สมอไทย
-
สมอไทย
-
ส้มมอ หมากส้มมอ
-
Terminalia chebula Retz.
-
COMBRETACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ผลัดใบ สูงประมาณ 10-15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง ทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นไม่สมมาตร รูปร่างไม่แน่นอน เปลือกแตกเป็นสะเก็ดแผ่นใหญ่ ร่องลึก สีดำอมเทา เนื้อไม้แข็ง มีสีเหลืองอมน้ำตาลบริเวณด้านนอก ด้านในมีสีน้ำตาลอมดำ
-
ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงเยื้องสลับข้างกันบริเวณปลายของกิ่งแขนง ก้านใบยาว 1.5-2.5 เซนติเมตร ใบรูปร่างรี โคนใบและปลายใบมน ด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างสีจางกว่า แผ่นใบค่อนข้างหนา เรียบ มีขนขึ้นปกคลุม
-
ดอกเป็นช่อ ออกบนปลายกิ่งแขนง แต่ละปลายกิ่งมีช่อดอกประมาณ 3-5 ช่อ ปลายช่อห้อยลงด้านล่าง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 10-20 ดอก ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็ก 3-5 มิลลิเมตร มีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีกลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง
-
เมล็ดค่อนข้างกลม เปลือกเมล็ดหนา มีสีน้ำตาล
-
ผลเป็นรูปไข่ ค่อนข้างกลม ผิวผลไม่สมมาตร ขนาด 2-2.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-3.5 เซนติเมตร เปลือกและเนื้อผลเป็นส่วนเดียวกัน เนื้อค่อนข้างหนา แข็ง กรอบ ให้รสเปรี้ยวอมฝาด เปลือกผลขณะอ่อนมีสีเขียวสด เมื่อแก่จะมีสีแดงเรื่อปะ 1 ผลมี 1 เมล็ด ผลเริ่มติดช่วงเดือนมิถุนายน ผลแก่มีสีเขียว และแดงเรื่อในช่วงเดือน พฤศจิกายน - มกราคม
-
ช่วยให้เจริญอาหาร ละลายเสมหะ ขับเสมหะ ชุ่มคอ แก้เจ็บคอ ลดอาการไอ รักษาแผลในปาก แก้ท้องเสีย ท้องร่วง ช่วยย่อยอาหาร แก้ท้องอืด ขับลมในกระเพาะอาหาร เป็นยาระบาย กระตุ้นการหลั่งน้ำดี บรรเทาอาการโรคหอบหืด ช่วยขับพยาธิ ป้องกันตับและไตจากสารพิษ บำรุงผิวให้ดูสดใส แก้อาการเมาค้าง แก้วิงเวียน ช่วยบำรุงกำลัง แก้อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ แก้ปวดตามข้อ กระดูก ลดไขมันในเส้นเลือด