ตะแบก
-
ตะแบก
-
แลนไห้ ตะแบกขาวใหญ่ ตะแบกใหญ่ ตะแบกหนัง เปลือย ป๋วย เปี๋อย กะแบก
-
Lagerstroemia calyculata Kurz
-
LYTHRACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นกึ่งผลัดใบขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงได้ประมาณ 15-35 เมตร เรือนยอดเป็นรูปเจดีย์ต่ำ ๆ แตกกิ่งก้านสาขาออกรอบต้น เปลือกลำต้นเกลี้ยงเป็นสีเทาอมเหลือง หรือสีน้ำตาลอมเทา มีรอยขรุขระเป็นหลุมตื้น ๆ เกิดจากสะเก็ดแผ่นบาง ๆ ของเปลือกที่หลุดร่วงไป โคนต้นเป็นพูพอนชัดเจน ตรงส่วนที่เป็นพูพอนมักจะกลวงขึ้นไปประมาณ 3-5 เมตรจากผิวดิน ตามกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ขึ้นหนาแน่น
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับกัน บางทีออกเรียงเกือบตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปไข่หรือรูปขอบขนานแกมรูปหอก เห็นตาง่ามชัดเจน ใบมีขนาดเล็กกว่าใบอินทนิลน้ำ (ขนาด 2 ใน 3 ส่วน) ปลายใบทู่ โคนใบทู่หรือกลม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 3-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 7-14 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบเกลี้ยงหรือเกือบเกลี้ยง ส่วนท้องใบมีขนสีน้ำตาลสาก ๆ ขึ้นหนาแน่น
-
ออกดอกเป็นช่อแบบเป็นกลุ่มย่อย ออกเป็นช่อโต ๆ ตามปลายกิ่ง ตามส่วนต่าง ๆ จะมีขนสาก ๆ ขึ้นทั่วไป ดอกจะมีขนาดเล็ก เมื่อบานเต็มที่จะมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร ดอกมีกลีบดอก 6 กลีบ แยกจากกันเป็นอิสระ โคนกลีบติดกับผนังด้านในของถ้วยกลีบเลี้ยง โคนกลีบดอกแคบ ส่วนปลายกลีบจะเป็นแผ่นกลม ๆ สีขาวหรือสีม่วงอมชมพูอ่อน ๆ ส่วนกลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ โคนกลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกออกเป็น 6 แฉก
-
-
ผลตะแบกจะเป็นผลแห้งที่เมื่อแก่แล้วจะแห้งแตกออกเป็น 6 แฉก ถ้วยกลีบเลี้ยงหุ้มโคนของผลเช่นเดียวกับอินทนิลน้ำและอินทนิลบก ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปไข่ ยาวประมาณ 0.8-1 เซนติเมตร ผลแก่เป็นสีน้ำตาล แข็ง เมื่อแก่จะแตก ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก มีปีก เมล็ดเป็นสีน้ำตาลเข้ม ผลตะแบกจะเริ่มแก่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม เมล็ดจะร่วงหล่นเมื่อเปลือกผลแตกและอ้า
-
แก้ลงแดง แก้บิด มูกเลือด เป็นยาบำรุงหัวใจ บำรุงปอด บำรุงตับ แก้เสมหะ หรือนำมาใช้เป็นไม้ประดับ ใช้ก่อสร้างอาคารบ้านเรือน ด้ามหอก ด้ามมีด พานท้ายปืน ไม้บุผนัง ได้ดี