หลักสูตรการเรียนรู้จากผู้น้อมนำ
วันที่18 กุมภาพันธ์ 2563 พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯยินดีต้อนรับคณะสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดปทุมธานี เข้าเรียนรู้ผ่านหลักสูตร วิถีเกษตรของพ่อ เริ่มต้นเรียนรู้ที่พิพิธภัณฑ์กลางเเจ้ง เริ่มต้นกิจกรรมด้วยการเดินชมฐานบ้านนวัตกรรมพลังงาน เรียนรู้การเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง ด้วยสิ่งประดิษฐ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่า โซลาร์เซลล์ ชมฐานเกษตรพอเพียงเมือง เรียนรู้พื้นที่ต้นแบบการปลูกผักบนพื้นปูน การปลูกผักบนดาดฟ้า การปลูกผักในท่อพีวีซี หรือแม้แต่การปลูกผักกลับหัว พร้อมชมฐาน 1 ไร่พอเพียง เรียนรู้การบริหารจัดการพื้นที่ทำเกษตรขนาดเล็กให้คุ้มค่า และสามารถให้ประโยชน์จากพื้นที่ทั้งหมดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตื่นตา ตื่นใจกับเทคโนโลยี แสง สี เสียง ชมเมล็ดพันธุ์นานาชนิดที่ สะท้อนความหลากหลายของพันธุกรรม อันเป็นมรดกที่มีคุณค่าและให้ประโยชน์มากมายในพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม ต่อด้วยการเข้าชมนิทรรศการในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เพื่อศึกษาแนวคิดการทรงงานของในหลวง รัชกาลที่ 9 จากนิทรรศการหลักการทรงงาน โซนวิถีเกษตรของพ่อเรียนรู้พระอัจฉริยภาพด้านการจัดการดิน น้ำ ป่า คน พร้อมชมสิ่งประดิษฐ์ด้านการเกษตรในโซนนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ปิดท้ายความสนุกสนานกับภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ เรื่องของพ่อในบ้านของเรา ที่ถ่ายทอดเรื่องราวความรักอันยิ่งใหญ่ที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 มีให้กับประชาชนคนไทยทุกคนตลอดระยะเวลาที่ทรงครองราชย์
สอบถามรายละเอียดโทรศัพท์ 02-529-2212-13,087-359-7171,094-649-2333 Facebook /InstagramID : wisdomkingfan Line ID : @wisdomkingfan
ใครที่กำลังมองหากิจกรรมสนุกๆ พร้อมได้สาระความรู้ด้านเกษตรให้กับเด็กๆ ที่บ้าน พลาดไม่ได้กับกิจกรรมท่องเที่ยวสุขสันต์ ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ในวันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ ที่จะถึงนี้ กับหลักสูตร การทำบ้านดิน ที่เปิดให้คุณพ่อคุณแม่พาน้องๆ มาเรียนรู้การสร้างบ้านจากดินเพื่อการอยู่อาศัย ตั้งแต่เวลา 10.00-14.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ สอบถามโทร. 087-359-7171 และ 094-649-2333 www.wisdomking.or.th สมัครได้ที่นี่ >>คลิก<<
สืบสานศาสตร์พระราชา เรียนรู้จากผู้ลงมือปฎิบัติจริง ต่อยอดองค์ความรู้ นำไปสู่การลงมือทำ ผ่านการเข้าอบรมวิชาของแผ่นดินและการอบรมเชิงปฏิบัติการกว่า 20 หลักสูตร ฟรี!! ภายในงานมหกรรม "สืบสาน รักษา ต่อยอด กษัตริย์เกษตร & Agri Museum Expo 2019" 5-7 ก.ค. 2562 ตั้งแต่เวลา 08.00-18.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติ ปทุมธานี
เรียนรู้ศาสตร์พระราชาทำเกษตรตามรอยพ่อ กับหลักสูตรอบรมวิชาของแผ่นดิน ที่พิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ งาน"คิดถึงมิลืมเลือน" วันที่ 7 - 8 ตุลาคม พ.ศ. 2560 ตั้งแต่เวลา 08.00 - 18.00 น. น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 สืบสานพระราชปณิธานทำความดีเพื่อแผ่นดินไทย ด้วยวิถีชีวิตแห่งตนเอง ทางด้านการเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง พึ่งพาตนเองได้ สร้างรายได้
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 เวลา 15.20 น. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอทิตยาทรกิติคุณ เสด็จไปยังพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ทรงนำเจ้าหน้าที่และกลุ่มสมาชิกโครงการเกษตรอทิตยาทร จังหวัดสุรินทร์ เยี่ยมชมการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นการส่วนพระองค์ โดยเสด็จไปยังอาคารเฉลิมพระเกียรติฯ 5 “พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา” ทอดพระเนตรภาพยนตร์แอนิเมชั่น 3 มิติ "เรื่องของพ่อในบ้านของเรา" มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่เสด็จพระราชดำเนินไปทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น จนก่อเกิดเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่เป็นประโยชน์มาจนถึงปัจจุบัน