มสธ.วัยเกษียณอายุ
วันพฤหัสบดี ที่ 7 มิถุนายน 2561 คณะอาจารย์ผู้เกษียณอายุ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จ.นนทบุรี ร่วมเรียนรู้หลักสูตร “ตามรอยพ่อ” เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้ความหลากหลายของพันธุกรรมพืชนับหมื่นชนิด คุณค่า ความหมาย ความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรม “การรักทรัพยากร คือการรักชาติ รักแผ่นดิน” ผ่านพิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม อีกทั้งเรียนรู้พระอัจฉริยภาพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ด้านการเกษตร ภายในพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา อาทิ วิถีเกษตรของพ่อ ตลาดเก่าชาวเกษตร ซึ่งเป็นการเรียนรู้หลากมิติเป็นการจุดประกายความคิดในการน้อมนำแนวพระราชดำริและองค์ความรู้ต่างๆสู่การปฏิบัติ ก่อนกลับแวะซื้อผักอินทรีย์กลับไปรับประทานที่บ้าน เพียงถุงละ 20 บาทเท่านั้น ตอกย้ำผลลัพธ์การเรียนรู้ผ่านบทสัมภาษณ์จากตัวแทนผู้เข้าร่วมกิจกรรม
“…แม้ว่าเราจะมีเวลาสั้นๆ แต่ก็มีโอกาสเยี่ยมชมใน 2 ฐานด้วยกัน พิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา ในส่วนของเจ้าฟ้านักอนุรักษ์ (พิพิธภัณฑ์มหัศจรรย์พันธุกรรม) พบว่ากิจกรรมใน 2 ฐานนี้เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจอย่างยิ่งได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ 2 ส่วนนี้ ประทับใจโดยรวมแล้วพวกเราเป็นผู้สูงวัยกิจกรรมที่เดินเยอะก็จะประทับใจน้อยหน่อย ที่เราประทับใจมากๆจะอยู่ในส่วนของพิพิธภัณฑ์ในหลวงรักเรา เดี๊ยนมาจากสาขาวิทยาการจัดการสอนด้านบริหารธุรกิจ ในส่วนที่ได้ดูที่เป็นตลาดในอดีต เป็นกิจกรรมที่ชื่นชม นึกออกเลยว่าถ้าวันหลังต้องพานักศึกษามาดูงานที่นี่ก็น่ามาดู มีเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจ ที่อาจจะเป็นประโยชน์ให้นักศึกษาเห็นภาพรำลึกถึงอดีต ส่วนที่ชอบมากๆเลยนะคะจะเป็นเรื่องวิดีทัศน์ 3 D ที่ให้คำตอบได้เลยว่าในหลวงรักเราจริงๆ (อ.ชนินาฏ) เสริม
รศ.ชนินาฏ ลีดส์ (ซ้าย)ดูแล้วมันซึ้ง น้ำตาซึมได้ ไม่น่าเชื่อ เลยว่าดูการ์ตูนแล้วจะทำน้ำตาจะซึมได้ รศ.ดร.กิ่งพร ทองใบ (กลาง) : ในส่วนผู้ที่ยังไม่เคยมาที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ถือโอกาสเชิญชวนนะคะ แล้วก็สัญญากับตัวเองนะว่าจะมากันใหม่ รศ.จิดาภรณ์ ธรรมสภา (ขวา):จะมากันใหม่ และใช้เวลามากกว่านี้ ทำได้มาตรฐานสากลมาก