มะพลับ
-
มะพลับ
-
ขะนิง ถะยิง มะเขื่อเถื่อน ตะโกสวน ปลาบ ตะโกไทย ตะโกสวน พลับ มะพลับใหญ่ มะสุลัวะ
-
Diospyros malabarica
-
EBENACEAE
Botanical Characteristics
-
เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นเปลาตรง สูงประมาณ 8-15 เมตร ทรงพุ่มกลมทึบ เปลือกต้นเรียบเป็นสีเทาปนดำ หรือแตกเป็นร่องเล็ก ๆ ตามยาว เนื้อไม้สีขาว
-
ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบเป็นรูปขอบขนานหรือขอบขนานแกมรูปหอกกลับ ปลายใบแหลมทู่ โคนใบมน ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนา หลังใบเรียบเป็นมัน ท้องใบเรียบแต่มีสีอ่อนกว่า
-
ดอกแยกเพศ อยู่คนละต้น ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามซอกใบ มีขนหนาแน่น มีกลีบดอก 4-5 กลีบ ส่วนดอกเพศเมียออกเป็นดอกเดี่ยว สีเหลือง มีขนคลุมแน่น โคนเชื่อมติดกัน ส่วนปลายแยกเป็นแฉกตื้น ๆ ออกดอกช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน
-
เมล็ดมีสีน้ำตาลดำ ทรงรีแป้น
-
ผลเป็นรูปทรงกลม โคนและปลายผลบุ๋ม ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงมีขนสีน้ำตาลแผ่กว้างแนบกับส่วนล่างของผล ขอบกลีบเป็นคลื่น ๆ กลีบไม่พับกลับ เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีส้มเหลือง ผลสุกจะค่อนข้างนุ่ม ผิวมีเกล็ดสีน้ำตาลแดงคลุม หลุดได้ง่าย ภายในมีเมล็ด 8 เมล็ด ติดผลช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม
-
เปลือก เนื้อไม้ มีรสฝาด เป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยให้เจริญอาหาร ขับลม แก้บิด แก้ท้องร่วง สมานแผล ห้ามเลือด