ชำมะนาด
-
ชำมะนาด
-
ชมนาด ชำมะนาดกลาง ชำมะนาดฝรั่ง ดอกข้าวใหม่ อ้มส้าย
-
Vallaris glabra (L.) Kuntze
-
APOCYNACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้เถาเลื้อยพาดพันต้นไม้อื่น เลื้อยได้ไกลถึง 6 เมตร เถากลม สีเขียว ทุกส่วนภายในต้นมีน้ำยางสีขาว
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน รูปรีกว้างแกมรูปไข่กลับ กว้าง 4-8 ซม. ยาว 7-15 ซม. ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย แผ่นใบเรียบมีสีเขียวเข้มเป็นมัน ก้านใบยาว 2-3 ซม.
-
ดอกรูปถ้วยตื้นสีขาว ออกเป็นช่อตามซอกใบใกล้ปลายกิ่ง ช่อละ 15-30 ดอก เส้นผ่านศูนย์กลางดอก 1-1.5 เซนติเมตร กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยก 5 แฉก ปลายแฉกแหลม เกสรเพศผู้มี 5 อัน สีขาวติดกัน มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย
-
-
ผลเป็นฝัก เมื่อฝักแห้งจะแตกออก
-
นิยมปลูกเป็นไม้ประดับ ยางที่ข้นเหนียวสีขาวของชำมะนาดใช้เป็นยารักษาบาดแผลภายนอก นำไปทำเป็นยาใช้กระตุ้นกล้ามเนื้อเพิ่มความดันโลหิต กระตุ้นมดลูก ทำเป็นยาถ่ายอย่างแรง หรือทำให้อาเจียนเพื่อเป็นการถ่ายน้ำเหลืองได้