พะวา
-
พะวา
-
มะป่อง สารภีป่า มะระขี้นก มะดะขี้นก ขวาด กวักไหม หมากกวัก ชะม่วง วาน้ำ กะวา พะยา
-
Garcinia celebica L.
-
CLUSIACEAE
Botanical Characteristics
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นตั้งตรง สูงประมาณ 10-18 เมตร ทรงพุ่มเป็นรูปโดม เปลือกต้นบางเป็นสีเทาดำ เปลือกมียางสีเหลือง ต้นใบและผลมียางสีขาว แบ่งแยกต้นตัวเมียและต้นตัวผู้
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ดก ดูหนาทึบ ออกเรียงตรงข้ามกันเป็นคู่ ๆ ใบเป็นรูปรี รูปขอบขนาน รูปขอบขนานแกมรูปรี หรือรูปไข่กลับ ปลายใบมนกว้าง โคนใบสอบ ส่วนขอบใบเรียบ แผ่นใบค่อนข้างหนา ผิวใบเป็นมันทั้งสองด้าน เส้นแขนงใบถี่ เส้นกลางใบเป็นร่อง ทางด้านหลังใบเห็นชัดเจน
-
ดอกออกเป็นช่อกระจุกที่ปลายกิ่ง ดอกคล้ายชะม่วง ดอกเป็นแบบแยกเพศ ดอกเพศผู้เป็นสีเหลืองอ่อน มีกลิ่นหอม กลีบดอก 4 กลีบ หนา รูปทรงกลมรี มีก้านกลีบเล็กน้อย ส่วนดอกเพศเมียมีกลีบคล้ายดอกเพศผู้ แต่กลีบดอกยาวกว่า ดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกประมาณเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน
-
-
ผลเป็นรูปไข่ผิวเรียบ สามารถพัฒนาได้โดยไม่มีการผสมเกสร ผลอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อสุกแล้วจะค่อย ๆเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดง มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบปิดขั้วผล เนื้อหุ้มเมล็ดในผลเป็นกลีบใส มีเส้นสีขาวขุ่น 1 เมล็ด สามารถงอกเป็นต้นกล้าได้หลายต้น ผลจะแก่ช่วงประมาณเดือนเมษายน และฤดูฝน
-
ดอกมีสรระคุณช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยรักษาลมและโลหิตพิการ แก้ไข้ เปลือกต้น ใบ เป็นยาลดไข้ เป็นยาฝาดสมาน ช่วยรักษาแผลในปาก เปลือกผลเป็นยาแก้ท้องเสีย ใบแห้งต้มกับน้ำเป็นยาระบายอ่อน ๆ ผลมีรสเปรี้ยว สามารถใช้เป็นยาระบายได้เช่นกัน