สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ ร่วมงานแถลงข่าว 1 ปี จุดพลังเกษตรไทย 2568 ก้าวต่อไปเพื่อเกษตรกร
วันที่ 25 ธันวาคม 2567 พันจ่าเอก ประเสริฐ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มอบหมายให้ นางสาวสำเภาว์ งามเชย รองผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฝ่ายพัฒนา ร่วมงานแถลงข่าว “1 ปี จุดพลังเกษตรไทย 2568 ก้าวต่อไปเพื่อเกษตรกร” แถลงผลการดำเนินงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี 2567 (มกราคม - ธันวาคม 2567) และแผนงานสำคัญปี 2568 พร้อมส่งมอบของขวัญปีใหม่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มุ่งให้เกษตรกรไทยมีกิน มีใช้ มีรายได้พอเพียง ในงาน 1 ปี จุดพลังเกษตรไทย 2568 ก้าวต่อไปเพื่อเกษตรกร โดยมี ศ.ดร.นฤมล ภิญโญสินวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประยูร อินสกุล ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้บริหารระดับสูงทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วม ณ ห้อง 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ถนนราชดำเนินนอก กรุงเทพฯ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาล ภายใต้การนำของ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีการแถลงข่าวผลการดำเนินงานของรัฐบาลรอบ 3 เดือน และการมอบนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินของนายกรัฐมนตรี “2568 โอกาสไทย ทำได้จริง” เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ณ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย (NBT) ในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมขับเคลื่อนผลการดำเนินงานสำคัญในด้านการเกษตร เพื่อผลักดันนโยบายรัฐบาลเป็นผลสำเร็จ ยึดหลักการทำงาน คือ พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยมีผลงานสำคัญ ระยะ 1 ปี (มกราคม - ธันวาคม 2567) โดยสรุป ดังนี้
นโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน 190,207 ราย พัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน (โครงการหลวง และการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง) รวม 85,886 ราย ส่งเสริมการดำเนินงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 99,917 ราย ให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ 308 ครั้ง เกษตรกรและประชาชนได้รับประโยชน์ 22,634 ราย
นโยบายเร่งด่วน
ผลักดันให้เกิดการปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ ส่งเสริมอาชีพแก่สมาชิกสหกรณ์ 717 แห่ง 3,694 ราย และสนับสนุนเงินกู้กองทุนพัฒนาสหกรณ์ 106 สหกรณ์ วงเงิน 263.61 ล้านบาท ฟื้นฟู และพัฒนาอาชีพให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟู 257 ราย สนับสนุนสินเชื่อแก่สถาบันเกษตรกร (ปี 2557-2567) 376 แห่ง วงเงิน 17,427.801 ล้านบาท และผู้ประกอบการ (ปี 2559-2567) 19 ราย วงเงิน 21,040.70 ล้านบาท
ฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบอุทกภัย ครม. อนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่าย เพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น กรอบวงเงิน 2,553.0098 ล้านบาท ในพื้นที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินใน 58 จังหวัด จำนวน 8 โครงการ
ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” พัฒนาพื้นที่ผ่านระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ ปัจจุบันมีแปลงใหญ่ 10,693 แปลง สมาชิก 571,221 ราย พื้นที่ 9,009,551 ไร่ มูลค่าเพิ่มจากการลดต้นทุน 44,378.77 ล้านบาท และเพิ่มผลผลิต 92,834.41 ล้านบาท รวม 137,213.18 ล้านบาท เกษตรกรได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตร รวม 203,665 ราย เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาศักยภาพการผลิตสินค้าเกษตร อาทิ ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว (พันธุ์คัด พันธุ์หลัก) 