามซอกใบใกล้ปลายกิ่งหรือเหนือซอกใบเล็กน้อย เมื่อยังอ่อนทุกส่วนมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงหนาแน่น |
ลักษณะผล | ผลเป็นแบบแห้งแตก ลักษณะค่อนข้างกลมรูปทรงรีหรือรูปไข่กลับ เปลือกค่อนข้างบาง มีขนและเกล็ดสสีน้ำตาล เมื่อแก่จัดเป็นสีเหลืองแกมสีแดง เมล็ดรูปทรงรี แข็ง มีสีน้ำตาลแข้มถึงสีดำ มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีขาวฉ่ำน้ำ 1 ผล มี 1 เมล็ด |
สรรพคุณ | เนื้อไม้ แก่น มีรสขมหอมสุขุม แก้ไข้ แก้ลม บำรุงหัวใจ ทำให้สดชื่อ บำรุงกำลัง แก้คลื่นเหียนอาเจียน |