พร้อมกันนี้ ทอดพระเนตรนิทรรศการหลักการทรงงาน 23 ข้อ ในพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร นิทรรศการสืบสานพระราชปณิธาน จัดแสดงพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่ต่าง ๆ โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชปณิธานที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร นิทรรศการนวัตกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง จากนั้น ประทับรถรางไปยังโครงการอุทยานการเกษตรสนองพระราชปณิธานทรงทอดพระเนตรกิจกรรมต่างๆ อาทิ ฐานการเรียนรู้เกษตรพอเพียงเมือง ฐานการเรียนรู้ 1 ไร่พอเพียง ฐานการเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ (แปลงนาสุริยะ) โดยมีนายเสถียร ทองสวัสดิ์ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ พร้อมคณะวิทยากรกราบทูลรายงานความเป็นมา และการดำเนินโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ (แปลงนาสุริยะ)ในการนี้ได้ประทานอาหารปลาซึ่งทำจากสรรพสิ่งในแปลงนาสุริยะ และทรงทดลองทำนาปาเป้าโอกาสนี้ เสด็จไปยังร้านกาแฟ (wisdom cafe) ร้านกาแฟในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด Wisdom farm โดยมี ดร.พินิจ บุญเลิศ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี นายสุชิต โต๊ะวิเศษกุล ผู้พิพากษาหัวหน้าคณะศาลแรงงานกลาง ช่วยทำงานชั่วคราวในตำแหน่งผู้พิพากษาหัวหน้าศาล จังหวัดธัญบุรี พล.ต.ต.ชยุต มารยาทตร์ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี นายสหภูมิ ภูมิธฤติรัฐ ผอ.สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นางดลวสา บุญเลิศ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดปทุมธานี หัวหน้าส่วนราชการ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่ เฝ้ารับเสด็จฯ อนึ่งวันเดียวกันนี้ โปรดให้ เจ้าหน้าที่ และกลุ่มสมาชิกโครงการฯ ไปศึกษาการดำเนินงานส่วนต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ อาทิ พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม เพื่อเรียนรู้และสืบสานพระราชปณิธาน ตามรอยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เจ้าฟ้านักอนุรักษ์ โดยจัดแสดงเมล็ดพันธุ์นานาชนิด ที่สะท้อนให้เห็นความหลากหลายของพันธุกรรม ในรูปแบบเทคโนโลยี แสง สี เสียง เพื่อให้เรียนรู้พืชพื้นถิ่นจากสวนป่าต้นแบบ นอกจากนี้ ยังเปิดให้สถาบันการศึกษา หน่วยงาน ภาครัฐ เอกชน เข้าชมในรูปแบบทัศนศึกษาค่ายการเรียนรู้ และการฝึกอบรม
พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้จัดค่ายเยาวชนเรียนรู้การอนุรักษ์ทรัพยากร ครั้งที่ 4/2563 ระหว่างวันที่ 21-24 สิงหาคม 2563 ณ ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จังหวัดนครราชสีมา สวนลุงเนา โดยมีคณะครูและเยาวชนจากโรงเรียนในพื้นที่ศูนย์เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จ.นครราชสีมา เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ซึ่งตลอดระยะเวลาการจัดค่ายเยาวชนการเรียนรู้ฯ ชาวค่ายได้เรียนรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรในท้องถิ่นจากการลงพื้นที่สำรวจและศึกษาพันธุกรรมพืชใน "สวนลุงเนา" เพื่อเข้าใจถึงนิเวศวิทยาและสรรพคุณทางยาของสมุนไพรแต่ละชนิด พร้อมนำองค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจไปต่อยอดเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการนำสมุนไพรแต่ละชนิดไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ โดยเรียนรู้การแปรรูปจากกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการ อาทิ การแปรรูปข้าวพื้นบ้าน ยาดมสมุนไพร สมุนไพรบำบัด แช่มือ แช่เท้า เป็นต้น นอกจากนั้นชาวค่ายยังได้เรียนรู้การพึ่งพาตนเองแบบวิถีพื้นบ้านผ่านกิจกรรมการทำอาหาร โดยใช้วัตถุดิบหลักที่หาได้จากป่าในชุมชน พร้อมศึกษาวัฏจักรของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในพื้นที่ป่าเขาแผงม้า ทำให้เยาวชนเกิดความตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม และเพื่อบ่มเพาะจิตสำนึกการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นของตนเอง คงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมที่เป็นส่วนหนึ่งในวิถีชีวิตคนในชุมชน