3,960 ตัน ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ขยายและจำหน่าย90,177 ตัน และมีการรับรองการขึ้นทะเบียนศูนย์ข้าวชุมชนแล้ว 4,985 ศูนย์ เกษตรกร 150,000 ครัวเรือน ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี จำนวน 200,000 ตัน ผลิตสัตว์พันธุ์ดีจากการผสมเทียม 217,606 ตัว บริการพัฒนาสุขภาพสัตว์ 15 ล้านตัว ผลิตและกระจายพืชพันธุ์ดี 4 สายการผลิต 2,197,100 ต้น/ชุด ส่งเสริมการผลิตพืชพันธุ์ดีและปัจจัยการผลิตที่มีคุณภาพ 60 ชนิด สนับสนุนเกษตรกรรายย่อย 19,121 ราย หน่วยงานรัฐ/เอกชน 228 แห่ง พัฒนาพันธุ์ข้าวและเสนอรับรองเป็นพันธุ์ข้าวใหม่ 10 สายพันธุ์ พัฒนาสัตว์พันธุ์ดี 671,151 ตัว และสัตว์น้ำพันธุ์ดี 804,000 ตัว ถ่ายทอดความรู้การผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ให้กับเกษตรกรชาวสวนยาง 900 ราย และผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาตรฐานเพื่อบริการเกษตรกรชาวสวนยาง 1,500 ตัน
บริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสมเป็นสินค้าเกษตรที่เหมาะสมกับพื้นที่ภูมิสังคมและตลาด 60,860 ไร่ ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน 250,567.66 เมตร ผ้าไหม 10 ลวดลาย พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว 3 ผลิตภัณฑ์ ปศุสัตว์ 2 ผลิตภัณฑ์ ประมง 2 ชนิด ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ การปลูกข้าว 23,315 ไร่ ประมง 400 ราย ปศุสัตว์ 38 ราย ตรวจรับรองแหล่งผลิตพืช 15,796 ไร่ ประมง 250 ราย ปศุสัตว์ 147.77 ไร่ ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ 44,407 ราย ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย ตามมาตรฐาน GAP ด้านพืช 171,413 แปลง ประมง 17,107 แห่ง ปศุสัตว์ 14,014 แห่ง และ GMP ด้านพืช 662 แห่ง ประมง 967 แห่ง ปศุสัตว์ 318 แห่ง ส่งเสริมเกษตรชีวภาพ การผลิตแมลงเศรษฐกิจ 700 ราย การแปรรูปพืชสมุนไพร 1,110 ราย ส่งเสริมเกษตรแปรรูป สินค้าข้าว 2 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ โยเกิร์ตข้าว และขนมสำหรับเด็ก สินค้าปศุสัตว์ให้เป็นสินค้าชุมชน OTOP 9 ผลิตภัณฑ์ สินค้าสัตว์น้ำด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ 30 ผลิตภัณฑ์
ส่งเสริมเกษตรอัจริยะ อาทิ นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรสมัยใหม่มาประยุกต์ในการเลี้ยงปศุสัตว์ การจัดการอาหารสัตว์และการพัฒนาพื้นที่แปลงใหญ่ด้านปศุสัตว์ 59 แปลง เฝ้าระวังสถานการณ์ศัตรูข้าวและแจ้งเตือนภัยการระบาดของศัตรูข้าว และภัยธรรมชาติ 52 ครั้ง เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ 15 แปลง พื้นที่ 150 ไร่ ส่งเสริมด้านการตลาดสินค้าเกษตร อาทิ เชื่อมโยงตลาดข้าว สามารถระบายผลผลิตข้าว 150.57 ตัน มูลค่าจำหน่าย 5.517 ล้านบาท ส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย สามารถระบายผลไม้ 188.14 ตัน มูลค่าจำหน่าย 22.4893 ล้านบาท พัฒนาระบบตลาดภายในสำหรับการซื้อขายผลผลิตระหว่างเกษตรกรและผู้ประกอบการค้าข้าว 4,735.73 ตัน มูลค่าการซื้อขาย 64.72 ล้านบาท นอกจากนี้ ยังมีความสำเร็จในการเปิดตลาดสินค้าปศุสัตว์ส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สินค้าสัตว์ปีก เนื้อเป็ดปรุงสุก และโคมีชีวิต เป็นต้น ส่งผลให้มีมูลค่าส่งออกสินค้าปศุสัตว์เพิ่มขึ้นประมาณ 1,230 ล้านบาทต่อปี การพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร พัฒนาศักยภาพเกษตรกร ให้เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง (ด้านพืช ปศุสัตว์ หม่อนไหม และบัญชี) รวม 27,824 ราย ส่งเสริมการสร้างพลังในชุมชน ด้วยการถ่ายทอดความรู้ 33,022 ราย ส่งเสริมองค์ความรู้และสนับสนุนสหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร ธุรกิจชุมชน และวิสาหกิจชุมชน รวม 14,368 แห่ง
ส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรต้นแบบของวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกร 56 แห่ง และด้านหม่อนไหม 6 แห่ง
