กล้วยน้ำว้า
-
กล้วยน้ำว้า
-
-
Musa ABB cv'. Kluai 'Namwa'
-
MUSACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเรียกว่าเหง้า แตกหน่อออกทางด้านข้าง อายุหลายปี ลำต้นบนดินคือส่วนกาบใบที่เรียงเวียนซ้อนกันเป็นลำต้นเทียม มีสีเขียวและมีปื้นดำเล็กน้อย ด้านในสีเขียวอ่อนรูปทรงกระบอก สูง 2-9 เมตร
-
ใบเป็นใบเดี่ยวขนาดใหญ่ กว้าง 0.7-1 เมตร ออกเรียงเวียนสลับกัน ใบรูปขอบขนานแกมรูปไข่ โคนใบมนหรือเฉียง ขอบใบเรียบ มีแถบสีแดงเล็กโดยรอบ ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม แผ่นใบยาวสีเขียว ท้องใบหรือใต้ใบมีสีขาวนวล เส้นกลางใบหรือแกนใบเป็นร่องลึกแข็ง เห็นชัดเจน เส้นใบมีจำนวนมาก
-
ดอกเป็นช่อห้อยลงที่เรียกว่าหัวปลี ยาว 30-150 เซนติเมตร ก้านดอกช่อแข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้และเพศเมีย ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่ม ๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับ ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก
-
เมล็ดไม่มีหรือมีแต่น้อย เมล็ดค่อนข้างกลม มีสีดำ
-
ผลเป็นรูปรี ผิวเรียบ ปลายเป็นจุก ออกผลเป็นแผงหรือหวี เรียงซ้อนกันหลายหวี หรือที่เรียกว่าเครือ ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีรสหวาน เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง
-
ช่วยสร้างเมล็ดเลือดแดง ป้องกันโรคโลหิตจาง บำรุงกระดูก ฟัน เหงือก ให้แข็งแรง ช่วยให้ผิวพรรณดี ช่วยระบายท้อง รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน แก้เจ็บคอ รักษาโรคกระเพาะ