คงคาเดือด
-
คงคาเดือด
-
ช้างเผือก สมุยกุย ตะไล ตะไลคงคา คงคาเลือด หมากเล็กหมากน้อย
-
Arfeuillea arborescens Pierre ex Radlk.
-
SAPINDACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงได้ประมาณ 8-20 เมตร แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มกลม ลำต้นมีขนาดเท่าต้นมะพร้าวหรือใหญ่กว่า เปลือกลำต้นเรียบเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือเป็นสีหม่น ๆ และมีด่างเป็นดวงขาว ๆ ทั่วไปตามลำต้น ส่วนกิ่งนั้นเป็นสีเขียว
-
ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับ มีใบย่อย 5-9 ใบ ก้านใบประกอบยาวประมาณ 1-2 เซนติเมตร แกนกลางใบประกอบยาวประมาณ 7 เซนติเมตร ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปรีหรือรูปไข่ ปลายใบแหลมยาวหรือเว้าตื้น โคนใบมนเบี้ยวไม่เท่ากันหรือเป็นรูปลิ่ม หลังใบและท้องใบเรียบ แผ่นใบมีขนยาวใกล้เส้นกลางใบทั้งสองด้าน
-
ดอกแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกัน ออกดอกเป็นช่อกระจุกแยกแขนง ยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร โดยดอกเพศผู้และดอกเพศเมียจะอยู่ในช่อดอกเดียวกัน มีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน กลีบดอกมี 4 กลีบ เป็นสีขาว มีขนาดเล็กกว่ากลีบเลี้ยง ลักษณะเป้นรูปไข่กลับ ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร
-
เมล็ดมีสีดำ เป็นรูปไข่กลับ มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ยาว 5-5.5 มิลลิเมตร ขั้วเมล็ดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
-
ผลเป็นรูปทรงรี เป็นผลแบบแคปซูล บาง เกลี้ยง ปลายผลและขั้วผลแหลม มีปีก 3 ปีก ยาวประมาณ 3.2-5.5 เซนติเมตร ปีกกว้างประมาณ 2 เซนติเมตร ผลสดเป็นสีเขียว เมื่อแห้งจะเป็นสีน้ำตาล และแตก ภายในมีเมล็ดสีดำ เมล็ดเป็นรูปไข่กลับ มีขนสีน้ำตาลปกคลุม ยาว 5-5.5 มิลลิเมตร ขั้วเมล็ดเล็ก ไม่มีเยื่อหุ้ม
-
เปลือกต้น ช่วยให้เจริญอาหาร ดับพิษไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้คัน แสบร้อนตามผิวหนัง เนื้อไม้มีรสขมเย็น ฝาด ใช้ฝนกินเป็นยาฆ่าพยาธิ