นโยบายระยะกลางและระยะยาว
ส่งเสริมโอกาสในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ส่งเสริมเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy or Eco-friendly Economy) ด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก/Carbon Credit อาทิ ส่งเสริมการบริหารจัดการน้ำแบบเปียกสลับแห้ง 40,000 ไร่ จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และปรับปรุงคุณภาพดิน 14,385 ไร่ จัดทำแปลงโมเดลต้นแบบการผลิตถั่วเหลืองแบบ Low Carbon 1 แห่ง พัฒนาเศรษฐกิจสุขภาพ (Care and Wellness Economy) และบริการทางการแพทย์ (Medical Hub) ด้วยการพัฒนาสถานที่และถ่ายทอดเทคโนโลยี/นวัตกรรมการผลิตพืชสกุลกัญชาและพืชสายพันธุ์กระท่อม 3 แห่ง
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อขยายโอกาส เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ อาทิ - จัดการที่ดินทำกิน โดยออกหนังสือ ส.ป.ก. 4-01 รวม 34,176 ราย กสน.3 รวม 231 ราย กสน.5 รวม 416 ราย และตรวจสอบการถือครองที่ดินด้านสิทธิและการใช้ประโยชน์ของเกษตรกรและบุคคลอื่น 1,077,491 ไร่ ปรับปรุง ส.ป.ก. 4-01 เป็น “โฉนดเพื่อการเกษตร” 333,897 ฉบับ (95%) ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 3.5 ล้านไร่
สร้างความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาทิ ส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ส่งผลให้จุดความร้อน (Hotspot) พื้นที่เกษตรในประเทศไทย เหลือจำนวน 2,886 จุด (จากเดิม วันที่ 1 ม.ค. ถึง 28 เม.ย. 66 จำนวน 3,306 จุด) พบว่า ลดลง จำนวน 420 จุด ลดลง จำนวน 420 จุด คิดเป็น ร้อยละ 12.70 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน โดยใช้ข้อมูลจุดความร้อน (Hotspot) จาก GISTDA ในการติดตามตรวจสอบสถานการณ์การเผาในพื้นที่เกษตรของประเทศไทยจากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ส่งเสริมการไถกลบเศษวัสดุทางการเกษตรและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 21,000 ไร่ ถ่ายทอดความรู้การลดพื้นที่เผาไหม้ 17,513 ราย
ส่งเสริมการใช้สารชีวภัณฑ์ ลดการใช้สารเคมี แก่เกษตรกร 6,500 ราย - ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร 24,244 ราย ส่งเสริมการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มาใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่า ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยี และสนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร 24,244 ราย จัดทำแปลงต้นแบบการจัดการฟางในพื้นที่ 40 ไร่
บริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พืช 5 ชนิด ประกอบด้วย ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และไม้ผล ไม้ยืนต้น มีปริมาณเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ทั้งหมดประมาณ 48.6 ล้านตัน นำไปใช้แล้วประมาณ 29.7 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 61 เป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 3.3 พันล้าน ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรดิน อาทิ พัฒนาคุณภาพดินให้เหมาะสมในการทำเกษตรกรรม 96,509 ไร่ ป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน 625,402 ไร่
ป้องกันและแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ด้วยการตรวจสอบ ติดตาม และเฝ้าระวังให้เป็นไปตามกฎหมาย 185,828 ครั้ง บริหารจัดการทรัพยากรประมง ผลิตลูกพันธุ์สัตว์น้ำปล่อยในแหล่งน้ำธรรมชาติ 506 ล้านตัว
ยกระดับการบริหารจัดการน้ำ ก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ 14 แห่ง บำรุงรักษาอาคารระบบชลประทาน ซ่อมแชม/ปรับปรุงงานชลประทานในพื้นพื้นที่ 436,706 ไร่ ก่อสร้างชลประทานขนาดกลาง แหล่งน้ำและระบบบส่งน้ำขนาดเล็ก ปริมาตรเก็บกักเพิ่มขึ้น 53.51 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 56,340 ไร่ จัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 33,589 ไร่ และจัดระบบน้ำเพื่อเกษตรกรรม 43,263 ไร่ ขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 25,923 บ่อ
ป้องกัน แก้ไข ฟื้นฟูรับมือภัยแล้ง/ภัยธรรมชาติ อาทิ จัดการงานชลประทาน และบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ชลประทาน 36.33 ล้านไร่ ช่วยเหลือ ฟื้นฟู เกษตรกรในพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ อุทกภัย ด้านพืช 159,120 ราย วงเงิน 1,957.78 ล้านบาท ด้านประมง 16,470 ราย วงเงิน 213.54 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 1,146 ราย วงเงิน 11.70 ล้านบาท วาตภัย ด้านพืช 652 ราย วงเงิน 4.03 ล้านบาท ด้านประมง 12 ราย วงเงิน 239,907 บาท และ ภัยแล้ง ด้านพืช 363 ราย วงเงิน 4.32 ล้านบาท ปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่การเกษตร 1,101.40 ล้าน ลบ.ม. ในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ 478.90 ล้าน ลบ.ม. และบรรเทาฝุ่นละอองขนาดเล็ก 2 ช่วง 841 เที่ยวบิน รวม 1,317 ชั่วโมงบิน (แบ่งเป็นช่วงที่1 ระหว่างวันที่ 1 มกราคม - 8 พฤษภาคม 2567 ปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ 123 วัน 662 เที่ยวบิน 1,034 ชั่วโมงบิน และปฏิบัติการตักน้ำดับไฟป่าด้วยเฮลิคอปเตอร์ 156 เที่ยวบิน 32 ชั่วโมงบิน และภารกิจการบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กฯ ช่วงที่2 ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม - 13 ธันวาคม 2567ปฏิบัติการดัดแปรสภาพอากาศ 12 วัน 179 เที่ยวบิน 283 ชั่วโมงบิน)
สร้างความเชื่อมั่นของทั้งคนไทยและต่างชาติ เปลี่ยนผ่านราชการไทยไปสู่ราชการทันสมัยในระบบดิจิทัล (Digital Government) จัดทำข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการทางการเกษตร ได้แก่ ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ด้านเพาะปลูกหรือกิจกรรมทางการเกษตร 5,934,435 ครัวเรือน ด้านปศุสัตว์ 3,019,612 ราย ด้านประมง 382,930 ราย ด้านหม่อนไหม 4,266 ราย ปรับปรุงฐานข้อมูลทะเบียนเกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง และผู้ประกอบกิจการยาง 1,823,121 ราย
ยกระดับการบริการภาครัฐให้ตอบสนองความต้องการของประชาชนมากยิ่งขึ้น ขยายศูนย์บริการเกษตรพิรุณราช รวม 2,897 ศูนย์ทั่วประเทศ พร้อมให้บริการ E-service อำนวยความสะดวกประชาชน พัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญา กำกับดูแล และการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทให้เกิดความเป็นธรรมกับคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย 235,012 ราย และรับแจ้งประกอบธุรกิจทางการเกษตรในระบบเกษตรพันธสัญญา 362 ราย บริการแก้ไขปัญหาการนำเข้าและส่งออกสินค้าเกษตรที่ผิดกฎหมาย ได้แก่ ด้านพืช เฝ้าระวัง ปราบปรามปัจจัยการผลิต วัตถุอันตราย ปุ๋ย และเมล็ดพันธุ์ 77 จังหวัด ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิด 15 คดี ด้านปศุสัตว์ บังคับใช้กฎหมาย 619 ครั้ง และดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด 108 ครั้ง และ ด้านประมง จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการและดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด 344 คดี ทั้งนี้ การปราบปรามสินค้าเกษตรเถื่อนทั้งพืช ประมง ปศุสัตว์ ทำให้ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดเพิ่มสูงขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มรวม 18,498.66 ล้านบาท อาทิ ยางพารา ข้าว และทุเรียน
เสริมสร้างโอกาสให้ประเทศไทย พัฒนาความร่วมมือด้านเกษตรต่างประเทศ เพื่อขยายตลาดสินค้าเกษตรและเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรไทยในต่างประเทศ ผ่านการทูตเศรษฐกิจเชิงรุก ตลอดจนการผลักดันสินค้าไทยภายใต้กฎระเบียบ EUDR โดยเตรียมความพร้อมเพื่อบริหารจัดการยางพาราตามกรอบมาตรฐาน EUDR ให้ชาวสวนยางที่ขึ้นทะเบียนกับ กยท. นอกจากนี้ ยังได้สร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งภาคเอกชน รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ เพื่อให้การเตรียมความพร้อมและการแก้ไขปัญหาครอบคลุมในทุกมิติที่เกี่ยวข้องต่อไป
แผนงานสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2568
ครอบครัวกระทรวงเกษตรฯ โดยทุกหน่วยงานทั้งในส่วนกลางและระดับพื้นที่ จะยังคงสานต่อ 9 นโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรฯ และพร้อมจับมือกับทุกภาคส่วนเกี่ยวข้องขับเคลื่อนภาคเกษตรของประเทศอย่างต่อเนื่อง ด้วยแนวคิด “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” ยกระดับการทำเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรทันสมัย มุ่งเน้นเทคโนโลยีด้านการเกษตร เช่น เกษตรแม่นยำ หรือเกษตรอัจฉริยะ มาใช้พัฒนาอาชีพด้านการเกษตร ประมง ปศุสัตว์ และอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง การจัดการที่ดินทำดินให้เกษตรกร และการบริหารจัดการน้ำ ดึงจุดเด่นของประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของโลกด้านความมั่นคงทางอาหาร เร่งเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและราคาพืชผลการเกษตร รวมทั้งยกระดับรายได้ของเกษตรกร โดยมีภารกิจสำคัญ ครอบคลุมนโยบายต่างๆ ที่สำคัญของรัฐบาลและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย
นโยบายพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ ถ่ายทอดองค์ความรู้ พัฒนาตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงแก่ประชาชน เป้าหมาย 580,000 ราย พัฒนาพื้นที่สูงอย่างยั่งยืน (โครงการหลวง และการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวง) 87,700 ราย รวมทั้งส่งเสริมการดำเนินงาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริแก่เกษตรกร เป้าหมาย 105,964 ราย
นโยบายเร่งด่วน เดินหน้าปรับโครงสร้างหนี้ทั้งระบบ จัดการหนี้ให้สมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร 1,100 ราย และส่งเสริมสนับสนุนการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ 1,065 องค์กร ส่งเสริมสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ให้มีการบริหารจัดการสินเชื่อที่มีประสิทธิภาพและเสริมสร้างรายได้ให้แก่สมาชิก 700 แห่ง ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต เช่น พัฒนาพื้นที่ผ่านระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ 3,295 แปลง เพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาสินค้าเกษตร อาทิ ผลิตและขยายพืชพันธุ์ดี 3,000,000 ต้น ผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวพันธุ์ดี 255,070 ตัน ปรับปรุงพันธ์สัตว์น้ำเศรษฐกิจ 616 ล้านตัว พัฒนาปรับปรุงพันธุ์สัตว์ 883,700 ตัว การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรมอย่างเหมาะสม โดยปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมมาผลิตพืชชนิดใหม่ที่เหมาะสมตามแผนที่ Agri-Map 61,625 ไร่ การสร้างมูลค่าเพิ่ม ส่งเสริมเกษตรอัตลักษณ์พื้นถิ่น ผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทาน 240,000 เมตร พัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว 3 ผลิตภัณฑ์ ปศุสัตว์ 4 ผลิตภัณฑ์ ประมง 2 ชนิด ส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ ข้าว 10,000 ไร่ ประมง 650 ราย ปศุสัตว์ 200 ไร่ 60 ราย รับรองแบบมีส่วนร่วม 10,000 ไร่ ส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่ 32,500 ราย ส่งเสริมเกษตรผสมผสาน 800 ราย ส่งเสริมเกษตรปลอดภัย ตามมาตรฐาน GAP ด้านพืช 150,000 แปลง หม่อน 600 แปลง ประมง 15,361 แห่ง ปศุสัตว์ 12,974 แห่ง และ GMP ด้านพืช 600 โรงงาน ประมง 1,644 แห่ง ปศุสัตว์ 312 แห่ง ฮาลาล 245 แห่ง ตรวจวิเคราะห์คุณภาพสินค้า ด้านพืช 150,000 ตัวอย่าง ผ้าไหม 12 ตัน ประมง 51,400 ตัวอย่าง ปศุสัตว์ 310,312 ตัวอย่าง บังคับใช้มาตรฐานบังคับ 1 กลุ่มสินค้า
ส่งเสริมด้านการตลาดสินค้าเกษตร เช่น โครงการส่งเสริมตลาดผู้บริโภคผลไม้ไทย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร สมาชิกวิสาหกิจชุมชน และสมาชิกสถาบันเกษตรกร ผู้ปลูกผลไม้ และผลิตสินค้าผลไม้แปรรูป ได้ไม่น้อยกว่า 8,000 ราย คาดว่ามูลค่าการจำหน่ายได้ไม่น้อยกว่า 50 ล้านบาท ในไม้ผลเศรษฐกิจหลัก 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง มะม่วง ลิ้นจี่ และ ลำไย ที่เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และสถาบันเกษตรกรนำมาจำหน่ายในกิจกรรมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 15 จากมูลค่าจำหน่ายหน้าสวน โครงการพัฒนาธุรกิจสินค้าเกษตรสู่ตลาดในประเทศ และต่างประเทศ สร้างความรับรู้ถึงคุณภาพ มาตรฐานที่เป็นอัตลักษณ์ของสินค้าเกษตรเศรษฐกิจมูลค่าสูงของไทย กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการส่งออกสินค้าเกษตรเมืองร้อนมูลค่าสูง ซึ่งคาดว่า มีผู้เข้าร่วมจัดงานและผู้เข้าร่วมชมงานไม่น้อยกว่า 1.4 ล้านคน เกิดการเจรจาธุรกิจไม่น้อยกว่า 7 ราย การพัฒนาและส่งเสริมความเข้มแข็งของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร เช่น ผลักดันนโยบายการอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร ส่งเสริมให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรให้เป็นผู้ให้บริการทางการเกษตรครบวงจร (Agricultural Service Provider) เตรียมรับขึ้นทะเบียนเกษตรกรเกี่ยวกับการประกอบกิจการด้านการเกษตร ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบลงทะเบียนให้เกษตรกร และจัดทำคู่มือ โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ทันฤดูกาลผลิตหน้าที่จะถึงนี้ ทั้งนี้ หน่วยงานภายใต้สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามบทบาทภารกิจของหน่วยงาน ได้มีการจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวในปี 2567 โดยมีเกษตรกรแจ้งขึ้นทะเบียนเครื่องจักรกลทางการเกษตรแล้ว ซึ่งเกษตรกรกลุ่มนี้จะสามารถมาปรับปรุงทะเบียนประกอบกิจการด้านการเกษตรให้เป็นปัจจุบันได้ต่อไป ตลอดจนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ที่สำคัญๆ อาทิ ด้านหม่อนไหม 10 แห่ง และประชาสัมพันธ์การจัดการมหกรรมพืชสวนโลกจังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2569
นโยบายระยะกลางและระยะยาว ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการที่ดินของรัฐ จัดที่ดิน เพื่อเกษตรกรรม จัดที่ดินทำกินแก่เกษตรกร 37,000 ราย ปรับปรุงหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน (ส.ป.ก. 4-01) เป็นโฉนดเพื่อการเกษตร 1,066,643 แปลง เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำโฉนดเพื่อการเกษตรไปต่อยอดให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อสร้างคุณภาพชีวิต ยกระดับการบริหารจัดการน้ำ ก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ 15 แห่ง ปริมาตรกักเก็บน้ำเพิ่มขึ้น 25.20 ล้าน ลบ.ม. พื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น 45,055 ไร่ การก่อสร้างแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน โดยขุดสระเก็บน้ำประจำไร่นาขนาด 1,260 ลบ.ม. 23,000 บ่อ
จัดทำข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการทางการเกษตร ขึ้นทะเบียนและปรับปรุงทะเบียนเกษตรกร ด้านเพาะปลูกหรือกิจกรรมทางการเกษตร 6,000,000 ครัวเรือน ด้านปศุสัตว์ 2,720,000 ราย ด้านการประมง 357,200 ราย
การอำนวยการบริหารจัดการด้านการเกษตร อาทิ พัฒนาและสร้างระบบประกันภัยให้เกษตรกร ขับเคลื่อนโครงการประกันภัยข้าวนาปี ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต่อเนื่อง และเตรียมขยายผลไปยังมันสำปะหลัง ตลอดจนศึกษารูปแบบการประกันภัย เพื่อขยายผลให้ครอบคลุมพืชเศรษฐกิจให้มากขึ้น ควบคุมและตรวจสอบการนำเข้าส่งออกสินค้าเกษตร ด้านปศุสัตว์ 5,664 ครั้ง และด้านประมง 51,035 ครั้ง รวมทั้ง เฝ้าระวัง ตรวจวิเคราะห์ ด้านปศุสัตว์ 239,123 ตัวอย่าง และด้านประมง 45,500 ตัวอย่าง